: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 0 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 04 2540
หัวข้อข่าว : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สานฝันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ
รายละเอียด :
                    ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ชี้แจงว่ามหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2510  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแหล่งวิชาการระดับสูงที่จะมีส่วน

ช่วยพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งมีลักษณะทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม  แตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ  

แต่ตลอดเวลา  30  ปีที่ผ่านมา  วิทยาเขตปัตตานีมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพียงระดับ

หนึ่งเท่านั้น  เนื่องจากการมีฐานะเป็นวิทยาเขต  ทำให้การจัดองค์กรและวิธีการบริหารไม่เอื้ออำนวยให้การปฏิบัติภารกิจได้อย่าง

เต็มที่

         ด้วยเหตุผลดังกล่าว  วิทยาเขตปัตตานีจึงสมควรที่จะยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ  หรือมหาวิทยาลัยเต็ม

รูปแบบ  เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจและเป็นที่พึ่งทางวิชาการของประชาชนหรือส่วนราชการต่าง  ๆ  ในจังหวัดชายแดนภาค

ใต้ได้อย่างเต็มศักยภาพ  ดังนั้นเมื่อวันที่  11  ธันวาคม  2539  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  รวม  17  ท่าน  จึงได้

ร่วมกันลงนามในบันทึกถึงนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เพื่อขอยกฐานะวิทยาเขตปัตตานีเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ  

มีความว่าจากการได้ศึกษาวิเคราะห์  ติดตาม  และมองปัญหาอุปสรรคทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคตแล้ว  มีความเห็นว่าหาก

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ยังคงอยู่ในรูปแบบปัจจุบัน  จะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคมากขึ้นในอนาคต  

อันจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่เจริญก้าวหน้าและเติบโตดังที่คาดหวัง  ทั้ง  ๆ  ที่ผู้บริหารระดับสูงของมหา-

วิทยาลัยหลายคน  ได้พยายามที่จะทำให้การบริหารจัดการของแต่ละวิทยาเขตเป็นอิสระ  มีประสิทธิภาพ  และพยายามจะให้

คงเป้าหมายเดิมเอาไว้คือ  ทุกวิทยาเขตอยู่ภายใต้สภามหาวิทยาลัยเดียวกันและอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอธิการบดีคนเดียวกัน  

เพื่อประโยชน์ในการประหยัดทรัพยากรของชาติ  แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ  ๆ  ที่ไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้

         ทั้งนี้ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากยกฐานะวิทยาเขตปัตตานีเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว  ประกอบด้วย

         ผลต่อท้องถิ่นและภูมิภาค

         ในทางการศึกษา  มหาวิทยาลัยจะเป็นแหล่งจัดการศึกษาและให้บริการการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อเยาวชน

โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง  ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อได้มากขึ้น  เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนในพื้นที่  

อีกทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการศึกษาลงได้เป็นจำนวนมาก  เมื่อเทียบกับการที่จะต้องเข้าไปศึกษาในภูมิภาคอื่นทั้งต่างประเทศ

         ในทางเศรษฐกิจ  มหาวิทยาลัยจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและภูมิภาคดังนี้

         -  มหาวิทยาลัยจะมีบทบาทสำคัญในการให้บริการความรู้และวิทยาการใหม่  ๆ  แก่ประชาชนในท้องถิ่นและภูมิ

ภาค  โดยเฉพาะการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ที่เข้ารับการอบรม  สามารถนำไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพเดิม

ให้มีผลผลิตและรายได้สูงขึ้น  ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นและภูมิภาคให้ดีขึ้น

         -  มหาวิทยาลัยจะเป็นสื่อกลางในการชักนำการลงทุนเชิงอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเข้ามาสู่พื้นที่ภาคใต้ตอน

ล่าง  อันจะก่อให้เกิดการสร้างงาน  การกระจายรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

         ในทางสังคม  มหาวิทยาลัยจะก่อให้เกิดผลดีทางด้านสังคมดังต่อไปนี้

         -  มหาวิทยาลัยจะนำสื่อทางด้านเทคโนโลยีและพัฒนาการทางด้านคมนาคมการสื่อสาร  อันจะเป็นการยกระดับ

ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

         -  มหาวิทยาลัยจะมีส่วนทำให้ประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงได้รับการศึกษาสูงขึ้น  อันจะเป็นกำลังสำคัญ

ในการพัฒนาสังคม

         -  มหาวิทยาลัยจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้  รวมทั้งการศึกษาวิจัยและ

เผยแพร่ไปสู่ชุมชน  อันจะส่งผลให้เกิดการตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  ทำให้เกิดความรักและ

ความภูมิใจ  ตลอดจนก่อให้เกิดความรักสามัคคีของคนในชาติและภูมิภาค

         ผลต่อประเทศชาติ

         การขยายงานของมหาวิทยาลัย  นอกจากจะเกิดประโยชน์กับท้องถิ่นและภูมิภาคแล้ว  ยังก่อให้เกิดประโยชน์โดย

รวมต่อประเทศชาติดังนี้

         -  สนองตอบความต้องการพัฒนากำลังคน  มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายในการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี  ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนและเป็นการรองรับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม  โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งโครงการพัฒนาภาคใต้ชายฝั่งตะวันออก  โครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ  (IMTGT)  ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

         -  สนองต่อต่อการวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยมีสำนักวิจัยและพัฒนา  โดยจะประสานงานกับคณะวิชาต่าง  ๆ  

ในการศึกษาค้นคว้าพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมใช้เองในประเทศ  ทำให้สามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  ซึ่ง

จะนำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างมั่นคงในอนาคต



                                                                                  ******************











โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-19 14:24:13 ]