มูลนิธิเพื่อสังคมไทย คัดเลือก ผศ. ดลมนรรจน์ บากา จากวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ให้ได้รับรางวัลบุคคลตัวอย่าง ประจำปี 2542 สาขาการศึกษาการวิจัย
ผศ. ดลมนรรจน์ บากา หัวหน้าแผนกวิชาตะวันออกกลางศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา และรองผู้อำนวยการฝ่าย
บริหารและวิจัย โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ได้รับการประกาศ
เกียรติคุณเป็นบุคคลตัวอย่าง ประจำปี 2542 สาขาการศึกษาการวิจัย จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับการประกาศ
เกียรติคุณในสาขาต่าง ๆ ยังประกอบด้วยพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สาขานักบริหารบำเพ็ญประโยชน์
ต่อสังคม นายสมบัติ อุทัยสาง นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย สาขาผู้ทำประโยชน์ต่อสังคม พลเอกปัญญา สิงห์ศักดา
ข้าราชการบำนาญ สาขาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ นายพูนศักดิ์ มูลศาสตร์สาทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรค
ความหวังใหม่ เขต 1 จังหวัดสุรินทร์ สาขาพัฒนาสังคม นายสุธรรม ปั้นประเสริฐ สาขาบริการศึกษา เป็นต้น
ประวัติ ผศ. ดลมนรรจน์ บากา โดยสังเขป อายุ 56 ปี เกิดที่จังหวัดนราธิวาส การศึกษา อ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ)
จากมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2523
ประวัติดีเด่นในการทำงาน
1. มีส่วนร่วมทำให้มีวิชาอิสลามศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 และปริญญาตรีในคณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
2. เป็นผู้ร่วมริเริ่มในการจัดตั้งวิทยาลัยอิสลามศึกษา
3. ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนของประเทศไทยไปสัมมนาที่ประเทศปากีสถานและได้เสนอผลงาน และกระทรวงการศาสนา
ประเทศปากีสถาน ได้ตีพิมพ์เรื่อง Seerat of the Holy Prophet and His Service to MANKIND.
4. ได้รับเลือกให้เป็นนักวิจัยทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับการทำนุบำรุงศิลป
หัตถกรรมภาคใต้
5. ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
6. ได้เป็นนักวิจัยแห่งชาติ
7. ได้รับเลือกเป็นที่ปรึกษาธนาคารออมสิน
นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิชาการเด่น ๆ อีกหลายเรื่อง อาทิ งานเขียน - เรียบเรียง 3 เรื่อง งานแปล 5 เรื่อง เอกสาร
ประกอบการสอนและบทความกว่า 10 เรื่อง ส่วนงานวิจัยดีเด่นอีกกว่า 20 เรื่อง อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลก
การประเมินโครงการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การย้ายแรงงานไทยไปต่างประเทศของคนไทยใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษากรณีแรงงานจากปัตตานี นราธิวาส ในประเทศมาเลเซีย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
กับการทำนุบำรุงศิลปหัตถกรรมภาคใต้ ความคิดเห็นของประชาชนและข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อข้อปฏิบัติที่สอดคล้อง
กับหลักของศาสนาอิสลามตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี กรณีศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และงานวิจัยเรื่องชาวไทยมุสลิม
และการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
******************
|