: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 04 2541
หัวข้อข่าว : ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ให้นโยบายผู้บริหาร ม.อ.
รายละเอียด :
                    ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  พร้อมให้นโยบายการบริหารมหาวิทยาลัย  ในภาวะวิกฤติ

เศรษฐกิจ  การประกันคุณภาพการศึกษา  และการออกนอกระบบ

         รศ. วันชัย  ศิริชนะ  ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย  ได้ให้เกียรติเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เมื่อ

วันศุกร์ที่  27  มีนาคม  2541  โดยมีท่านอธิการบดี  รองอธิการบดี  คณบดี  ประธานสภาอาจารย์  คณาจารย์  และบุคลากรมหาวิทยาลัย  ร่วม

ให้การต้อนรับ  ในโอกาสดังกล่าวปลัดทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ข้อคิดเห็นถึงสถานการณ์ของประเทศว่า  "ปัญหาสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่

ประเทศไทยกำลังประสบอยู่  ซึ่งส่อเค้ามาตั้งแต่ปี  2539  ทำให้ในปี  2540  ต้องนำมาตรการประหยัดงบประมาณมาใช้  แม้แต่วงการศึกษา

ก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก  แต่ทบวงมหาวิทยาลัยยังคงมีนโยบายที่จะไม่ลดปริมาณและคุณภาพของการผลิตบัณฑิตลง  ซึ่งจากงบประมาณที่

จำกัดแต่ภารกิจไม่ลดลงนี้  เป็นจุดหักเหที่สำคัญที่หลายคนบอกว่าน่าจะใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสคือ  กิจกรรมอะไรก็ตามแต่ที่ทำไม่ได้ในเวลาปกติ

นั้น  น่าจะเอามาเป็นข้ออ้างที่จะต้องนำมาทำในช่วงนี้  นั่นคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการในการบริหารจัดการต่าง  ๆ  ให้กระชับและ

มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  กล่าวคือรัฐย้ำว่าถ้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งรวมขุมพลังความรู้ยังไม่สามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้  ไม่สามารถใช้

พลังแห่งสติปัญญาที่มีอยู่มาสร้างประสิทธิภาพในการบริการ  โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้แล้วใครจะทำได้  ตรงนี้เป็น

ความท้าทาย  เพราะฉะนั้นผมอยากจะเน้นว่าประสิทธิภาพในการบริหารเป็นความจำเป็นในยุคปัจจุบัน  ทำอย่างไรเราจะใช้ทรัพยากรให้เกิด

ประโยชน์ได้สูงสุด"

         ปลัดทบวงฯ  ได้ชี้แจงต่อไปว่ารัฐบาลได้มีมาตรการเพื่อการใช้งบประมาณอย่างประหยัด  ประกอบด้วยการไม่จัดตั้งหน่วยงาน

ใหม่  ไม่เพิ่มอัตรากำลังข้าราชการ  ไม่กำหนดตำแหน่งใหม่ที่มีเงินประจำตำแหน่ง  และไม่เริ่มโครงการใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดดอกผล  สำหรับ

โครงการที่สามารถอนุมัติได้นั้นต้องเป็นโครงการที่มีผลต่อการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก  ดังนั้นแต่ละมหาวิทยาลัยจะต้องใช้ความรู้

ความสามารถอย่างเต็มที่ในการบริหารและจัดการ  นอกจากนี้ทบวงมหาวิทยาลัยยังได้กำหนดนโยบายให้แก่มหาวิทยาลัยอีก  6  ประการคือ

         1.  ความเสมอภาคทางการศึกษา  การกระจายโอกาสทางการศึกษา  และการขยายวิทยาเขต  ก็ยังเป็นนโยบายที่ต้องคงอยู่

         2.  ความเป็นเลิศทางวิชาการ  มหาวิทยาลัยไทยต้องเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ  ซึ่งมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้มหาวิทยาลัยไทย

ยังไม่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ  ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณที่สนับสนุนไม่เพียงพอ  คณาจารย์ยังมีคุณภาพไม่เพียงพอ  ทรัพยากรทางการศึกษาไม่

เพียงพอ  งานวิจัยยังไม่อยู่ในระดับที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ  แต่ทั้งนี้จะให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งเป็นเลิศในทุกด้านย่อมไม่ได้  ดังนั้นต้อง

เลือกว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะเอาอะไรเป็นจุดเด่นของงาน

         3.  ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่จะต้องมาจากความสมัครใจจากภายในว่า  เราต้องการสร้างประสิทธิภาพ  ประสิทธิภาพ

ภายนอกเป็นสิ่งที่ผู้อื่นมองเราว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน  ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการผลิตบัณฑิต  สนองความต้องการของสังคม  การใช้งบ

ประมาณคุ้มค่าหรือไม่  และทบวงมหาวิทยาลัยได้สนองตอบนโยบายหรือเปล่า

         4.  ความเป็นนานาชาติของอุดมศึกษาไทย  จะทำอย่างไรให้หลักสูตรของเราเป็นสากล  ทำอย่างไรให้นักศึกษามีความรู้ความ

สามารถระดับสากล  และทำอย่างไรให้สิ่งที่เราสอนเป็นความสนใจของคนต่างชาติและอยากมาเรียน

         5.  ความสามารถในการผลิตบัณฑิต  ให้สนองตอบต่อความต้องการของสังคมได้อย่างทันท่วงที  ทันเวลา  และมีคุณภาพ

         6.  การให้ภาคเอกชนมีส่วนรับรู้  รับทราบ  และร่วมจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา  แต่การที่เอกชนเข้ามาก็ต้องการผลกำไร  แต่ปัญหา

อยู่ที่ว่าทำอย่างไรจะให้เขามีกำไรและการศึกษามีคุณภาพด้วย

         นโยบายทั้ง  6  ข้อนี้คือ  สิ่งที่ทบวงมุ่งหวังจะให้มีอยู่  ซึ่งสิ่งต่าง  ๆ  เหล่านี้จะสะท้อนออกในแง่ของการจัดสรรงบประมาณ  

สะท้อนออกมาในเชิงของการอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่

         สำหรับเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา  ที่ทบวงประกาศเป็นนโยบายมาเมื่อวันที่  8  กรกฎาคม  2539  ในระยะแรกหลาย  ๆ  

หน่วยงานยังไม่ยอมรับ  แต่หลังจากบริษัททริสต์และเอเชียวีคส์มาจัดอันดับมหาวิทยาลัย  ไทยอยู่ในอันดับที่  36  และ  44  ของมหาวิทยาลัยใน

เอเชีย  ทำให้มหาวิทยาลัยมีความตื่นตัวเป็นอย่างมากว่าจะต้องปรับตัวเองให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสังคม

         การประกันคุณภาพจะต้องเกิดขึ้นจากความสมัครใจ  ต้องให้เกิดความรู้สึกเองว่าถ้าไม่มีคุณภาพเราอยู่ไม่ได้  โดยเฉพาะในสังคม

ที่มีการแข่งขัน  แม้แต่มาเลเซียเองก็ประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาในวันเดียวกับไทย  แต่ของเขานั้นประกาศแล้วมีการบังคับ  

ขณะที่นโยบายของทบวงมหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับ  เพียงแต่บอกว่าให้แต่ละแห่งสร้างระบบควบคุมคุณภาพด้วยตัวเอง  แล้วแจ้งให้ทบวงทราบ

เพื่อที่จะประเมินและตรวจสอบต่อไป

         รศ. วันชัย  ศิริชนะ  ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย  ได้กล่าวถึงการออกนอกระบบราชการว่าเมื่อออกนอกระบบแล้ว  จะเป็นมหาวิทยาลัย

ของรัฐที่ไม่ใช่ระบบราชการ  ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ  รัฐพึงจัดสรรงบประมาณให้  เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามความจำเป็น  การ

บริหารมหาวิทยาลัยเป็นอิสระและปลอดจากระบบราชการ  ซึ่งมี  3  กรณีคือ  ด้านการบริหาร  การเงินงบประมาณด้านวิชาการ  และด้านการ

บริหารงานบุคคล  ซึ่งทั้ง  3  ด้านอยู่ในความดูแลของสภามหาวิทยาลัย  นอกจากนี้มหาวิทยาลัยต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด  และในฐานะที่เป็นองค์กรสาธารณะภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่  และในฐานะที่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาดำเนินการ  

รวมถึงฐานะที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  มหาวิทยาลัยจะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใสและพร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบจากภายนอก  

หลักการของการออกนอกระบบแต่ละมหาวิทยาลัย  จะต้องออกนอกระบบเหมือนกันหมด  แต่รูปแบบของการบริหารภายในมหาวิทยาลัยแต่ละ

แห่ง  ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน  ภายใน  6  เดือนนี้  จะมีความเคลื่อนไหวจากทบวงออกมาให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้เตรียมตัว  ปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบแล้วได้แก่  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  มหาวิทยาลัยสุรนารี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  และที่กำลัง

จะออกนอกระบบอีกแห่งคือ  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่เชียงราย



                                                                                       *****************



         





โดย : 203.154.177.10 * [ วันที่ 2001-06-03 14:16:34 ]