ในสภาพปัจจุบันการพัฒนาสถาบันให้มีคุณภาพ เป็นกระแสที่มีความเด่นชัดโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย
จะมีการพูดถึงเรื่องการประกันคุณภาพ จะมีการเตรียมการปรับเปลี่ยนสถานภาพของสถาบันไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลหรือนอก
ระบบราชการ จะมีการปรับโครงสร้างกำลังคน เป็นต้น ในที่นี้จะพิจารณาและนำเสนอแนวคิดเฉพาะเรื่องการลดกำลังคน พอเป็นสังเขป
แนวคิดดังกล่าวประมวลจากการประชุมสัมมนาในที่ต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่
1. การลดกำลังคนในมหาวิทยาลัย ควรเป็นมาตรการสุดท้าย (หลังจากใช้สติและปัญญาอย่างเต็มที่แล้ว) ไม่ควรเป็นมาตร
การแรก เพราะจะเป็นอุปสรรคของการพัฒนางานในปัจจุบัน เนื่องจากบุคลากรจะเสียขวัญและหมดกำลังใจโดยเฉพาะลูกจ้างชั่วคราว
2. กำลังคนในปัจจุบันของแต่ละหน่วยงาน ได้ผ่านการวิเคราะห์ว่าจำเป็นและมีปริมาณงานมากพอก่อนจะรับคนนั้น ๆ เข้า
มาทำงาน
3. ถ้ามีการวิเคราะห์งานใหม่และพบว่า บางคนมีปริมาณงานและคุณภาพของงานไม่เพียงพอ ก็ควรหันมาพิจารณาเรื่องการ
บริหารจัดการที่จะเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของงานให้เหมาะสม
4. ในการพิจารณาว่าใครควรออกไป ไม่ควรใช้อำนาจของผู้บริหารตัดสินใจฝ่ายเดียว โดยเฉพาะการเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราว
ที่ทำงานติดต่อกันมาและไม่มีข้อบกพร่อง
5. การวิเคราะห์คน ควรทำเป็นระบบกล่าวคือ อาจารย์ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว แต่ละสายงาน (ก-ข-ค)
ควรได้รับการพิจารณาไปพร้อม ๆ กันอย่างน้อย 2 เรื่อง
5.1 คุณภาพในการทำงาน การทุ่มเท การตรงต่อเวลา การเสียสละ เป็นต้น
5.2 คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
ซึ่งถือว่าเป็นการประเมินคนทั้งตัว ใครก็ตามที่ถูกประเมินว่าไม่เหมาะสม (ไม่เฉพาะลูกจ้างชั่วคราว) ก็ควรถูกดำเนินการตามมาตรการที่
กำหนด (จะเสนอในข้อต่อไป)
การดำเนินการให้ลูกจ้างชั่วคราวออกไปก่อน จะมีผลกระทบมาก ถ้าลูกจ้างชั่วคราวเป็นคนดีมีฝีมือ และในขณะเดียวกันก็
ปล่อยให้คนอื่น ๆ อยู่ตามสบาย เพราะคิดว่ามีความมั่นคงอันเนื่องมาจากเป็นข้าราชการและจะมีผลกระทบมากขึ้น ถ้าหากบุคคลที่สมัคร
ใจเกษียณอายุก่อนราชการเป็นกลุ่มคนดี มีฝีมือด้วย นั่นคือในขณะนี้ไม่ควรรีบเร่งไล่ลูกจ้างชั่วคราวออกไป โดยที่ไม่ได้มีมาตรการอื่น ๆ
มารองรับ การไล่คนออก ขอให้ผู้มีอำนาจตั้งคำถามว่า คนที่ควรจะถูกออกไปก่อนคนอื่น จะต้องรวมถึงตัวผู้บริหารด้วยหรือไม่ เพราะ
เหตุใด
6. มาตรการรองรับการพัฒนากำลังคน (พัฒนาบุคลากร) ต้องตั้งเกณฑ์คุณภาพให้ชัดเจนและประชาคมทุกคนต้องมีส่วน
ร่วมในการตั้งเกณฑ์ โดยมี public understanding และ public hearing และให้ทุกคนทราบเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ล่วงหน้า การ
ประเมินควรแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ใช้เวลา 2 ปี (สมมุติ) ทุกคนจะได้รับการประเมินตามจำนวนครั้งที่กำหนดเช่นปีละ 2 ครั้ง
(probation) หากใครผ่านเกณฑ์จากการทดลองใน 2 ปี ก็ถือว่าผ่านและต่อจากนี้ไปก็แล้วแต่จะตกลงกันว่าจะประเมินกันอีกในลักษณะ
ใด มีความถี่อย่างไร
ระยะที่ 2 ใครไม่ผ่านการประเมินตามระยะที่ 1 ก็ต้องให้เวลาพัฒนาตนเองต่อไปตามเวลาที่กำหนด (เช่น
1 ปี) และผู้บริหารก็ควรมีมาตรการหรือแนวทางให้ความช่วยเหลือติดตามอย่างเป็นระบบ หากยังไม่ผ่านการประเมินภายในเวลา 1 ปี
ก็ถือว่าหมดสภาพ
7. การให้คนออกจากงาน ต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมเรื่อง สิทธิมนุษยชนและหลักแห่งกฎหมายประกอบกัน
*****************
|