รายละเอียด :
|
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ รางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์ รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง และ
อาจารย์ดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2543 เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2543 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศ
สหรัฐอเมริกา ในปี 2495 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิวิจัยประสาทในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการอำนวยการ
มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร เริ่มต้นรับราชการเมื่อปี 2487 ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้า
พระยา เป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลประสาทพญาไท โรงพยาบาลประสาทสงขลา โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยประสาทพญาไท
เมื่อปีพุทธศักราช 2499, 2509, 2511 และ 2512 ตามลำดับ
ศาสตราจารย์พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ชีววิทยา) คณะวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพฤกษศาสตร์ จาก Montana State University
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านชีววิทยา สาขาพฤกษานุกรมวิธาน มีผลงานวิจัยเด่น ๆ เช่น สำรวจและ
ศึกษาพันธุ์ไม้ พบพืชพันธุ์ใหม่ในวงศ์ขิงหลายชนิด มีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัย และ
เป็นวิทยากรบรรยายทางวิชาการให้แก่สถาบันการศึกษาหลายแห่ง มีโครงการวิจัยร่วมกับสถาบันในต่างประเทศ และได้รับเชิญไปเสนอผลงาน
วิจัยในระดับนานาชาติหลายครั้ง จนได้รับการยกย่องเป็นอาจารย์ตัวอย่างด้านวิจัย ประจำปีพุทธศักราช 2543 ของมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ นอกจากนี้ได้ร่วมเขียนตำราชีววิทยาของทบวงมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พืชมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์พืชระดับนานาชาติ
ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ชีวเคมี) คณะวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอก สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยไอโอวา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม ได้ศึกษาวิจัยด้านอณูพันธุศาสตร์ในหลายด้านอาทิ การจำแนกความหลากหลายของยุงก้นปล่อง
โดยใช้ดีเอ็นเอ การค้นพบวิธีการตรวจหาเชื้อมาลาเรียจากเลือดโดยการตรวจสอบดีเอ็นเอ การศึกษายีนฆ่าลูกน้ำยุงจากแบคทีเรีย บาซิลลัส ทิวริง
จินซิส การแยกและเพิ่มปริมาณของยีนสร้างฮอร์โมนเจริญเติบโตของปลาบึก การศึกษาไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคในกุ้งกุลาดำ การสร้างลายพิมพ์
DNA ในคนและจำแบกบุคคลจากลายพิมพ์นี้ จากผลงานดังกล่าวทำให้ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
ประจำปี 2528 ในสาขาชีวเคมีจากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลที่ 1 ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
"ชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยเทคนิคดีเอ็นเอ" ประจำปีพุทธศักราช 2539 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและ
มีผลงานดีเด่นสูงสุดในด้านการสอนและการวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ มีผลงานด้านอณูชีววิทยา ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ
จำนวน 102 เรื่อง และมีผู้อ้างอิงในวารสารนานาชาติมากกว่า 3,500 ครั้ง รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษแก่กสถาบันการศึกษาทั้งใน
และต่างประเทศ เป็นกรรมการบริหารโครงการ Human Genome Project ของ UNESCO ปัจจุบันรับตำแหน่งเป็นกรรมการ
บรรณาธิการวารสารต่างประเทศที่มีชื่อเสียงด้านอณูชีววิทยา จากผลงานที่สม่ำเสมอของท่านในด้านการส่งเสริมสร้างกลุ่มนักวิจัยและผลิต
ผลงานวิจัยเผยแพร่ในวารสารนานาชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้มอบรางวัลเมธีวิจัยอาวุโสต่อเนื่องตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540
จนถึงปัจจุบัน
ดร. สุธีรา ทอมสัน วิจิตรานนท์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาสังคม)
ดร. สุธีรา ทอมสัน วิจิตรานนท์ สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก สาขา Microbiology ที่ State University of New
York ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2521 ตั้งแต่ปี 2502 - 2503 ทำงานที่สำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งชาติ ปี 2512 - 2516
ทำงานที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2518 - 2521 ทำงานที่สภาวิทยาศาสตร์ ประเทศแคนาดา ปี 2522 - 2532 ทำงาน
ที่ Canadian International Development Agency (CIDA) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีและ
ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา
ดร. สุธีรา ทอมสัน วิจิตรานนท์ มีผลงานทางด้านวิชาการที่สำคัญและมีคุณค่าต่อสังคมไทยมีจำนวนมาก โดยเฉพาะตำรา
วิชาการต่าง ๆ เช่น สถานภาพสตรีไทยในปัจจุบัน : ประเด็นที่ควรศึกษาในการเลือกตั้ง , นโยบายพรรคการเมืองเรื่องสตรี , กระทรวง
แรงงานกับการส่งเสริมบทบาทแรงงานสตรี , สตรีกับการพัฒนาประชาธิปไตย , สตรีกับประชาธิปไตย : ทิศทางใหม่ที่ควรพัฒนา , การ
จัดการเลือกปฏิบัติในระบบราชการไทย : ระบบสัดส่วนที่ควรพัฒนา , สตรีผู้นำการเปลี่ยนแปลง : ก้าวไปสู่สังคมที่มีความเท่าเทียมกัน
ระหว่างหญิงไทย ฯลฯ
นายชบ ยอดแก้ว ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน)
นายชบ ยอดแก้ว เป็นชาวสงขลา สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏสงขลา ได้เข้ารับราชการเป็นครูโรงเรียน
วัดน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และมุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้กับการพัฒนาการศึกษามาโดยตลอด จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
โรงเรียนวัดน้ำขาว
นายชบ ยอดแก้ว ได้ริเริ่มโครงการระยะแรกคือ การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนและอื่น ๆ เช่น โครงการจัดตั้ง
กองทุนสนับสนุนวิชาชีพของนักเรียน รวมทั้งโครงการสหกรณ์ออมทรัพย์ในโรงเรียน ต่อมาได้ขยายโครงการต่าง ๆ ออกสู่ชุมชน โดยจัดตั้ง
กลุ่มออทรัพย์เครือญาติตำบลน้ำขาว ซึ่งให้มีการออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต เป็นต้นแบบของการจัดระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
ความสำเร็จของโครงการดังกล่าวทำให้เป็นที่ยอมรับและเผยแพร่ไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นทั้งผู้บริหาร
การศึกษาดีเด่น ข้าราชการดีเด่น 4 กระทรวงหลักของจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นคนดี
ศรีสังคม ประจำปี 2534 รวมทั้งได้รับคัดเลือกให้ได้รับพระราชทานรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี
2538 และยังมีผลงานด้านภูมิปัญญาไทยเรื่อง เศรษฐศาสตร์ชุมชน จึงได้รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายครูภูมิปัญญาไทยจากสมเด็จพระเจ้า-
พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในปี 2544 จึงถือเป็นแบบอย่าง เป็นกลุ่มแกนนำที่ร่วมดำเนินการให้เกิด
"มหาวิทยาลัยชาวบ้าน"
นายลี อิน ต๋อง วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ธุรกิจเกษตร)
นายลี อิน ต๋อง อายุ 89 ปี เกิดที่ประเทศจีน เดินทางมาประเทศไทยในปี 2496 จัดตั้งบริษัทเต็กบีห้าง จำกัด ปัจจุบันนายลี
อิน ต๋อง ดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มบริษัท ยางไทยปักษ์ใต้ จำกัด เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการยางคือ เป็นผู้ริเริ่มใช้วัตถุดิบใน
ประเทศแปรรูปเป็นยางลูกฟูกและยางแท่งส่งออกขายต่างประเทศ ปัจจุบันบริษัท ยางไทยปักษ์ใต้ จำกัด เป็นผู้ส่งออกยางพาราเป็นอันดับหนึ่ง
ของประเทศไทย ส่งออกยางพาราปีละมากกว่าสี่แสนตัน
นายลี อิน ต๋อง ได้ช่วยเหลือสังคมในหลาย ๆ ด้าน สร้างโรงเรียนในชนบท สร้างโรงพยาบาล เขื่อนกั้นน้ำ สร้างระบบประปา
ในชนบท บริจาคสิ่งของและเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่ การช่วยเหลือดังกล่าวมีทั้งที่ช่วยเหลือในนามส่วนตัวและในนามบริษัท
ที่ไม่ได้เปิดเผยแก่สาธารณะ จึงได้รับประกาศเกียรติคุณและโล่เกียรติคุณต่าง ๆ อาทิ ได้รับโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมจาก
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปีพุทธศักราช 2526 ได้รับประกาศเกียรติคุณบุคคลตัวอย่างแห่งปี สาขานักธุรกิจบำเพ็ญ
ประโยชน์ต่อสังคม ประจำปีพุทธศักราช 2541 จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นในวงการยาง สาขาผู้พัฒนาการ
ค้ายางจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เมื่อปีพุทธศักราช 2542 และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ผู้สร้างคุณประโยชน์ชั้นหนึ่ง
จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปีพุทธศักราช 2536 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายลี อิน ต๋อง ได้บริจาค
เงินเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทุกปี ๆ ละ 31 ทุน มูลค่าทุนละ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) รวมเป็นเงิน 1,240,000 บาท
(หนึ่งล้านสองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
นายวรรณ ขุนจันทร์ ผู้ได้รับรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์ ประจำปีพุทธศักราช 2544
นายวรรณ ขุนจันทร์ สำเร็จการศึกษาระดับนักธรรมชั้นเอกและสัมฤทธิบัตร สาขานิติศาสตร์ชุดวิชากฎหมาย จากมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช เป็นผู้มีความคิดริเริ่มในการรวมกลุ่มเกษตรกร มีผลงานดีเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างมากคือ เมื่อปี 2514 ได้
จัดตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นให้เป็นที่ต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังเปิดร้านค้าของกลุ่มจำนวนสินค้าให้แก่สมาชิกและเปิดรับเงินฝาก
จากสมาชิก จนได้รับรางวัลดีเด่นระดับภาคและระดับประเทศ 3 ครั้ง ในปี 2523 2530 และ 2531 ในปี 2517 ได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
ทำนาตะโหมด เพื่อระดมความคิดในการแก้ปัญหาและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกลุ่มเกษตรกรดีเด่นทั้งในระดับภาค
และระดับประเทศ และทำให้ได้รับพระราชทานโล่รางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติคุณจากหน่วยงาน
ต่าง ๆ เช่น ได้รับการคัดเลือกจากมูลนิธิธารน้ำใจ ยกย่องให้เป็นคนไทยตัวอย่าง เมื่อปี 2530 และได้รับโล่รางวัลจากสมาคมวิทยาศาสตร์
การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่วงการเกษตร เมื่อปี 2536
นายดำ ฉิ่งสุวรรณโรจน์ ผู้ได้รับรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์
นายดำ ฉิ่งสุวรรณโรจน์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร ประกอบอาชีพ
ทำสวนผลไม้ที่ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ปัจจุบันเป็นเจ้าของ "สวนนายดำ" เป็นผู้รู้จักศึกษา คิดค้น ทดลองด้วยตนเองจาก
หลักธรรมชาติ ทำให้ค้นพบวิธีการพัฒนาคุณภาพของไม้ผล โดยผลิตทุเรียนนอกฤดู (ทะวาย) การผลิตส้มโชกุนได้เป็นเวลานานกว่า 10 เดือน
ใน 1 ปี และเป็นส้มโชกุนปลอดสารพิษ ซึ่งรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร และนับเป็นเกษตรกรรายแรกของไทยที่สามารถผลิตน้ำส้มโชกุนคั้น
100 % โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข การค้นพบวิธีการทำให้เงาะติดผลบนหลังกิ่งได้ ค้นพบ
การทำให้ผลเงาะคงความสดไว้ได้นานหลังเก็บเกี่ยว เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเป็นต้นแบบของเกษตรกรแผนใหม่
ที่เรียกว่า "ธุรกิจเกษตร" คือ เกษตรกรไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นนักการขยายและนักการตลาดด้วย นอกจากนี้
ยังมีผลงานในการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรกลทางการเกษตร
รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงพรรณทิพย์ ฉายากุล อาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน
รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงพรรณทิพย์ ฉายากุล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 เป็นผู้มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงในการ
สอนอย่างเต็มกำลังความสามารถ มีการจัดทำเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา และเขียนบทความทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้ง
การเตรียมข้อมูลและพัฒนาสื่อการสอนให้ทันสมัยตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้โดยเน้นการสอนแบบ PBL
สอนเนื้อหาที่ยากให้นักศึกษาเข้าใจได้โดยง่าย พร้อมทั้งได้สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน ทุกครั้ง
ที่มีโอกาส นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่เอาใจใส่ สนใจรับฟังปัญหาและความคิดเห็นของนักศึกษาด้วยความเต็มใจ ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเรียน
การสอนที่มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกเหนือจากงานด้านการเรียนการสอนแล้ว รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงพรรณทิพย์ ฉายากุล
ยังรับผิดชอบงานด้านบริหาร โดยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายวิชาการ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2526 จนถึงปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงลัดดา เหมาะสุวรรณ อาจารย์ตัวอย่างด้านการวิจัย
รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงลัดดา เหมาะสุวรรณ สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขา Human Nutrition พร้อมกับได้รับ
Hechtz Prize จาก London School of Hygiene and Tropical Medicine , University of London ประเทศอังกฤษ
ปี 2525 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 เป็นผู้มีผลงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และโภชนศาสตร์ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศมากกว่า 50 เรื่อง นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยด้านสุขภาพเด็กในภาคใต้อย่างต่อเนื่องและกำลังดำเนินการวิจัยในรูปแบบ
ของชุดโครงการวิจัย "พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย : ปัจจัยคัดสรรด้านครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดู" และชุดโครงการวิจัย "การ
ศึกษาติดตามเด็กไทยตั้งแต่ก่อนคลอดไปในระยะยาวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งด้านครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ใน 5 อำเภอของประเทศไทย"
รองศาสตราจารย์กุลนภา ฟู่เจริญ อาจารย์ดีเด่นของกองทุนเอกิ้น เลาเกเซ่นอนุสรณ์
รองศาสตราจารย์กุลนภา ฟู่เจริญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาชีวเคมี จากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2528 ปัจจุบัน
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ภาควิชาจุลทรรศน์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากงานสอนแล้ว
รองศาสตราจารย์กุลนภา ฟู่เจริญ ยังเป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นทั้งผู้วิจัยหลักและผู้วิจัยร่วมในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย
เกี่ยวกับโรคเลือกจางธาลัสซีเมียมาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี รองศาสตราจารย์กุลนภา ฟู่เจริญ ยังมีบทบาทในการกระตุ้นก่อตั้งกลุ่มวิจัยธาลัสซีเมีย
ขึ้นภายในคณะจนเกิดเป็นกลุ่มวิจัยที่เข้มแข็ง และสามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ผลงานวิจัยที่ได้ร่วมกับกลุ่มวิจัย
ธาลัสซีเมียพัฒนาชุดน้ำยาสำเร็จรูป สำหรับการตรวจกรองฮีโมโกลบินอีที่มีชื่อเรียกว่า KKU - DCIP - Clear และได้รับรางวัลชมเชยผลงาน
ประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีพุทธศักราช 2542 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
******************
|