: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 04 2544
หัวข้อข่าว : การดูงานด้านการบริหารพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะและการจัดการเรียนการสอนศิลปะในสหรัฐอเมริกา
รายละเอียด :
                    การดูงานด้านการบริหารพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะและการจัดการเรียนการสอนศิลปะในสหรัฐอเมริกา  ระหว่างวันที่  5 - 31  

มีนาคม  2544  (โดย  รศ. วุฒิ  วัฒนสิน  แผนกวิชาศิลปศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์)

         สภาศิลปกรรมไทยสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมีศิลปินแห่งชาติ  ดร. กมล  ทัศนาญชลี  เป็นประธานสภาฯ  บริหารร่วมกับกรรมการ

ผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน  ได้จัดโครงการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในแวดวงศิลปะของเมืองไทยในทุกสาขาและทุกสถาบัน  ให้ได้

มีโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานการบริหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านศิลปะกับศิลปินนักวิชาการที่พำนักในสหรัฐ

อเมริกา  กิจกรรมสร้างสรรค์นี้ได้ทำติดต่อกันมาตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2522  จนถึงปัจจุบัน  ได้มีบุคคลในวงการศิลปะของเมืองไทยได้รับเชิญ

มาร่วมในโครงการนี้กว่า  200  คน  ซึ่งแต่ละท่านได้นำประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับกลับมาพัฒนาและยกมาตรฐานให้วงการศิลปะ

ในเมืองไทยมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น

         ระหว่างวันที่  5 - 31  มีนาคม  2544  สภาศิลปะกรรมไทยสหรัฐอเมริกา  ได้เชิญบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  จำนวน  3  ท่าน  ได้แก่  อาจารย์สมบูรณ์  ธนะสุข  ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  

อาจารย์พิเชษฐ  เปียร์กลิ่น  รองผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  รศ. วุฒิ  วัฒนสิน  แผนกวิชาศิลปศึกษา  

คณะศึกษาศาสตร์  คณะดูงานได้เยี่ยมชมการบริหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีชื่อเสียงในลอสแอลเจลลิสและใกล้เคียงเช่น  LOS  ANGELES  

COUNTY  MUSUEM  OF  ART  (LACMA) ,  PALM  SPRINGS  DESERT  MUSUEM ,  NORTON  SIMON  

MUSUEM ,  GETTY  CENTER ,  BERGAMOT  STATION ,  THE  MUSUEM  OF  CONTEMPORARY  

ART  (MOCA) ,  CALIFORNIA  INSTITUTE  OF  THE  ARTS ,  SAN  FRANCISCO  MUSUEM  OF  

MODERN  ART ,  OAKLAND  MUSUEM  OF  CALIFORNIA  เป็นต้น

         รศ. วุฒิ  วัฒนสิน  กล่าวว่าตลอดระยะเวลาที่ได้ดูงานได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง  ดร. กมล  

ทัศนาญชลี  ได้เปิดโลกทัศน์ทางศิลปกรรมให้แก่คณะผู้ดูงานอย่างมากมาย  ทุกคนได้รับประสบการณ์สุนทรียะ  เพราะได้มีโอกาสเห็นโลก

แห่งความเป็นจริงของศิลปกรรมชิ้นเยี่ยมของโลก  ได้รับความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์  เพราะได้เห็นถึงความเป็นไปของกระแสศิลป

กรรมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่ได้รับรวมไว้อย่างเป็นระบบในพิพิธภัณฑ์  ได้รับความรู้ทางด้านศิลปะปฏิบัติ  เพราะได้มีโอกาสเยี่ยมชม  สังเกต  

พูดคุยกับศิลปินอาชีพและนักวิชาการ  อีกทั้งยังได้ปฏิบัติการวาดภาพนอกสถานที่ตามที่ต่าง  ๆ  ประการที่สำคัญคือได้รับความรู้ในด้านการ

จัดการพิพิธภัณฑ์ศิลปะ  ตั้งแต่การอนุรักษ์งานศิลปะ  (CONSERVATION)  เทคนิคการจัดนิทรรศการศิลปะ  การจัดนิทรรศการหมุน

เวียน  การจัดนิทรรศการถาวร  และการบริหารพิพิธภัณฑ์  คิดว่าจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการดูงานครั้งนี้มาปรับปรุงการ

จัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ในโอกาสต่อไป

         ในโอกาสนี้  ดร. กมล  ทัศนาญชลี  ศิลปินแห่งชาติ  ปี  2542  ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับการพัฒนาวงการศิลป

กรรมในเมืองไทยว่า  การพัฒนาศิลปกรรมในประเทศไทยต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปโครงสร้างหลักสูตรศิลปศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา  

มัธยมศึกษา  และระดับอุดมศึกษา  ผู้รับผิดชอบในการร่างหลักสูตรในทุกระดับต้องให้ความสำคัญต่อวิชาศิลปศึกษาเท่าเทียมกับวิชาทาง

สายสามัญเช่น  วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ  หรืออย่างน้อยก็ควรให้ความสำคัญมากกว่านี้  การเพิ่มจำนวนหน่วยการเรียนในวิชาศิลปศึกษา  

จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะจูงใจให้เด็ก  ๆ  จะได้ให้ความสนใจในวิชาศิลปะ  และเมื่อเด็กมีทัศนคติที่ดีต่อศิลปะ  ต่อไปเมื่อเติบโตก็จะเป็นผู้ใหญ่

ที่มีความรู้  ความเข้าใจ  และมีทัศนคติที่ดีต่อศิลปะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นผู้บริหารชาติบ้านเมือง  ก็จะได้เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุน

วงการศิลปกรรมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

         กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษาในโรงเรียน  ควรเน้นการแสดงออกอย่างเสรีมากกว่าความถูกต้อง  เพราะถ้าเราต้องการ

ให้เด็กไทยมีความเป็นตัวของตัวเอง  มีความมั่นใจในตนเอง  กล้าแสดงออก  ต้องปล่อยให้เด็ก  ๆ  ได้แสดงออกอย่างอิสระ  ไม่เน้นการลอกเลียน

แบบให้เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  การแสดงออกอย่างเสรีในวิชาศิลปศึกษาจะเป็นประตูไปสู่การแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์  วงการศิลป

กรรมในเมืองไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากลได้  ศิลปินไทยต้องมีพื้นฐานของการแสดงออกที่มีเสรีภาพที่ประกอบด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย  

การจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษาควรเน้นการรับรู้ทางศิลปะมากกว่าการให้รางวัล  เพราะวิชาศิลปศึกษาจะมีส่วนในการปลูกฝังให้เด็กไทย

รักการเรียนรู้มากกว่าทำอะไรบางอย่างเพื่อเงินรางวัลสถานเดียวและการให้รางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดเพียง  2 - 3  คน  เป็นการส่งเสริมใน

ส่วนย่อย  ในขณะที่วงการศิลปะในเมืองไทยต้องการการสนับสนุนในขั้นพื้นฐานและในภาพรวมมากกว่านี้  หน่วยงานของรัฐและเอกชนต้อง

สนับสนุนเกี่ยวกับการให้ความรู้ทางศิลปะมากกว่าการจัดประกวดศิลปะแล้วให้รางวัลเฉพาะผู้ที่มีทักษะสูงเพียงไม่กี่คน  แล้วเด็กไทยส่วนใหญ่

ก็ถูกละเลยต่อไป  ประเทศไทยต้องสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหอศิลป์  พิพิธภัณฑ์ศิลปะ  และสวนประติมากรรมที่มีคุณภาพ  เพราะสิ่งแวดล้อม

ทางศิลปะเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่เด็กและประชาชนทั่วไปจะได้ซึมซับได้ตลอดเวลา  จะได้เป็นแหล่ง

พักผ่อนหย่อนใจที่ให้ทั้งความสุขทางกายและทางใจ  ชาวไทยทุกคนจะได้มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยที่มีศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า

อันเกิดจากภูมิปัญญาแห่งบรรพชน

         ดร. กมล  ทัศนาญชลี  กล่าวในที่สุดว่า  "แนวการพัฒนาวงการศิลปกรรมในเมืองไทยที่สำคัญที่สุดคือ  ต้องพัฒนาการเรียนการ

สอนศิลปศึกษาในโรงเรียน  เผื่อว่าเด็กเล็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่  ผู้บริหารชาติบ้านเมืองแล้ว  จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปกรรมและ

มีส่วนในการให้การสนับสนุนวงการศิลปกรรมในเมืองไทยให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ"



                                                                                        *******************

โดย : 192.168.128.10 * [ วันที่ 2002-04-23 14:33:10 ]