: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 06 ประจำเดือน 06 2544
หัวข้อข่าว : ปันจักสีลัตกับความคาดหวังในเกมิลังเกมส์
รายละเอียด :
                    สมาพันธ์ปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย  ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2534  ซึ่งก่อนหน้านี้ปี  พ.ศ. 2530  ได้มีการจัดและดำเนินการ

เกี่ยวกับกีฬาปันจักสีลัต  โดยมีคณะทำงานประกอบด้วยบุคลากรจากกองทัพบก  ภาคที่  4  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และวิทยาลัย

พลศึกษาจังหวัดยะลา  ปัจจุบันบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ก็ยังคงร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงานของสมาคมปันจักสีลัตแห่ง

ประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องท่านหนึ่งคือ  นายสมเกียรติ  สุขนันตพงศ์  อาจารย์ภาควิชาพลศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  โดยล่าสุดท่านได้

ทำหน้าที่ประธานกรรมการผู้ตัดสินการแข่งขันกีฬาปันจักสีลัตชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย  ครั้งที่  1  เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  ข่าว

ศรีตรังจึงขอนำทัศนะของท่านที่มีต่อการเตรียมนักกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติไทย  เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์  ครั้งที่  21  ณ  ประเทศ

มาเลเซีย  ในเดือนกันยายน  2544  มาเสนอดังนี้

         สมาคมกีฬาปันจักลัตภายใต้การนำของนายกสมาคมคนใหม่  พล  อ.อ. สมบุญ  ระหงษ์  ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาปันจักสีลัต

ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย  ครั้งที่  1  ประจำปี  2544  (1 th  THAILAND  PENCAKSILAT  CHAMPAINSHIP  2001)  

ขึ้นเมื่อวันที่  13 - 16  พฤษภาคม  2544  ที่  MCC  HALL  เดอะมอลล์บางกะปิ  โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคัดเลือกนักกีฬาเป็นตัวแทน

เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา  SEA  GAMES  ครั้งที่  21  ณ  ประเทศมาเลเซีย  การจัดการแข่งขันครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง  

ซึ่งประเมินได้จากการที่มีชมรม  สโมสรต่าง  ๆ  ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ถึง  19  ทีม  จำนวนนักกีฬาประมาณ  190  คน  และ

มีผู้สนใจเข้าชมเป็นจำนวนมาก

         นอกจากนั้นสมาคมกีฬาปันจักสีลัตยังได้รับเกียรติจาก  MR. EDDIE  M. NALAPRAYA  ประธานสมาพันธ์กีฬาปันจัก

สีลัตนานาชาติ  เดินทางจากประเทศอินโดนีเซียมาเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนี้ด้วย  ในด้านกรรมการผู้ตัดสินก็ได้รับความร่วมมือ

จากสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศบรูไนดารุสลาม  ส่งกรรมการผู้ตัดสินมาร่วมในการตัดสินครั้งนี้ถึง  4  คน  ร่วมกับผู้ตัดสินของไทย

ที่เป็นผู้ตัดสินระดับนานาชาติและผู้ตัดสินที่ทางสมาคมได้จัดการฝึกอบรมก่อนการจัดการแข่งขัน  จึงทำให้การแข่งขันมีมาตรฐานมากขึ้น

         จากการที่ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันครั้งนี้  โดยรับหน้าที่เป็นประธานกรรมการผู้ตัดสินมีข้อสังเกตและข้อเสนอ

แนะที่คิดว่า  จะเป็นประโยชน์กับสมาคมกีฬาปันจักสีลัตและผู้ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์  ครั้งที่  21  ณ  

ประเทศมาเลเซีย  หลายประการด้วยกันดังนี้

         ประการที่  1  มีความเห็นว่านักกีฬาส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในหลักการของกีฬาปันจักสีลัต  ที่เน้นการรุกและรับอย่างต่อ

เนื่อง  การออกอาวุธที่รวดเร็วและแม่นยำไปยังเป้าหมายอย่างถูกต้อง  ไม่ได้เน้นความดุดัน  รุนแรงเพียงอย่างเดียว  และที่สำคัญจะต้องเพิ่ม

การให้ความรู้เรื่องกฎกติกาการแข่งขันที่ถูกต้องแก่นักกีฬาด้วย  เพื่อป้องกันการกระทำฟาวล์และจะนำไปสู่การถูกจับให้แพ้ฟาวล์ได้

         ประการที่  2  มาตรฐานการแข่งขันแม้ว่าจะดีขึ้น  แต่นักกีฬาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะที่สำคัญคือการทำให้คู่แข่งขันล้ม  ซึ่งเป็น

ทักษะที่ได้คะแนนมาก  รวมถึงการป้องกันการกระทำล้มด้วย  นักกีฬามักจะไม่ค่อยใช้หมัดซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่จะทำให้ได้คะแนน  ไม่ควร

จะเน้นเพียงการเตะอย่างเดียว  จะเสียเปรียบคู่แข่งที่เขาออกอาวุธได้หลายอย่าง  เปรียบเทียบการต่อสู้ที่เขาอนุญาตให้ใช้อาวุธได้  3  ชนิด  

แต่เราใช้เพียงชนิดเดียวก็ย่อมจะเสียเปรียบคู่แข่งขันอยู่แล้ว

         ประการที่  3  สมาคมยังขาดนักกีฬาในรุ่นใหญ่  ๆ  ทั้งประเภทชายและหญิง  ซึ่งโอกาสจะได้เหรียญมีมาก  เนื่องจากรุ่นใหญ่

มีส่งเข้าแข่งขันน้อย  สำหรับนักกีฬาหญิงที่มีอยู่ทั้งหมดฝีมือยังไม่ได้มาตรฐานซีเกมส์  สมาคมจะต้องหานักกีฬามาเพิ่มในระยะเวลาที่เหลือ

ไม่มากนัก  อาจจะหาได้จากนักมวยหญิงที่มีฝีมือดีนำมาฝึก  ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะได้นักกีฬาที่มีฝีมือพอจะไปแข่งขันกับเขาได้

         ประการที่  4  จะต้องมีการประเมินทีมคู่แข่งขันด้วย  เพื่อที่จะรู้ว่าเราเองอยู่ในระดับใด  ในการแข่งขันซีเกมส์  ครั้งที่  21  นี้  

มีประเทศที่ส่งกีฬาปันจักสีลัตเข้าแข่งขันถึง  9  ประเทศ  ในความเห็นของผู้เขียนจัดระดับความพร้อมและมาตรฐานฝีมือไว้  3  กลุ่มคือ  

กลุ่มที่  1  มีอินโดนีเซีย  เวียดนาม  และมาเลเซีย  กลุ่มที่  2  มีสิงคโปร์  ไทย  ฟิลิปปินส์  แลบรูไนดารุสลาม  กลุ่มที่  3  มีพม่าและลาว  ทาง

สมาคมและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามประเมินชาติต่าง  ๆ  อย่างใกล้ชิดและขยับไปอยู่ในกลุ่มที่  1  ให้ได้มากแค่ไหน  โอกาสที่จะได้เหรียญ

ก็จะมีมากเท่านั้น

         ประการที่  5  ควรที่จะมีการนำนักกีฬาไปแข่งขันประลองกับนักกีฬาชาติต่าง  ๆ  ด้วย  เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์การแข่งขัน

ในระดับนานาชาติและจะเกิดผลดีทางด้านจิตวิทยาการกีฬา  และยังเป็นการประเมินคู่แข่งขันด้วย  และที่สำคัญจะได้นำผลการแข่งขันมาปรับ

ปรุงแผนการฝึกซ้อมได้ทันการณ์

         หลังจากซีเกมส์  ครั้งที่  20  ที่ประเทศบรูไนดารุสลาม  คณะกรรมการโอลิมปิคไทยมีความคาดหวังว่ากีฬาปันจักสีลัตเป็นกีฬา

อีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้ไทยได้เป็นเจ้าเหรียญทองในซีเกมส์  ครั้งที่  21  เนื่องจากมีจำนวนเหรียญทองมากถึง  21  เหรียญ  จึงจัดให้กีฬา

ปันจักสีลัตอยู่ในกลุ่มที่จะต้องดูและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับกีฬาอูซู  คาราเต้โด  และเทควันโด้  ได้จัดให้มีการเก็บตัวนักกีฬา

ระยะยาวขึ้น  จำนวนนักกีฬาให้เก็บตัวได้เต็มตามจำนวนที่มีการแข่งขัน  รวมถึงการจ้างโค้ชจากประเทศอินโดนีเซีย  มาช่วยสอนเพิ่มเติมใน

เรื่องเทคนิคต่าง  ๆ  ที่นักกีฬาไทยยังมีจุดอ่อนอยู่  ซึ่งก็น่าจะทำให้ความหวังของกีฬาปันจักสีลัตในซีเกมส์  ครั้งที่  21  มีมากขึ้น  เป็นไปตาม

ความคาดหวังของคณะกรรมการโอลิมปิคไทยและนายกสมาคม  พล  อ.อ. สมบุญ  ระหงษ์  ที่ตั้งความหวังไว้ว่าจะต้องได้อย่างน้อย  4  

เหรียญทอง  ความคาดหวังเหล่านี้จะเป็นจริงได้ถ้าสมาคมใช้เวลาประมาณ  3  เดือนที่เหลือนี้  ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตและ

ข้อเสนอแนะดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  โค้ช  ผู้จัดการทีม  และสมาคม  คงจะต้องทำงานหนักและเหนื่อยพอสมควร  จึงจะไปถึงสิ่งที่คาด

หวังไว้ใน  เกมิลังเกมส์



                                                                 สมเกียรติ   สุขนันตพงศ์

                                                           กรรมการผู้ตัดสิน

                                                           สมาพันธ์กีฬาปันจักสีลัตนานาชาติ



                                                                                      **********************
โดย : 192.168.128.10 * [ วันที่ 2002-05-03 09:57:43 ]