คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศึกษาการพักตัวและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หมากแดง
พบการตัดกะลา การรดด้วยโพแทสเซียมไนเตรดและแช่น้ำพรุเป็น 3 วิธี ที่ทำให้เมล็ดงอกงามได้ดีและน้ำจากพรุยังสามารถรักษาเมล็ด
พันธุ์ไว้ได้นานที่สุด
รายงานข่าวจากแผนกวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่านักวิชาการของคณะซึ่งประกอบด้วยนานวิชัย หวังวโรดม ผศ. นงนุช วงศ์สินชวน
นายสุจริต ส่วนไพโรจน์ และนายมนูญ ศิรินุพงศ์ ได้ทำการวิจัยเรื่องการพักตัวและการอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หมากแดง ซึ่งหมากแดง
เป็นพืชในตระกูลปาล์ม ขึ้นได้ดีในป่าพรุ มีแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างเช่น จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี และจากการที่เป็นพืช
ที่มีลำต้นและใบสวยงามกล่าวคือ บางส่วนของลำต้นและก้านใบเป็นสีแดง จึงได้รับความนิยมในวงการไม้ประดับ แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่า
หมากประดับชนิดอื่น การขยายพันธุ์หมากแดงทำได้ด้วยการนำเมล็ดพันธุ์ที่สุกแก่มาเพาะและการแยกหน่อ การเพาะเมล็ดพันธุ์ทำให้ได้ต้น
กล้าจำนวนมากในคราวเดียวกัน แต่เมล็ดพันธุ์หมากแดงใช้เวลาในการงอกนานระหว่าง 4 -6 เดือน เนื่องจากเมล็ดพันธุ์หมากแดงมีระยะ
การพักตัวในช่วง 1 - 4 เดือน นอกจากนี้ยังขาดข้อมูลทางวิชาการในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คณะนักวิชาการของมหาวิทยาลัยจึงได้ทำ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพักตัวและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หมากแดงขึ้น
วิธีการศึกษาการแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์หมากแดง คณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. ไม่ควบคุม
2. ตัดกะลาด้านที่มีต้นอ่อนหรือด้านขั้ว
3. แช่น้ำ 15 วัน และเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ก่อนที่จะนำไปเพาะ
4. แช่น้ำจากพรุ 15 วัน เปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ก่อนนำไปเพาะ
5. รดสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทแทนน้ำ ตลอดการทดลอง
ผลการทดลองพบว่าเมล็ดพันธุ์หมากแดงที่นำมาศึกษามีการพักตัวระยะหนึ่ง ในช่วง 1 - 4 เดือนแรก เมล็ดพันธุ์มีความ
งอกเพียง 11.25 % ขณะที่เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการแก้พักตัวด้วยการตัดกะลาแช่น้ำพรุ 15 วัน และรดด้วยโปตัสเซียมไนเตรทมีความงอก
เฉลี่ยทั้ง 3 วิธีเท่ากับ 37.33 % อย่างไรก็ตามผลการแก้การพักตัวด้วยวิธีต่าง ๆ พบว่าส่วนใหญ่ทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกหลังจาก
เพาะนาน 6 เดือนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนการตัดกะลาช่วยเร่งให้เมล็ดพันธุ์งอกเร็วขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้จำนวนความงอกเพิ่มขึ้น แสดงให้
เห็นว่าการพักตัวของเมล็ดพันธุ์หมากแดงไม่น่าจะมีสาเหตุมาจากเปลือกขัดขวางการผ่านเข้าออกของน้ำ ส่วนการแช่น้ำ 15 วัน ทำให้
ความงอกและดัชนีความเร็วในการงอกลดต่ำลง เนื่องจากเป็นสภาพที่ก่อให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
สำหรับวิะการแก้การพักตัวที่ทำให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็วขึ้นเพราะเหตุผลดังนี้ การตัดกะลาทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดบางลง ส่วน
น้ำพรุมีองค์ประกอบของกรดอินทรีย์บางชนิดเจือปนอยู่เช่น กรดฮิวมิค กรดฟูลริค และมี PH ประมาณ 5.0 - 5.3 กัดกร่อนเมล็ดพันธุ์
ทำให้ต้นอ่อนสามารถงอกและแทงทะลุออกมาได้ง่ายและเร็วขึ้น นอกจากนี้การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำพรุยังเป็นสภาพที่คล้ายคลึงกับปัจจัยทาง
ธรรมชาติจริง ซึ่งมีผลให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็ว ส่วนการรดโพแทสเซียมไนเตรทสามารถเร่งให้ต้นอ่อนหมากแดงเจริญเติบโตเร็วขึ้นได้นั้น
มีรายงานว่าไนเตรทสามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ได้
สำหรับการศึกษาอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หมากแดง ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรักษา 7 วิธีได้แก่
1. การเก็บรักษาในน้ำร่วมกับการเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์
2. เก็บรักษาในน้ำโดยไม่เปลี่ยนน้ำตลอดการเก็บรักษา
3. เก็บรักษาในน้ำผสมสารฆ่าเชื้อราร่วมกับการเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์
4. เก็บรักษาในน้ำผสมสารฆ่าเชื้อราร่วมกับการไม่เปลี่ยนน้ำตลอดการเก็บรักษา
5. เก็บรักษาในสภาพแห้งร่วมกับการคลุกสารฆ่าเชื้อรา
6. เก็บรักษาในสภาพแห้ง
7. เก็บรักษาในน้ำพรุร่วมกับการเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์
ผลการศึกษาพบว่าเมล็ดพันธุ์หมากแดงสามารถเก็บรักษาในน้ำพรุได้นานที่สุดถึง 2.5 เดือน กล่าวคือการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
นาน 2.5 เดือนในน้ำโดยเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ อัตราความงอกอยู่ที่ 36 % เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยไม่เปลี่ยนน้ำ มีอัตราความงอก 24.50 %
เก็บรักษาในน้ำพร้อมทั้งเติมสารฆ่าเชื้อราและเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์มีความงอก 42 % เก็บรักษาในน้ำที่สารฆ่าเชื้อราและไม่เปลี่ยนน้ำ ความ
งอก 14.50 % เก็บรักษาในสภาพแห้งคลุกสารฆ่าเชื้อราไม่มีการงอก เก็บรักษาไว้ในสภาพแห้งไม่มีการงอก และโดยวิธีเก็บรักษาไว้ในน้ำ
พรุและเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ อัตราความงอก 87 %
สรุปได้ดังนี้
1. เมล็ดพันธุ์หมากแดงที่นำมาศึกษามีอัตราการงอกในช่วง 4 เดือนแรกหลังเพาะเพียง 11.25 เปอร์เซ็นต์
2. การแก้การพักตัวด้วยการตัดกะลา การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำพรุ 15 วัน และการรดโพแทสเซียมไนเตรท ช่วยให้เมล็ดพันธุ์
มีความงอกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ทั้งสามวิธีนี้ช่วยเร่งให้เมล็ดพันธุ์งอกเร็วขึ้น
3. เมล็ดพันธุ์หมากแดงที่แก้การพักตัวด้วยการตัดกะลา การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำพรุ 15 วัน และการรดโพแทสเซียมไนเตรท
มีความงอกมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 5 เดือนหลังเพาะ แต่เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการแก้พักตัว ใช้เวลานาน 6 เดือนหลังเพาะ
จึงมีความงอกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
4. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในน้ำทำให้ความงอกและดัชนีความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์ลดลง
5. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หมากแดงในน้ำพรุร่วมกับการเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สามารถรักษาความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ได้นาน
ที่สุด โดยเมล็ดพันธุ์ยังคงมีความงอกสูงถึง 87.00 เปอร์เซ็นต์ หลังเก็บรักษานาน 2.5 เดือน และเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาในสภาพนี้นาน 1
เดือน สามารถงอกได้สูงถึงกว่า 88 เปอร์เซ็นต์
****************
|