มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี จัดสัมมนาทางวิชาการ
ภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้ ครั้งที่ 3 เรื่อง "หมอยาสมุนไพรและเดินป่าศึกษาสมุนไพร" ระหว่างวันที่ 9 - 10 และ 14 มิถุนายน
2540 ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูวิชาการด้านการรักษาของหมอพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบกับเป็นการร่วมฉลองครบรอบ 30 ปี การก่อตั้ง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายน้ำ สุขอนันต์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
แจ้งว่าหมอและยาพื้นบ้านหรือที่เรียกว่า ภูมิปัญญาไทยด้านแพทย์แผนไทย เภสัชแผนไทย ที่ได้ถ่ายทอดสืบเนื่องมาแต่โบราณซึ่งส่วน
ใหญ่ล้วนเป็นหมอที่มีอุดมการณ์ ช่วยเหลือมนุษย์ใช้วิชาความรู้ตกทอดมา โดยได้รับค่าตอบแทนเพียงค่าครูหรือดอกไม้ธูปเทียนและ
เงินจำนวนน้อย ส่งผลให้ยาแผนไทยนับวันจะลดจำนวนและแพทย์แผนโบราณต้องหันไปประกอบาชีพอื่นที่มีรายได้ดีกว่า เป็นเหตุให้
ชาวบ้านขาดที่พึ่ง จะต้องพึ่งโรงพยาบาลและแพทย์แผนปัจจุบัน ทำให้การรักษาพยาบาลมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น สถาบันวัฒนธรรม
ศึกษาเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ภาคใต้เรื่อง หมอยาสมุนไพรและเดินป่าศึกษาสมุนไพร ระหว่างวันที่ 9 - 10 และ 14 มิถุนายน 2540 โดยมีหัวข้อการสัมมนาที่
น่าสนใจเช่น ดุลยภาพบำบัดกับการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม ซึ่งมี รศ. พญ. ลดาวัลย์ สุวรรณกิติ และคณะจากโรงพยาบาลบ้านสวน
กรุงเทพฯ เป็นวิทยากร หัวข้อเภสัชโภชนาการด้านสมุนไพรที่ต่อต้านโรคมะเร็ง โดย รศ. ดร. วงศ์สถิต ฉั่วกุล จากคณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล และการเดินป่าศึกษาสมุนไพรในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูวิชาการด้านการรักษาของหมอ
พื้นบ้านภาคใต้ ประกอบกับเป็นการร่วมฉลองครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีหมอชาวบ้านภาคใต้เช่น
หมอไทยพุทธ ไทยจีน และไทยมุสลิม นักวิชาการรวมกว่า 100 คน ร่วมการสัมมนาและเดินป่าศึกษาสมุนไพร
******************
|