มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย กระชับ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จัดสัมมนาภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลามให้แก่ครูสอนศาสนาทั่วประเทศเป็นปีที่ 7 ระหว่างวันที่ 11
มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2542 ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
ดร. หะสัน หมัดหมาน ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงว่าการจัด
สัมมนาภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลาม ซึ่งวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับมหาวิทยาลัย
อิสลามแห่งมาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย ได้จัดขึ้นภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย ที่ผ่านมา 6
ครั้ง ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยที่มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมาดีนะฮได้ให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ วิทยากร และยังได้
คัดเลือกผู้เข้าอบรมให้ได้รับทุนเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย ในคณะและสาขาวิชาต่าง ๆ
อาทิ คณะอักษรศาสตร์อาหรับและวัฒนธรรม สาขาวิชากุรอาน หะดีษ (วจนะของท่านศาสดา) ชารีอะห์ (นิติศาสตร์อิสลาม)
จากความสำเร็จในการจัดสัมมนาดังกล่าว นำไปสู่โครงการต่อเนื่องในการจัดสัมมนาเป็นปีที่ 7 ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน
- 3 กรกฎาคม 2542 ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ
ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอนวิชาศาสนาอิสลามแก่ครูผู้สอนวิชาภาษาอาหรับและวิชาศาสนาอิสลามในโรงเรียนเอกชน
สอนศาสนาอิสลาม และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศรวม 261 คน โดยมีวิทยากรซึ่งเป็นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอิสลามแห่ง
มาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย รวม 6 คน ซึ่งมี รศ. ดร. มูฮัมมัด บินคอลีฟะฮ อัตตะมิมีย์ เป็นหัวหน้าคณะ
ผศ. ประพันธ์ วิเศษรัฐกรรม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยถึงการสัมมนาการสอน
ภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลามว่า เป็นโครงการที่รองรับนโยบายของรัฐที่ได้กำหนดให้พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่เขต
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจในการที่จะยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ดีขึ้น ประกอบกับเป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศที่สำคัญ
เนื่องจากประเทศซาอุดิอารเบียเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลาม เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมอิสลาม ภาษาอาหรับนอกจากจะเป็นภาษาหลัก
ในการศึกษาศาสนาอิสลามของมุสลิมทั่วโลกแล้ว ยังเป็นภาษาหนึ่งของสหประชาชาติและประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งใช้ภาษาอาหรับ
เป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร การธุรกิจ และจากพื้นฐานความสัมพันธ์ครั้งนี้จะเป็นฐานขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ
ประเทศซาอุดิอารเบีย ให้แน่นแฟ้นดังเช่นอดีตและพัฒนายิ่งขึ้นในอนาคต
*****************
|