นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่าคณะฯ
ร่วมกับสถาบันวิจัยทางทะเลแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ วิจัยพบว่าหอยฝาเดียวในอ่าวปัตตานีและ
แหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่ง เปลี่ยนแปลงเพศเนื่องมาจากภาวะมลพิษจากสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในสีกันเพรียงที่ใช้
ทาเรือ
รายงานข่าวจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่า
คณะฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยทางทะเลแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ นักวิจัยจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ได้ร่วมกันทำ
การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงเพศของหอยฝาเดียวในอ่าวปัตตานี บริเวณอ่าวไทยและบริเวณช่องแคบมะละกาพบว่า ได้มี
การเปลี่ยนแปลงเพศในหอยฝาเดียวหลายชนิดอาทิ หอยแตงโม หอยก้างปลา หอยหนาม และหอยกระต่าย เป็นต้น โดย
เปลี่ยนจากหอยเพศเมียไปเป็นเพศผู้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะมลพิษของสาร TBT (TRIBUTYLTIN) ซึ่งสารดังกล่าว
เป็นองค์ประกอบในสีกันเพรียงที่ใช้ทาเรือ นอกจากทำอันตรายต่อเพรียงแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในแหล่ง
น้ำด้วย
จากผลการวิจัยที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพศในหอยฝาเดียว จึงเป็นข้อบ่งบอกถึงสภาพของแหล่งน้ำในอ่าว
ปัตตานี อ่าวไทย และบริเวณช่องแคบมะละกาว่า มีสารเคมีเจือปนลงไปในปริมาณมากจนมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่เป็น
แหล่งอาหารของมนุษย์และระบบนิเวศน์ทางทะเล ดังนั้นการใช้สาร TBT ในสีกันเพรียงที่ใช้ทาเรือ จึงควรถูกจำกัด
ปริมาณให้ลดลง
รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่า หอยฝาเดียวเพศเมียหลายชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศนี้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า
ในอ่าวไทยมีปริมาณหอยที่เปลี่ยนแปลงเพศถึงร้อยละ 38 และการเปลี่ยนแปลงเพศนี้ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรและ
จากการศึกษายังไม่พบว่า มีการเปลี่ยนจากเพศผู้ไปเป็นเพศเมียแต่อย่างใด
******************
|