: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 11 2542
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี กรมศิลปากร และรัฐบาลฝรั่งเศส ร่วมศึกษาแหล่งโบราณคดีลุ่มน้ำปัตตานี
รายละเอียด :
                    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  กรมศิลปากร  และนักวิจัยชาวฝรั่งเศส  ร่วมศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีบริเวณ

ลุ่มน้ำปัตตานี  โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศส

         นายสมบูรณ์  ธนะสุข  ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  

กล่าวว่าปัตตานีเป็นเมืองหนึ่งที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน  แต่แหล่งชุมชนโบราณประวัติศาสตร์อันยาวนานที่กระจายอยู่

บริเวณลุ่มน้ำปัตตานีนั้น  ยังไม่ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจน  เป็นผลให้โครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  จังหวัดสงขลา  กรมศิลปากร  และนักวิจัยชาวฝรั่งเศสจากสถาบันฝรั่งเศส

แห่งปลายบูรพาทิศ  เห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้ร่วมกันศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี  เป็นระยะเวลา  5  ปี  ตั้งแต่ปี  

2540 - 2544  ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศส  โดยศึกษาวิจัยด้านประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีและแหล่งชุมชนโบราณ

บริเวณลุ่มน้ำปัตตานี

         นายอำนาจ  สมบัติยานุชิต  นักวิชาการศึกษา  โครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  หนึ่งในคณะวิจัยศึกษาแหล่งโบราณคดีในบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี  เปิดเผยถึงการศึกษาวิจัยดังกล่าวว่า  คณะวิจัยได้ศึกษาวิจัยแหล่งโบราณ

คดีบริเวณลุ่มน้ำปัตตานีมาแล้ว  3  ปีคือตั้งแต่ปี  2540 - 2542  โดยในปี  2540  ได้สำรวจและรวบรวมโบราณวัตถุบนพื้นผิวดินในบริเวณลุ่ม

น้ำปัตตานีโดยเฉพาะบริเวณบ้านกรือเซะ  ซึ่งส่วนใหญ่พบเศษเครื่องถ้วยชามมีอายุในช่วงคริสต์ศตวรรษที่  15  เป็นต้นมา  (พุทธศตวรรษที่  

20)  ทำให้ทราบในเบื้องต้นว่าหลักฐานด้านโบราณวัตถุที่แสดงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนคริสต์ศตวรรษที่  15  หรือช่วงก่อนสมัยกรุงศรี

อยุธยายังไม่ปรากฏอย่างชัดเจนในบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี  ปี  2541  มีการขุดสำรวจที่เมืองโบราณบ้านประแว  อำเภอยะรัง  จังหวัดปัตตานี  ซึ่ง

พบโบราณวัตถุไม่มากนักและจากการศึกษาเครื่องถ้วยจีนที่ค้นพบในบริเวณนี้พบว่ามีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่  19 - 20  (ปลายพุทธ

ศตวรรษที่  24)  จึงสันนิษฐานได้ว่าภายในบริเวณกำแพงเมืองโบราณบ้านประแว  ไม่ได้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นและไม่ได้เป็นชุมชน

ที่อพยพเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณเมืองโบราณกรือเซะและบริเวณลุ่มน้ำปัตตานีในสมัยแรกเริ่ม  ในปี  2542  ได้มีการสำรวจชุมชนรอบลุ่มน้ำ

ปัตตานีและบางส่วนของลุ่มน้ำสายบุรี  โดยการสอบถามประวัติชุมชนชื่อหมู่บ้านสุสานเก่า  เป็นต้น

         อย่างไรก็ตามโครงการวิจัยฯ  จะแล้วเสร็จในปลายปี  2544  และคงได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ซึ่งสถาบันฝรั่งเศสแห่งปลาย

บูรพาทิศ  (Ecole  Francaise  d  Extreme - Orient)  จะได้ตีพิมพ์รายงานผลการวิจัยออกเผยแพร่ในระดับนานาชาติต่อไปด้วย



                                                                                        *****************





โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-06-24 12:18:54 ]