รายละเอียด :
|
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ. บต. คัดเลือก นางบงกช นภาพงษ์ บุคลากรมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ ให้ได้รับรางวัลข้าราชการดีเด่น สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2543
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโครงการคัดเลือกข้าราชการที่มีผลงานดีเด่นในรอบ 5 ปีของ
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2543 ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล ใน 8 สาขาได้แก่
สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ สาขาสังคมจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ สาขาการเมืองการปกครอง สาขาการรักษาความสงบเรียบร้อย
สาขาการต่างประเทศ สาขาการบริหารนโยบาย สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสาขาบริการ ทั้งนี้ในส่วนของจังหวัด
ปัตตานี มีผู้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลข้าราชการดีเด่น ประจำปี 2543 ทั้ง 8 สาขา สำหรับข้าราชการดีเด่น
สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2543 ได้แก่ นางบงกช นภาพงษ์ ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา 6 สังกัดสำนักส่งเสริม
และการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้เข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2543 ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส และเข้ารับโล่รางวัลจาก
นายไพบูลย์ บุญแก้วสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2543 ณ ศาลากลางจังหวัดปัตตานี
ประวัติ นางบงกช นภาพงษ์
เกิดที่จังหวัดปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2501
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
ระดับปริญญาโท ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2526 สาขาการสอนภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระดับปริญญาโท ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2539 สาขาการบริหารโครงการและนโยบาย คณะรัฐประศาสนศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ผลงาน
พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน รักษาราชการแทนหัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการชุมชน สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2540 - 2542 ริเริ่มนำเสนอรูปแบบและดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนชนบทแบบมีส่วนร่วม ภายใต้
ชื่อ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนชนบทจังหวัดปัตตานี อ. ยะรัง, อ. ยะหริ่ง จ. ปัตตานี
พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาและผู้สนับสนุนงานวิชาการด้านการดำเนินงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กร
ชุมชน เช่น สมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดปัตตานี, กลุ่มอาชีพอิสระ ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี
พ.ศ. 2541 เลขานุการงานประชาสัมพันธ์และวิทยากร โครงการกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม
พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน ผู้ประสานงานและสนับสนุนการเรียนรู้ประชาสังคมการดำเนินการประชุมอย่างสร้างสรรค์
และชุมชนเข้มแข็งพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. 2542 คณะทำงานร่วมโครงการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูผ้าทอลายจวนตานี งบประมาณศูนย์
อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. 2542 วิทยากรแนวทางการจัดทำโครงการกองทุนเพิ่มทางสังคมแก่กลุ่มประชาชน / เจ้าหน้าที่รัฐบัณฑิตอาสา
เดือนเมษายน 2542 - ปัจจุบัน คณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม
(SIF : Social Investment Fund) ภาคใต้ตอนล่าง
พ.ศ. 2542 ประธานฝ่ายวิชาการ การจัดทำวิสัยทัศน์และพันธกิจและคณะกรรมการประกันคุณภาพ สำนักส่งเสริม
และการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เดือนพฤศจิกายน 2542 - เดือนมกราคม 2543 หัวหน้าทีมจัดการ การประชุมสร้างอนาคตร่วม รวมพลังสร้าง
วิสัยทัศน์พัฒนาปัตตานีและยุทธศาสตร์ แผน 9 (โครงการความร่วมมือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (Local Development Institute))
เดือนกุมภาพันธ์ 2543 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาวิทยากรกระบวนการการบริหารเชิงกลยุทธ์ : วิสัยทัศน์ พันธกิจ มาตร
การ / แนวทางแผนปฏิบัติงาน
พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน ผู้ประสานงานและสร้างโอกาสการขยายเครือข่ายประชาสังคม / การทำงานแบบพหุภาคี 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
เดือนมีนาคม 2543 - ปัจจุบัน คณะทำงานโครงการพัฒนาชนบทเชิงระบบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : พื้นที่
อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
เดือนพฤษภาคม 2543 - ปัจจุบัน ผู้ประสานงานการจัดทำแผนแม่บทชุมชน : การพัฒนาการเชื่อมต่อการทำงาน
แบบมีส่วนร่วมระหว่างกระทรวงหลัก คณะทำงานวิสัยทัศน์ / แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 กองทุน SIF สถาบัน
การเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม
เดือนสิงหาคม 2543 - เดือนพฤษภาคม 2544 คณะติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการจัดทำแผนแม่บทปัจจุบัน กรณีโครงการนำร่องโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชนด้านสุขภาพ
จังหวัดปัตตานี
เดือนมกราคม 2543 - ปัจจุบัน ผู้ประสานงานพหุภาคีจังหวัดปัตตานี ให้กับคณะทำงานขยายผลวิสัยทัศน์จังหวัด
ปัตตานีดังนี้
1. ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. ด้านการพัฒนาสุขภาวะประชาชน
3. ด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
4. ด้านการพัฒนาระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง
5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ด้อยโอกาส
6. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน
7. การประเมินติดตามผลการขยายผลวิสัยทัศน์จังหวัดปัตตานีสู่การปฏิบัติเชิงรูปธรรม
ผู้ประสานงานโครงการนำร่อง 5 จังหวัดทั่วประเทศ : เมืองน่าอยู่ (กรณีจังหวัดปัตตานี)
ผศ. ดร. สุวิทย์ บุญช่วย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี ได้ให้คำนิยมแก่นางบงกช นภาพงษ์ ว่า "นางบงกช นภาพงษ์ เป็นข้าราชการด้านวิชาการ เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ สนใจ และ
เรียนรู้สังคมได้รวดเร็ว เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา เป็นผู้อุทิศเวลา กำลังกาย และกำลังทรัพย์แก่ส่วนรวมอย่าง
ต่อเนื่อง มีทัศนคติที่ดีต่อทุกคนทุกกลุ่ม"
****************
|