ทบวงมหาวิทยาลัย กำหนดให้ทุกมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบราชการภายในปี 2545 ส่วนสงขลานครินทร์คาดว่า
จะมีแผนออกก่อนกำหนด
ผศ. ประพันธ์ วิเศษรัฐกรรม รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เคยเตรียมการ
เพื่อการออกนอกระบบราชการหรือที่เรียกว่า มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลที่ไม่เป็นส่วนราชการ มาแล้วเมื่อประมาณ 4 - 5 ปีที่แล้วมา
แต่ได้หยุดไปเพราะความไม่ชัดเจนเรื่องการออกนอกระบบว่า เมื่อออกนอกระบบแล้ว รัฐจะมีหลักเกณฑ์นับสนุนงบประมาณประการใด
แต่ปัจจุบันตามข้อกำหนดของ IMF (INTERNATIONAL MONETARY FUND) ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าให้สถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐออกนอกระบบให้ได้ภายในปี 2545 ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยก็สนองนโยบายของรัฐและแจ้งให้ทุกสถาบันไปดำเนินการ
การออกนอกระบบราชการไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลไม่ต้องจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินการ แต่หลักการ
คือทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยบริหารงานได้คล่องตัวและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ได้นำแนว
คิดเรื่องการเตรียมการออกนอกระบบ รายงานให้สภามหาวิทยาลัยรับทราบแล้วและคณะผู้บริหารก็มีความคิดว่า เราควรจะมีการเตรียม
ออกนอระบบให้เร็ว อย่างน้อยก็ก่อนปี พ.ศ. 2545
รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงว่าเมื่อวิทยาเขตปัตตานีจะต้องเตรียมการออกนอกระบบราชการ โดยจะต้องแสวง
หางบประมาณหรือแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนการดำเนินการมากขึ้น และต้องมีการปรับโครงสร้างและแนวทางการทำงาน รวมทั้งนำ
ระบบประกันคุณภาพมาใช้อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือจะต้องปรับการเรียนการสอน โดยเน้นที่สาขาวิชาที่ได้รับความ
นิยมให้มากขึ้น หรือสนับสนุนให้มีการพัฒนาในสาขาวิชาที่เป็นจุดเด่นของแต่ละคณะ
ผศ. ประพันธ์ วิเศษรัฐกรรม กล่าวย้ำว่า "ผมอยากให้ความมั่นใจแก่บุคลากรว่าผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญและความ
จำเป็นของการออกนอกระบบราชการ ซึ่งจะต้องมีการหารือและเดินไปพร้อมกันและอยากบอกว่าไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในสายใด ถ้าเรามี
ความสามารถในการทำงาน อุทิศเวลา และทำงานอย่างเต็มความสามารถ มีเนื้องาน และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เราก็จะไม่
เดือดร้อนและจะสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ส่วนในเรื่องการตอบแทนนั้น ต้องยึดหลักการที่ว่าทำงานมากมีประสิทธิภาพ ก็ย่อม
ต้องได้รับการตอบแทนมากเป็นธรรมดา มีหลายคนที่มีข้อสงสัยว่าถ้ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบจริง ระบบการทำงานจะเป็นอย่างไร
เป็นอุปสรรคกับบุคลากรเดิมหรือไม่ ตามความเห็นของผมเห็นว่าในระยะแรกคงต้องมี 2 ระบบคือ ระบบบริหารแบบเดิมกับระบบ
บริหารแบบใหม่ ซึ่งก็เป็นความสมัครใจและการพิจารณาของบุคลากรระบบเก่าว่าจะเข้าสู่ระบบใหม่หรือไม่อย่างไร"
******************
|