ทุกกระทรวงแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ผมเรียนไว้ว่าโลกใหม่การมีส่วนร่วมสำคัญ ผมจะทลายกำแพงอย่างไรของการกั้นความสามารถของการบริหารระหว่างกระทรวง
กั้นการบริหารระหว่างกรมอย่างไร จะมีสัมมนาเชิงวิชาการเรื่องใหญ่ เรื่องที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันหลายกระทรวง เรื่องที่ต้องอาศัยความ
เกี่ยวพันกับภาคเอกชน ตรงนี้ผมจะทำเป็นสัมมนาเชิงวิชาการครั้งแรกที่ทำแล้วที่ชะอำ เรื่องบรรษัทบริหารทรัพย์สินแห่งชาติ บางครั้งหลังจาก
ที่เอาไปประชุมกันแล้วอาจแตกต่างกันบ้าง ผมก็ขอเรียกกรรมการที่ผมตั้งมาคุยซักซ้อมกันอีกรอบก่อนจะไปอีกแห่งหนึ่ง เราประชุมสัมมนาเชิงวิชา
การ ผมนั่งเป็นประธาน ผมอยู่ตลอด ตีปัญหาที่คั่งค้างมานานให้จบภายในสุดสัปดาห์ให้ได้ เพราะฉะนั้นทุกท่านที่ถูกเชิญไปขอให้ทำการบ้าน
เราจะคุยกันได้เร็ว ผมจะทำการบ้านของผม เมื่อผมทำการบ้าน ท่านทำการบ้าน ไปถึงคุยกันเดี๋ยวเดียวก็จบ เพียงแต่ว่าเมื่อก่อนติดเกรงใจกันบ้าง
อะไรบ้าง และสัมมนาเชิงวิชาการอันนี้จะเกิดขึ้นในหลาย ๆ เรื่องเท่าที่ผมคิดได้วันนี้คือเรื่องของยาเสพติด วันเสาร์ - อาทิตย์หน้าและเรื่องของ
การท่องเที่ยว ต่อไปก็อาจจะมีเรื่องอื่น เรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หรือเรื่องภัยแล้ง เรื่องน้ำ แต่ฝากให้ท่านรัฐมนตรี ท่านปลัดกระทรวงทั้ง
หลาย ไปช่วยคิดว่าท่านมีเรื่องอะไรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานที่ในอดีตแก้ไม่จบ ท่านลองคิดแล้วเสนอมา แล้วเราไปทำสัมมนาเชิงวิชา
การร่วมกันอย่างนี้ เพื่อให้งานเดินได้เร็วขึ้นไม่ใช่เป็นคณะรัฐมนตรีสัญจร แต่เป็นการประยุกต์ในการทำงานเพื่อไปทำในพื้นที่ที่เป็นปัญหาจริง ๆ
อย่างน้อยก็คือโดยจิตวิทยาแล้วถือว่าเราได้มีความตั้งใจในการจะเจาะปัญหานั้นจริง ๆ แล้วเราจะได้แก้ปัญหานั้นอย่างจริงจังร่วมกัน เพื่อจะได้แก้
ปัญหาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เรื่องยาเสพติดเราก็ไปเชียงราย ท่องเที่ยวเราก็ไปเชียงใหม่ เรื่องปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำก็อาจจะไปอีสาน เราก็ต้องทำงาน
อย่างนั้น ฉะนั้นเรื่องของสัมมนาเชิงวิชาการ ขอให้เอาคนไปน้อยหน่อย เอาที่เกี่ยวข้องที่ไม่เกี่ยวข้องก็อย่าเอาไป หัวหน้าส่วนราชการก็พยายาม
ทำการบ้านเยอะ ๆ และมีผู้ช่วยสัก 1 - 2 คน เพื่อจะได้ช่วยกัน
ร่วมกันใช้ของไทย
ผมอาจปรับโครงสร้างกระทรวง กรม ที่ล้าสมัย เรามาช่วยกันคิด เราไม่ได้เกษียณอายุ 100 ปี รัฐบาลไม่ได้อยู่ 20 ปี ดังนั้น
วันนี้เมื่อเรามีโอกาสทำงานร่วมกันแล้ว เราต้องคิดถึงคนรุ่นหลังว่าโครงสร้างที่มีอยู่ไม่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกของความต้องการและ
ปัญหาของประชาชน เราต้องเปลี่ยนวันก่อน
ท่านปลอดประสพฯ เจอกับผมคุยกันว่าเรื่องทรัพยากรกับเรื่องสิ่งแวดล้อมคิดกันคนละมุม ทรัพยากรคิดในเชิงปริมาณ ส่วนเรื่อง
สิ่งแวดล้อมคิดในเรื่องคุณภาพ และอยู่กันคนละฟากพูดกันไม่รู้เรื่องและมีเรื่องกันตลอด เป็นไปได้ไหมที่จะตั้งกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ปริมาณและคุณภาพมาเจอกัน ให้มารู้จักคำว่าทางสายกลางคืออะไร ฉะนั้นเราต้องมาปรับสิ่งที่มีอยู่ให้ทันสมัยรองรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของ
โลก เราต้องประหยัด ต้องใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งด้านของสิ่งที่รัฐบาลลงทุนไปแล้วกับภูมิปัญญาของเราเองที่มีอยู่ ต้องใช้
อย่างเต็มที่ อย่างวันที่เกิดวิกฤตถ้าเราไม่ใช้สิ่งที่มีอยู่กลับไปลงทุนใหม่และลงทุนแบบชนิดที่ไม่รู้ว่าจะตอบแทนอย่างไร อันตรายที่ผ่านมาสิ่งหนึ่ง
ที่เราห่วงกันมากและวันนี้ต้องเตือนกันและขอร้องกันคือการนำเข้า เรานำเข้าอย่างเผลอนึกว่ารวยแล้ว การจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็นำเข้ากันใหญ่ เรา
เห็นหรือยังว่าตัวเลขส่งออกเริ่มชะลอทางเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอแล้ว เรายังนำเข้ากันเพลินอย่างนี้จะเกิดผลเสีย เงินบาทก็อยู่ไม่ได้ หมดความ
เชื่อถือ วันนี้ผมได้มอบหมายนโยบายให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณไปและฝากท่านด้วย
เราจะกระตุกแล้วการจัดซื้อจัดหาที่มีการนำเข้าถ้าไม่จำเป็น ถ้าสามารถชดเชยสินค้าที่ผลิตในประเทศได้ต้องให้รีบ ถือเป็นความ
สำคัญก่อนหลัง ไม่ได้ต่อต้าน แต่วันนี้ต้องเอาตัวรอด ไม่ได้ต่อต้านสินค้าต่างประเทศ แต่เราถือว่าของไทยเรามีดีมาก
ถ้าข้าราชการไม่ใช้ของไทยแล้วใครจะใช้ เพราะฉะนั้นส่วนราชการในการจัดซื้อจัดหาแน่นอนเราต้องใช้ของไทย แต่ถ้าจำเป็นต้อง
ซื้อเครื่องบินถ้าไม่มีของไทย อันนี้ต้องนำเข้าช่วยไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องนำเข้าก็ต้องนำเข้า พระพุทธเจ้าก็สอนแล้วว่าเดินทางสายกลางคืออะไร เรา
ก็ต้องรู้ว่าความพอดีอยู่ตรงไหน แต่วันนี้เราต้องตื่นตัวเรื่องของการนำเข้าเพราะว่าเราขาดดุลการค้ามาก ตอนนี้จะขาดดุลการค้าอีกไม่ได้ต้อง
ประคองในช่วงวิกฤตตรงนี้ไม่ให้ขาดดุลการค้า แล้วประเทศจะกลับฟื้นตัวมาเร็ว แต่ถ้ายังขืนขาดดุลส่งสัญญาณมาแล้วเดือนมกราคม เริ่มอันตราย
280 กว่าล้านเหรียญ จากที่ชื่นชมกับส่วนเกินถึง 1000 ล้านเหรียญ กลายเป็นขาดดุล 280 กว่าล้านเหรียญ อันนี้เหนื่อยและแถมยังเห็นการชะลอ
ตัวของเศรษฐกิจโลกอีก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องฝากท่านว่างบประมาณปีหน้าเรื่องวิธีการจัดหาอะไรที่ใช้สินค้าไทยได้ต้องทำ โดยเฉพาะภาครัฐ
วิสาหกิจที่ผ่านมาเพลินไปหน่อยและขอเรียนว่าอย่าเสนอโครงการให้รัฐมนตรีหาเงิน รัฐมนตรีชุดนี้ไม่เอา ขอเสนอโครงการที่สร้างเศรษฐกิจใน
ประเทศจริง ๆ เราจะทบทวนวิธีการงบประมาณ สำคัญคือต้องตอบสนองต่อวิสัยทัศน์และนโยบาย ไม่ใช่งบประมาณประจำปีที่แล้วตั้งเท่าไร
ปีนี้นโยบายบอกว่าให้เพิ่ม 5 ก็บวก 5 ขอให้คิดใหม่ทุกปี อย่าอ้างอิงของเก่าจนมากเกินไป ของเก่าใช้อิงในเชิงของงบประจำได้ แต่งบโครงการ
ต้องคิดใหม่ทุกปีเพื่อตอบสนองนโยบาย สนองวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ถ้าไม่เช่นนั้นเราก็จะตั้งงบประมาณแบบประจำ อีกเรื่องที่ต้องฝากผู้อำนวยการ
สำนักงบประมาณอาจจะชี้แจงเพิ่มเติมภายหลังก็ได้ ขณะนี้มีงบประมาณอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท เป็นงบกระจายอำนาจที่ต้องกระจายให้
ท้องถิ่น ยังอยู่ที่จังหวัดและอยู่ที่กรมรวมกันประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท รีบปล่อยออกไปเพื่อจะกระตุ้นเศรษฐกิจชนบท เพราะเป็นงบประมาณ
ที่ส่วนท้องถิ่นจะต้องทำงาน ต้องตามไล่จี้กันหน่อยอย่าเก็บไว้ ตอนนี้สินค้าเกษตรตกต่ำ เพราะกำลังซื้อในชนบทไม่มีเหลือแล้ว งบประมาณที่ตัด
ราคากลางลง 10 % งบฯ เบี้ยหัวแตกที่อยู่ตามต่างจังหวัดนั้นไม่ต้องนำส่งส่วนกลาง แต่ขอให้เอาไปใช้ในชนบทเช่น งบฯ ประมูลงานสร้างถนน
30 ล้านบาท ตัด 10 % เหลือ 3 ล้านบาท 3 ล้านบาทนั้นแทนที่จะเอากลับ ก็ขอให้เอาไปจ้างงานในชนบทต่อ ให้ท้องถิ่นนี้เขาทำต่อไป ซึ่งงบฯ
เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างนี้มีมาก รวมกันแล้วประมาณ 2 พันล้านบาท
ข้าราชการปฏิบัติตามนโยบายทางการเมือง
อีกอันหนึ่งที่ผมอยากจะเรียนว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของบทบาทระหว่างรัฐบาลกับข้าราชการ เมื่อก่อนนี้เราเอาบทบาทของเสนาบดี
มามอบให้รัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วรัฐมนตรีในอดีตก็ทำตามกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน บทบาทนั้นก็คือบทบาทเรื่องของ
คน เรื่องของเงิน เรื่องของอำนาจ ภาคราชการก็เลยกลายเป็นคนเขียนนโยบายแทนภาคการเมือง ต่อไปนี้นโยบายภาคการเมืองเป็นคนทำ ภาค
ข้าราชการมีหน้าที่ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นภาคการเมืองก็พยายามอย่าไปแย่งงานข้าราชการประจำทำ ข้าราชการประจำบทบาทต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอน
ถ้าไม่เช่นนั้นนักการเมืองคนไหนก็มาเป็นรัฐมนตรีได้เพราะอะไรไปถึงก็เซ็นแฟ้มตามที่ข้าราชการเสนอมา เป้าหมายที่จะตอบสนองประชาชนไม่ใช่
นโยบายในการอยากได้อย่างนี้จะเอาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ภาคการเมืองจะต้องคิดนโยบาย เพราะภาคการเมืองจะต้องตอบสนองต่อประชาชน
มากที่สุดคือ เรามีประชาชนเป็นตัวตั้ง ภาคการเมืองต้องตอบสนองต่อการแก้ปัญหากับประชาชน ประชาชนเป็นตัวสะท้อนกลับมาที่ภาคการเมือง
ส่วนภาคข้าราชการต้องทำงานบริการประชาชน และขณะเดียวกันก็ต้องทำงานตามนโยบายของรัฐบาล บทบาทตรงนี้ต้องปรับเข้าสู่จุดที่ผมอธิบาย
ให้ฟัง เพราะถ้ารัฐมนตรีไม่สนใจเรื่องนโยบายประเทศเลยไม่มีทิศทาง ดังนั้นต่อไปนี้ทิศทางประเทศต้องนำด้วยนโยบาย และเราคิดร่วมกันทำร่วม
กันตั้งแต่ภาคประชาชน ภาคราชการ ภาคการเมือง คิดร่วมกันทำร่วมกัน แล้วต้องชี้นำด้วยนโยบายไม่ใช่ชี้นำด้วยความรู้สึกต่อไปแล้ว อยู่ ๆ ก็สั่ง
การไป เป็นความรู้สึก ประเทศไม่ได้มีทิศทางเลยไม่รู้จะพาประเทศไปทางไหน ข้าราชการก็ไม่เข้าใจ ฉะนั้นต่อไปนี้การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน
ต้องเกิดขึ้น อาจจะมีลองผิดลองถูกบ้างก็ต้องยอมรับ เพื่อให้ขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารประเทศ วิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ภารกิจหลักปัจจุบันของรัฐบาลก็คือเรื่องเศรษฐกิจ เพราะเราเพิ่มเกิดวิกฤติและยังไม่พ้นดี วิธีการก็คงต้องต่างกัน เพราะเรามีสังคมที่ต่างกัน 2
สังคมคือ สังคมเมืองกับสังคมชนบท เราเป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ 2 สังคม อย่าไปคิดว่าทฤษฎีเดียวใช้ทั้งหมด เพราะอาการของโรคก็ไม่
เหมือนกัน คนเราป่วยเป็นโรค 5 อย่าง นึกว่ายาเม็ดเดียวรักษาหายทั้ง 5 โรค ไม่หายหรอก เพราะฉะนั้นวิธีการแก้ปัญหาต้องใช้วิธีการที่ต่างกัน
เพราะสังคม ความต้องการ ความเดือดร้อน ความทนต่อสภาพปัญหาก็ต่างกัน ถ้าเราคิดจะแก้ปัญหาแล้ว เราต้องเข้าใจความแตกต่างของสังคม
2 สังคมนี้ ขอให้ท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางมหาดไทย เน้นสังคมชนบทอยู่แล้ว กระทรวงการคลังก็คงต้องมองเรื่องของปัญหาเมืองมากพอ
สมควรเหมือนกัน อย่างวันนี้จริง ๆ แล้วถามว่าเราพังเพราะระบบอะไร เพราะระบบกระดาษ เราโดนกระดาษตีกระดาษจนพังไปหมดเกี่ยวข้าว
ทั้งหมดคนไทยไม่กินสักเม็ด ส่งออก เมืองนอกก็ยังไม่พอใช้หนี้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเอากระดาษสู้กระดาษบ้างเหมือนกัน ส่วนข้าวก็ทำไปปลูก
ไป เพราะฉะนั้นสรุปแล้วสังคมเมืองก็ต้องส่งเสริมให้เข้มแข็ง สังคมชนบทก็แก้ปัญหาให้เขารอด เพราะโลกยุคใหม่เป็นโลกของคำว่าความเชื่อถือ
แก้ปัญหาแบบแบ่งประเภท
เมื่อเกิดความเชื่อถือก็สามารถทำกระดาษเป็นเงินได้มาก เมื่อทำกระดาษเป็นเงินก็เอากระดาษสู้กับกระดาษบ้าง เราต้องพัฒนาเครื่อง
มือต่าง ๆ มาสู้กันบ้าง เพราะฉะนั้นเราต้องดูว่าเรามีสินทรัพย์อะไรที่จะเกิดเครื่องมือดี ๆ เรื่องนี้อาจจะซับซ้อนหลายท่านที่ไม่ได้อยู่ในโลกซีกของ
การเงินการคลังซีกของธุรกิจจะไม่เข้าใจ แต่ผมพูดกว้าง ๆ ให้รู้ว่าวิธีการแก้ปัญหากับกลุ่มเป้าหมาย ปัญหานั้นไม่จำเป็นต้องเป็นกลุ่มเหมือนกันไม่
จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีเดียวกัน เหมือนกับที่ผมบอกกับกลุ่มที่พยายามไปปรับโครงสร้างหนี้ ผมบอกว่าเราปรับโครงสร้างด้วยการใช้กติกาเดียวกันทั้ง
ระบบไม่ได้ เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับ ปรส. คนมีตึกสองตึกอยู่ติดกัน ตึกหนึ่งกู้ธนาคารไม่ล้มเหลวต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกบาท อีกตึกหนึ่งไปกู้ไฟแนนซ์
เสร็จแล้วขายทอดตลาดได้คืน ไปซื้อหนี้กลับคืนมาได้ 25 - 30 % ต้นทุนผิดกันแล้วเก็บค่าเช่าที่ต่างกัน ตึกที่อยู่ข้างกันกู้แบงก์จ่ายดอกเบี้ย 100%
ก็สู้ไม่ได้ สู้ไม่ได้ก็กลายเป็นเอ็นพีแอลกับแบงก์ต่อ ถ้าขืนปรับโครงสร้างหนี้แบบนี้รับรองงูกินหางไม่มีจบ ผมเลยบอกว่าแบ่งธุรกิจทุกประเภทใน
ประเภทเดียวกัน ใช้มาตรฐานเดียวกันต่างประเภทอาจจะต่างมาตรฐาน เป็นไปตามความต้องการของประเภทที่จะต้องการการจ้างงานจาก
อุตสาหกรรมนั้น ธุรกิจนั้นหรือความจำเป็นที่ต้องการจะมีธุรกิจนั้นให้เข้มแข็งในการที่จะแข่งขันกับเขา นั่นคือต้องแบ่งกลุ่มของหนี้ออกมาตาม
ประเภทธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม แล้วค่อยมาบริหารในประเภทเดียวกันด้วยกติกาเดียวกัน ถ้าเราบริหารด้วยกติกาที่ต่างกันในธุรกิจเดียวกัน
เพราะต่างแบงก์หรือต่างสถาบันการเงิน ต่างคนจัดการบริหารสินทรัพย์จะล้มเหลว เพราะฉะนั้นรายละเอียดเหล่านี้ต้องคิด ผมอยากซักซ้อมให้
เข้าใจกันก่อน เพราะวันแรกถ้าเข้าใจกันก่อนแล้วต่อไปจะทำงานด้วยกันง่ายขึ้น
นโยบายพักหนี้เกษตรกร
นโยบายหลัก 9 ข้อกับนโยบายเสริมมีดังนี้
1. นโยบายพักหนี้เกษตรกร การปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน เราทำกันหมดเงินเป็นแสน ๆ ล้านบาท เราทำกันเพราะเราบอกว่า
มันจำเป็นมันวิกฤต แต่เราลืมไปว่าประชาชนก็วิกฤต เกษตรกรก็คือนักธุรกิจเพราะลงทุนปลูกและขาย แต่โชคร้ายเพราะไม่สามารถกำหนดราคา
สินค้าได้เหมือนธุรกิจ ก็เลยขาดทุนเราให้เขารองรับปัญหามานานตั้งแต่แผน 1 ปี 2500 เราเก็บพรีเมี่ยมส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อนำเงินเหล่า
นั้นมาสร้างถนนสร้างไฟฟ้า เราต้องไปขายต่างประเทศ ถ้าราคาต่างประเทศขายได้ 100 บาท ถ้าเราเก็บพรีเมี่ยม 20 บาท พ่อค้ากำไรอีก
20 บาท ราคาก็เหลือ 60 บาท ถ้าเราไม่เก็บพรีเมี่ยมราคาก็เป็น 80 บาท แต่เราเก็บพรีเมี่ยมนั่นคือ เกษตรกรรุ่นแรกรับปัญหามาแล้ว พอมา
แผน 3 แผน 4 เงินเฟ้อครับ เราก็คุมเงินเฟ้อด้วยการคุมราคาเครื่องอุปโภคบริโภค ก็ว่ากันเรื่องสินค้าเกษตร ผักเท่าไร หมูเท่าไร วันนี้วิกฤต
เขาต้องรับภาระ เมื่อเขารับภาระเราต้องคิดว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไรในการที่จะให้คนเหล่านี้ได้ขึ้นมาแข็งแรงอีกที ก็ต้องปรับโครงสร้างหนี้เขา
คือเปลี่ยนหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะกลางคือ อีก 3 ปีค่อยใช้ ระหว่างนี้ลำบาก เพราะเราเห็นแล้วว่าอีก 3 ปีข้างหน้ายังไม่สบายเท่าไร เราก็รับ
ภาระ รัฐบาลเปรียบเสมือนพ่อแม่เมื่อลูกป่วยก็ต้องยอมรับ พ่อแม่ยอมอดทนเพราะต้องหาเงินมารักษาลูก เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องรับภาระดอกเบี้ย
ให้ 3 ปี อันนี้เฉพาะรายย่อย เขาจนจริง ๆ ถ้าเขาไม่จนเขามีเงินมากกว่านี้ก็เป็นรายใหญ่ นั่นคือวิธีคิด
นโยบายเรื่องกองทุนหมู่บ้าน
2. เรื่องกองทุนหมู่บ้านนั้น วิธีคิดก็มาจากระบบทุนนิยม ใครเข้าหาแหล่งทุนได้คนนั้นได้เปรียบ วันนี้ใครมีเครดิตอยากได้เงินสัก
หมื่นล้านบาท แบงก็รีบให้เลยเพราะแบงก์เงินเหลือ ดอกเบี้ยให้ถูกด้วยดีไม่ดีต่อรองช่วยเอาไปหน่อย ดอกเบี้ยที่บอกว่าเอ็มแอลอาร์เท่าไร 7.5 %
เอาน่า 5 % ก็เอา เอาไปหมื่นล้านบาทเอาไปเลย ส่วนอีกคนหนึ่งเอาที่ดินไปจำนองไม่ได้ ไม่มี ผมกลัวคุณล้มนี่คือความเป็นจริง แต่ชาวบ้านไม่มี
แม้กระทั่งจะจำนอง ไม่มีแม้กระทั่งจะผูกเนคไทไปแบงก์ใส่รองเท้าแตะไปแบงก์ แล้วจะไปกู้ที่ไหน เอาอะไรจำนองก็ไม่มี หน้าตาก็ทำนามาผิว
กร้านผิวดำ รูปร่างลักษณะไม่ดีแบงก์ก็ไม่ปล่อย ปล่อยตามรูปร่างลักษณะก็ไม่ปล่อย ปล่อยตามสินทรัพย์ก็ไม่ปล่อยอยู่ได้อย่างไร เมื่อเขาอยู่ไม่ได้
เราต้องเอาทุนไปหาเขา เอาทุนไปไว้ในชุมชนเพื่อให้เขามีโอกาสเอาเงินเหล่านี้มาเลี้ยงชีพเขา ในยามวิกฤตอย่างนี้ถ้าเราแจกฟรีรับรองระบบเสีย
หมด แต่นี่เอาไปให้เขากู้ยืมในดอกเบี้ยต่ำ ๆ เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านมีกองทุนอยู่ในนั้นเราจะได้กู้ไปประกอบอาชีพมีรายได้เสริม ไปแปรรูปสินค้า
เกษตรบ้าง กู้ไปทอผ้าไปทำหัตถกรรมที่พ่อแม่ปู่ย่าตายายสอนมาบ้าง เขาจะได้มีรายได้นี่คือวัตถุประสงค์ของการทำกองทุนหมู่บ้านที่เป็นกองทุน
ที่ได้รับการเห็นชอบแล้ว นั่นคือวิธีการคิดด้วยระบบทุนนิยมสมัยใหม่ ไม่ได้คิดว่าจะเป็นนโยบาย.
******************
|