รายละเอียด :
|
นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิจัยและพัฒนาการแปรรูปยางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์ทาง
การแพทย์และสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นเงินร่วม 3.6
ล้านบาท
ดร. อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
และผู้ศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์สายสวนปัสสาวะและสายน้ำเกลือจากยางธรรมชาติ กล่าวว่ายางพาราเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุด
ทรัพยากรหนึ่งของประเทศ สามารถผลิตได้ปีละประมาณ 2 ล้านตัน ส่งออกประมาณ 1.84 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 55,000 ล้าน
บาท ซึ่งแนวทางการสร้างรายได้ของประเทศจากยางพาราที่ชัดเจนคือ การแปรรูปยางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์ยางที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
แนวทางหนึ่งคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ ได้แก่ สายสอดเข้ากระเพาะปัสสาวะและสายน้ำเกลือ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้
ต้องการคุณสมบัติความยืดหยุ่นที่ดีของยางพาราและผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำหรับประเทศ
ไทยในแง่การผลิต เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตามยางพาราก็มีปัญหาในการนำไปใช้สัมผัสกับคน ที่สำคัญคือ
การแพ้โปรตีนที่มีอยู่ในน้ำยาง ซึ่งทั่วโลกให้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นทุกที จนถึงขั้นพยายามเลี่ยงการใช้ยางพาราในการผลิตผลิต
ภัณฑ์ที่จะต้องมีการสัมผัสกับคน แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้หากมีการวิจัยและพัฒนาแก้ไขอย่างจริงจัง ดังนั้นการวิจัยและ
พัฒนาเพื่อนำยางพาราไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จึงเป็นโครงการวิจัยที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เนื่องจากจะได้ผลิต
ภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถแข่งขันได้อย่างดีกับยางสังเคราะห์หรือโพลิเมอร์สังเคราะห์ที่ใช้อยู่เดิม
ดร. อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย กล่าวเพิ่มเติมถึงขอบเขตการศึกษาวิจัยว่าโครงการดังกล่าวมีการวิจัยและมีการพัฒนาต้นแบบ
สายสอดเข้ากระเพาะปัสสาวะและสายน้ำเกลือที่มีความปลอดภัย ที่ยอมรับได้ในการนำไปใช้งานและพัฒนาวัตถุดิบหรือน้ำยางข้น และ
กระบวนการผลิตในระดับโรงงานต้นแบบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย 2 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จ
ภายในปี 2545 ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการทำวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประมาณ 3,600,000
บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับคือเทคโนโลยีการผลิตสายสอดเข้ากระเพาะปัสสาวะและสายน้ำเกลือจากยางพาราในระดับโรงงานต้นแบบ
ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมได้ต่อไป
********************
|