รายละเอียด :
|
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการสำรวจภาวะการหางานทำของบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2542 จำนวน
2,817 คน ปรากฏว่าบัณฑิตได้งานทำแล้ว 2,001 คน (ร้อยละ 71.0) ศึกษาต่อ 277 คน (ร้อยละ 9.8) และยังไม่ได้ทำงาน 539 คน
(ร้อยละ 19.2) หากจะมองเฉพาะบัณฑิตปริญญาตรี หลักสูตร 4 - 6 ปี จากผู้ตอบแบบสอบถาม 2,369 คน พบว่าได้งานทำ 1,596 คน
(ร้อยละ 67.4) ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.6 คณะที่บัณฑิตได้งานทำสูงสุด 2 อันดับแรกคือ คณะพยาบาลศาสตร์ (ร้อยละ 93.4) และ
คณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (ร้อยละ 87.5) ทั้งนี้ไม่นับรวมคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ซึ่งได้
ทำงานทุกคน เนื่องจากมีข้อผูกพันในการทำงานกับราชการหลังจบการศึกษา ส่วนคณะอื่น ๆ มีภาวะการได้งานทำดังนี้
- กลุ่มคณะที่บัณฑิตได้งานทำแล้วร้อยละ 62 - 71 ได้แก่ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตตรัง คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยอิสลาม
ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์
- กลุ่มคณะที่บัณฑิตได้งานทำแล้วร้อยละ 42 - 60 ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ คณะวิทยาการ
จัดการ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำหรับประเภทของอาชีพนั้น บัณฑิตทำงานในบริษัทเอกชนมากกว่าข้าราชการ โดยผลจากนโยบายของรัฐที่ให้ส่วนราชการเตรียมความ
พร้อม เพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการโดยการจ้างเป็นพนักงานของรัฐแทนข้าราชการ ทำให้บัณฑิตรับราชการลดลงจากปีที่แล้วถึง
ร้อยละ 16.7 และลูกจ้างราชการลดลงร้อยละ 13.5 แต่เพิ่มประเภทอาชีพเป็นพนักงานของรัฐขึ้นร้อยละ 13.1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบัณฑิต
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บัณฑิตปริญญาตรีที่ทำงานแล้วได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 9,225 บาท เพิ่มจากปีที่แล้ว 1,409 บาท โดยบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์และคณะ
ทันตแพทยศาสตร์ ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าคณะอื่นคือ 14,283 บาท และ 13,485 บาท เนื่องจากการเป็นพนักงานของรัฐ รองลง
มาคือบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เงินเดือนเฉลี่ย 12,300 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1,788 บาท ส่วนภาคที่บัณฑิตทำงานมากที่สุด
คือ ภาคใต้ ร้อยละ 63.6 (ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 4.9) รองลงมาคือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 24.3 (เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ
7.2)
ในส่วนของมหาบัณฑิตปริญญาโทจากผู้ตอบแบบสำรวจ 350 คน พบว่าได้งานทำ 334 คน (ร้อยละ 95.4) โดยทำงาน
ในส่วนราชการร้อยละ 74 รองลงมาคือทำงานในบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.1
******************
|