รายละเอียด :
|
สถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดสัมมนาภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้เรื่อง
"หมอและยาสมุนไพร" ในวันที่ 17 - 18 สิงหาคม 2541 ณ หอประชุมสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูวิชาการด้านการรักษาของหมอพื้นบ้านภาคใต้ ทั้งหมอไทยพุทธ หมอจีน และหมอมุสลิม
นายน้ำ สุขอนันต์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี กล่าวว่าภูมิปัญญาไทยด้านแพทย์แผนไทย เภสัชแผนไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดมาแต่โบราณในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศไทย
ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อการบำบัดความเจ็บป่วยของชาวบ้านเป็นเวลานาน หมอยาที่ผสมยาตามพิธีกรรมทางไสย
ศาสตร์ หมอยาผสมด้วยการดูชะตาราศี และหมอยาจากประสบการณ์ ส่วนใหญ่เป็นหมอที่มีอุดมการณ์และจะได้รับค่าตอบแทน
เพียงค่า "ราษฎร์" หรือค่า "ครู" เท่านั้น
จากอุดมการณ์ด้านคุณธรรมดังกล่าว ประกอบกับค่าของเงินที่เปลี่ยนไป ทำให้หมอและยาแผนไทยจะมีน้อยลงและ
หันไปประกอบอาชีพอื่นที่มีรายได้ดีกว่า เป็นเหตุให้ชาวบ้านจะต้องพึ่งโรงพยาบาล แพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยยานอกและ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง สถาบันวัฒนธรรมศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูวิชาการทางหมอและยา
พื้นบ้านภาคใต้ จึงได้จัดสัมมนาภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้เรื่อง "หมอและยาสมุนไพร" ในวันที่ 17 - 18 สิงหาคม 2541 ณ
หอประชุมสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนาประกอบด้วย
หมอพื้นบ้านภาคใต้ ทั้งหมอไทยพุทธ หมอจีน และหมอมุสลิม ได้ฟื้นฟูวิชาการรักษาและแลกเปลี่ยนวิชาการในกลุ่มสมาชิก ซึ่ง
การสัมมนาดังกล่าวประกอบด้วยทัศนศึกษาและการบรรยาย อาทิ ดุลยภาพบำบัดกับการรักษา โรคด้วยการฝังเข็ม โดย รศ. พญ.
ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ และคณะ โรงพยาบาลบ้านสวน กรุงเทพฯ, ศึกษาดูงานและฟังคำบรรยายเรื่อง กระบวนการผลิตยาและแนว
ทางการดำเนินธุรกิจยาสมุนไพร ณ บริษัท เภสัชกรรมและอายุรเวช (หมอผุด) จำกัด จ. สงขลา และดูงานและฟังบรรยายเรื่อง
สมุนไพรกับการนำมาใช้ ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นต้น
*****************
|