: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ 12 ประจำเดือน 12 2541
หัวข้อข่าว : นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ศึกษาพบปัญหามลพิษทางน้ำรอบอ่าวปัตตานี แนะรัฐใช้ระบบบำบัดน้ำเสียรวมในเขตอุตสาหกรรมและชุมชน
รายละเอียด :
                    นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาพลปัญหามลพิษทางน้ำรอบอ่าวปัตตานีมาจากโรงงาน

อุตสาหกรรม  นากุ้ง  และชุมชน  โดยไม่มีมาตรฐานของการบำบัดน้ำเสียและพบว่าประชาชนต้องการให้รัฐสร้างท่อระบายน้ำ  กำจัดขยะ  

และมีมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมและนากุ้ง

         จากการเพิ่มของประชาชนรอบอ่าวปัตตานี  ทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้นตามไปด้วย  ประกอบกับการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจตามนโยบายพัฒนาประเทศของรัฐ  ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นบริเวณรอบอ่าว  อาทิ  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  การ

ประมงเชิงพาณิชย์และการขายตัวของอุตสาหกรรม  เหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษลงสู่อ่าว  โดยก่อให้เกิดปัญหาการปล่อยน้ำเสีย  โดยไม่

ผ่านการบำบัดหรือบางโรงงานมีการบำบัดน้ำเสีย  แต่ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด  จากสาเหตุดังกล่าวทำให้อ่าวปัตตานีมีแนว

โน้มเสื่อมโทรมลง  ซึ่งส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติลดลงด้วยและความอยู่รอดของชุมชนในพื้นที่รอบอ่าว  ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ

ประมงขนาดเล็กและจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรในอ่าวปัตตานี

         รศ. ครองชัย  หัตถา  ผู้วิจัยการสำรวจสภาพปัญหามลพิษทางน้ำบริเวณพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  เปิดเผยถึงผลการประเมินน้ำทิ้งและปริมาณของเสียจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมว่า  ปริมาณน้ำทิ้งระบายลงสู่แม่น้ำ

และอ่าวปัตตานีในปัจจุบัน  มีปริมาณ  20,000  ลูกบาศก์เมตรต่อวัน  โดย  3  ใน  5  ส่วน  มาจากชุมชนและ  2  ใน  5  ส่วน  มาจากโรงงาน

อุตสาหกรรมและแพปลา  คิดเป็นปริมาณของเสียในรูป  บี.โอ.ดี  หรือในรูปของสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้มาจากโรงงานอุตสาหกรรมและ

แพปลาประมาณ  12,960  กิโลกรัมต่อวัน  และมาจากชุมชนประมาณ  7,755  กิโลกรัม  นอกจากนั้นยังมีของเสียประเภทอื่นเช่น  คราบน้ำมัน  

ไขมัน  โลหะหนัก  และสารแขวนลอยประเภทอื่น  ๆ  ปะปนในน้ำทิ้งลงสู่อ่าวปัตตานี  ปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียรวมในเขตอุตสาหกรรมที่

สร้างแล้วเสร็จมากกว่า  1  ปี  ยังไม่ได้เริ่มใช้  คงเป็นการบำบัดน้ำเสียเฉพาะภายในโรงงานแต่ละแห่งเท่านั้น  ส่วนในเขตชุมชนรอบอ่าวรวม

ทั้งเขตเทศบาลยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย  น้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำและอ่าวปัตตานีโดยตรง

         รศ. ครองชัย  หัตถา  ได้กล่าวเสนอแนะว่าปัจจุบันประชาชนรอบอ่าวปัตตานี  ตระหนักในปัญหามลพิษทางน้ำในอ่าวปัตตานี

เป็นอย่างมาก  เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและจับสัตว์น้ำมาเป็นเวลานาน  นอกจากนั้นบริเวณรอบอ่าวหลายแห่งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวย

งามตามธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์  จากการสำรวจประชากรตัวอย่างรอบอ่าวมักพบว่า  ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งให้ได้

มาตรฐาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีมากกว่า  40  โรงรอบอ่าวปัตตานี  น้ำทิ้งจากชุมชนรอบอ่าวซึ่งมีประชากร

ประมาณหนึ่งแสนคน  และน้ำทิ้งจากนากุ้งและแพปลา  นอกจากนั้นยังต้องการให้มีการขุดคูระบายน้ำในชุมชนให้ทั่วถึง  ไม่ให้มีสภาพน้ำเสีย

แช่ขังเน่าเหม็นตามหมู่บ้านต่าง  ๆ  ให้มีการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียรวมในเขตอุตสาหกรรมที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้ว  แต่ในปัจจุบันยังไม่มี

ระบบท่อน้ำทิ้งจากโรงงานต่าง  ๆ  มารวมกัน  เพื่อบำบัดให้ได้มาตรฐานก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่อ่าวปัตตานี  นอกจากนั้นยังต้องการให้มีการ

จัดเก็บและกำจัดขยะที่มีอยู่เป็นจำนวนมากตามหมู่บ้านรอบอ่าว  ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้ำเสียรอบอ่าวปัตตานี



                                                                                     ******************

โดย : 203.154.177.10 * [ วันที่ 2001-06-07 16:35:45 ]