คณะนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับนักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์
ศึกษาพบว่าปลาตีนในอ่าวปัตตามีถึง 5 ชนิด มากกว่าที่นักวิชาการชาวต่างชาติได้รายงานว่ามีเพียง 3 ชนิดและพบว่าสามารถ
นำมาทำอาหารรับประทานได้
นางสาวสมพร ประเสริฐส่งสกุล อาจารย์แผนกวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หนึ่งในผู้วิจัยของคณะชี้แจงว่า คณะฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยทางทะเลแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยมี ดร. เคส สเวนเนน (DR. CESS SWENNEN) ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันดังกล่าว ร่วมกับคณะวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีนายนุกูล รัตนดากุล อาจารย์แผนกวิชาชีววิทยา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการ
ศึกษาชีวิตปลาตีนซึ่งอาศัยอยู่บริเวณป่าชายแดนในอ่าวปัตตานี เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการกินอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย ตลอดจน
ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำปลาตีนประกอบอาหาร ซึ่งคนในท้องถิ่นไม่นิยมบริโภค แต่บางประเทศโดยเฉพาะในทวีปยุโรป
เป็นอาหารที่ผู้คนนิยมบริโภค
ผลการศึกษาทำให้พบสิ่งที่น่าสนใจว่า ปลาตีนเป็นปลาที่ไม่มีกลิ่นคาวจัด มีลักษณะของเนื้อและรสชาติใกล้เคียงกับ
ปลาทะเลโดยทั่วไป สามารถนำมาประกอบอาหารได้เหมือนปลาชนิดอื่น ๆ และการค้นพบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หลังจากที่ได้
มีนักวิชาการชาวต่างประเทศทำการศึกษามาเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา นั่นคือคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ได้พบว่า ในอ่าวปัตตานีมีปลาตีนอยู่ถึง 5 ชนิด มากกว่าที่นักวิชาการของชาวต่างประเทศได้ทำการศึกษาเมื่อปี 2446 ว่าพบ
ปลาตีนในอ่าวปัตตานีเพียง 3 ชนิด
******************
|