มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำปลาตีนมาเป็นสัตว์นำโชคในการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 26 หรือ
รูสมิแลเกมส์ ซึ่งนักกีฬาจากโรงเรียนสาธิตทั่วประเทศจะร่วมชิงชัย ในวันที่ 17 - 23 ตุลาคม 2544 ที่จังหวัดปัตตานี
รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่าตามที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 17 - 23
ตุลาคม 2544 ต่อจากโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นั้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ
ได้มีมติให้ใช้ชื่อการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 26 ว่า รูสมิแลเกมส์ และสัตว์นำโชคคือ ปลาตีน ทั้งนี้คำว่ารูสมิแล
เป็นชื่อตำบลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นภาษามลายูท้องถิ่นแปลว่า สนเก้าต้น ส่วนปลาตีน
ที่นำมาเป็นสัตว์นำโชคในการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 26 ก็เนื่องจากที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งติดกับทะเล มีปลาตีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและมีอยู่ถึง 5 ชนิดด้วยกัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จึงได้กำหนดสัตว์นำโชคเป็นรูป "ปลาตีน"
นอกจากนี้ปลาตีนยังเป็นสัตว์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ทั้งบนบกและในน้ำได้ เนื่องจากปลาตีนมีเหงือกชนิดพิเศษ
ที่ทำหน้าที่คล้ายปอดและขณะเดียวกันที่กระพุ้งแก้มก็สามารถอุ้มน้ำได้ ทำให้ปลาตีนสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซบนบกได้โดยไม่มี
ปัญหา ซึ่งเป็นลักษณะการปรับตัวเองของสัตว์ที่อยู่ในป่าชายเลน เปรียบเสมือนมนุษย์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะต่าง ๆ
ได้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะเผชิญสิ่งต่าง ๆ และสามารถใช้ชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะพัฒนาไปพร้อมกับการ
เปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน
อนึ่งเมื่อปี 2540 คณะนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับนัก
วิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ศึกษาพบว่าในอ่าวปัตตานีมีปลาตีนมากถึง 5 ชนิด มากกว่าที่นักวิชาการต่างชาติได้เคยศึกษา
ไว้เมื่อปี 2446 ว่าในอ่าวปัตตานีมีปลาตีนเพียง 3 ชนิด
*******************
|