นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศึกษาสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ตามความคิดเห็นของนักเรียน
ครู - อาจารย์ และผู้บริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าการมีความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์
เป็นสมรรถภาพที่สำคัญที่สุดของครูวิทยาศาสตร์
การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ถึงแม้จะได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจนมีเนื้อหา วิธีการ หรือเทคนิคการสอนใหม่ ๆ แล้วก็ตาม แต่ประเด็น
สำคัญอยู่ที่ตัวครูผู้สอนที่จะนำนวัตกรรมไปปฏิบัติให้บังเกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการเรียนรู้จะบังเกิด
ขึ้น ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้มีความรู้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ จึงจะช่วยให้การเรียนรู้ของเด็กบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ จากแนว
ความคิดและปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุให้มีการศึกษาสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ตามแนวความคิดเห็นของนักเรียน ครู - อาจารย์ และผู้บริหาร
การศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ของประเทศไทย โดยคาดหวังว่าผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานด้าน
วิทยาศาสตร์ศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงหลักสูตรการผลิตครูวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของครู
วิทยาศาสตร์
ผศ. ผดุงยศ ดวงมาลา นักวิจัยสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู - อาจารย์ และผู้บริหารการ
ศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ของประเทศไทย กล่าวว่าการวิจัยครั้งนี้ใช้เก็บข้อมูลโดยวิธีสุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนต้น จำนวน 266 คน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 106 คน ครู - อาจารย์ จำนวน 121 คน และผู้บริหารโรงเรียน
จำนวน 76 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยผลการวิจัยพบว่าสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ตามความคิดเห็นของ
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ครู - อาจารย์ และผู้บริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้
ของประเทศไทยไม่แตกต่างกัน สมรรถภาพที่สำคัญที่สุดของครูวิทยาศาสตร์คือ การมีความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ รองลงมาได้แก่
สมรรถภาพด้านการเลือกและใช้เทคนิควิธีสอนอย่างมีประสิทธิภาพ การแสวงหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ การมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร
วิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา การมีทักษะภาคปฏิบัติในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ครูวิทยาศาสตร์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้
ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี และจำเป็นจะต้องมีกลวิธีหรือเทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ความสามารถที่จะเลือกใช้วิธีสอนแบบต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม
ข้อที่น่าสังเกตประการสำคัญคือ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อสมรรถภาพด้านการมีจรรยาครูและศรัทธาต่อวิชาชีพครูค่อน
ข้างสูง โดยเฉพาะความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการวางตนได้เหมาะสมกับความเป็นครู สำหรับสมรรถภาพด้านการมีทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์นั้น กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญทักษะในการอธิบายข้อความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจมากกว่าทักษะอื่น ๆ รองลงไปคือ ทักษะในการ
ใช้เครื่องมือทดลอง การลงข้อสรุป การสังเกต การตั้งสมมุติฐาน การตีความหมายข้อมูล ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับสมรรถภาพด้านการมีเจตคติวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญ
รองจากการมีเทคนิคในการใช้และผลิตสื่อการสอน ในปัจจุบันหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาได้เน้นเรื่องเจตคติวิทยาศาสตร์ค่อน
ข้างมาก แต่อาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากสมรรถภาพด้านนี้เป็นสมรรถภาพทางด้านจิตใจและมุ่งหวังให้เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้เรียนรู้
เนื้อหาหรือได้ทดลองทางวิทยาศาสตร์แล้ว
ผศ. ผดุงยศ ดวงมาลา กล่าวอีกว่าความเคลื่อนไหวทางด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน จะเน้นให้ความสำคัญของกระบวนการ
เรียนการสอนเป็นประเด็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกสรรเนื้อหาและคิดค้นเทคนิควิธีสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน หรือทำอย่างไรผู้เรียน
จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด งานด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจึงไม่เพียงแต่คิดค้นพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ให้ทันสมัยเท่านั้น แต่จะเน้นพัฒนาเทคนิค
วิธีสอนและการปรับปรุงการผลิตครูวิทยาศาสตร์ที่มีสมรรถภาพด้วย
ผลการวิจัยดังกล่าวได้ประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจจะนำไปใช้พัฒนารูปแบบของสมรรถ-
ภาพครูวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการนำไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการผลิตหรือการฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สามารถสอนได้ตาม
เป้าหมายของการศึกษาวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น
*****************
|