: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 04 2543
หัวข้อข่าว : ศึกษาการทอผ้าจวนตานีด้วยเส้นใยฝ้าย
รายละเอียด :
                    นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาการทอผ้าจวนตานีตามแนวพระราชดำริฯ  ฟื้นฟูและประยุกต์

ผ้าทอพื้นเมืองด้วยเส้นไหมที่เคยมีชื่อเสียงในอดีต  มาใช้ใยฝ้ายและใยสังเคราะห์  เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสนองความต้องการของตลาด

และผู้บริโภค

         ผศ. จุรีรัตน์  บัวแก้ว  หัวหน้าโครงการวิจัยการทดลองทอผ้าจวนตานีตามแนวพระราชดำริฯ  ด้วยเส้นใยฝ้ายและใยสังเคราะห์  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่าพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญในเอเซีย

ตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างจีนและอินเดีย  ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง  เนื่องจากมีสินค้าเป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติ  การแลก

เปลี่ยนทางการค้านำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดังกล่าวจะแตกต่างจากภาคอื่น  ๆ  นับตั้งแต่การใช้ผ้าในการแต่งกาย  ประกอบพิธี

ทางศาสนา  และประเพณีวัฒนธรรม  จึงมีผ้าหลายชนิดในชีวิตประจำวันเช่น  ผ้าจวนตานี  ผ้ายกตานี  ผ้าการะป๊ะห์  ฯลฯ  เดิมชาวพื้นเมือง

มีการทอผ้าโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นผ้าเนื้อหยาบ  จนได้รับการถ่ายทอดเทคนิคการทอผ้าขั้นสูงจากชาวอินเดียที่เข้ามาอาศัยในภาค

ใต้ตอนล่างผสมผสานกับความรู้เดิม  ประกอบกับมีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน  จึงได้นำเข้าเส้นใยไหมจากประเทศจีน  ซึ่งเป็นเส้นใยที่

มีคุณภาพดีที่สุดในโลก  ทำให้ผ้าที่ผลิตขึ้นใช้ในเวลาต่อมามีความสวยงามและมีคุณค่า  แต่นับวันจะสูญหายไปจากภาคใต้  เนื่องจากอิทธิพล

ตะวันตกประเภทเสื้อผ้าถูกนำมาขายในราคาที่ถูกกว่าผ้าทอพื้นเมือง  ประกอบกับเส้นใยไหมต้องสั่งเข้าจากประเทศจีน  ทำให้ผ้าพื้นเมืองเช่น  

ผ้าจวนตานี  มีราคาต้นทุนสูง

         นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวอีกว่าในอดีตผ้าจวนตานีที่ทอด้วยไหมมีความงดงาม  ทำให้มี

ผู้ใช้กันมากแต่มีราคาแพงเพราะต้นทุนสูง  เนื่องจากต้องสั่งซื้อเส้นไหมจากประเทศจีน  เมื่ออิทธิพลตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในไทย  เสื้อผ้า

ราคาถูกเข้ามาแทนที่  ทำให้อุตสาหกรรมพื้นบ้านลดความสำคัญลงประกอบกับผ้าจวนตานีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวกล่าวคือ  ส่วนใหญ่เป็นผ้า

ที่ทอด้วยไหม  มีล่องจวน  (แนวหรือร่องที่ปรากฏบนตัวผ้าและเชิงผ้า)  ปรากฏอยู่ระหว่างต่อผ้าและเชิงผ้า  บริเวณเชิงผ้าส่วนใหญ่ใช้ย้อม

สีแดง  ผ้าจวนตานีแต่ละผืนมีลวดลายตั้งแต่  5 - 9  ลาย  สีสันของตัวผ้าจะติดกับเชิงผ้า  สีที่ใช้เป็นสีธรรมชาติได้แก่  สีแดง  เขียว  ม่วง  

น้ำตาล  ดำ  และชมพู  นอกจากนี้ยังใช้เชือกกล้วยตานีเท่านั้นในการมัดย้อม  จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการผลิตผ้าจวนตานีค่อนข้างยุ่งยากและ

ซับซ้อน  โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  ไทยไม่สามารถสั่งนำเข้าเส้นใยไหมจากต่างประเทศได้  ยิ่งส่งผลให้ผ้าจวนตานีเสื่อม

ความนิยมลงและค่อย  ๆ  สูญหายไปในที่สุด

         จากความสำคัญดังกล่าวจึงได้มีการศึกษาการทอผ้าจวนตานีด้วยเส้นใยฝ้ายและใยสังเคราะห์ตามแนวพระราชดำริสมเด็จ

พระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  โดยใช้ระยะเวลาการทำวิจัยตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  2543 - 30  กันยายน  2544  ซึ่งโครงการวิจัย

ดังกล่าวได้นำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้  โดยปรับลวดลาย  สีสัน  และเส้นใยให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด  และปัจจุบันได้มี

การส่งเสริมให้แม่บ้านเกษตรกรในหลายพื้นที่ของจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง  ได้ฝึกเป็นอาชีพเพื่อเสริมรายได้ประกอบกับเป็นการสนอง

แนวพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ในการอนุรักษ์  ฟื้นฟูผ้าจวนตานีให้คงอยู่ตลอดไป



                                       ******************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-07-04 09:06:50 ]