รายละเอียด :
|
นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับงบร่วมแปดแสนบาทจากกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ให้ศึกษาวิจัยการจัดมาตรการและแผนการจัดการเพื่ออนุรักษ์ความ
หลากหลายทางชีวิตในพื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี จังหวัดปัตตานี
นายนุกูล รัตนดากุล หัวหน้าโครงการวิจัยการศึกษาเพื่อจัดทำมาตรการเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพใน
พื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงว่า
ลุ่มน้ำสายบุรีเป็นลุ่มน้ำหนึ่งของลุ่มน้ำฝั่งตะวันออกทางภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีพื้นที่ 2,710 ตารางกิโลเมตร มีความ
ยาว 184 กิโลเมตร สภาพพื้นที่จัดเป็นป่าบึงน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับน้ำของลุ่มน้ำต่าง ๆ และในอดีตป่าบึงดังกล่าวเคยเป็นแหล่ง
ทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำเลี้ยงพื้นที่นาและปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม
กระแสการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ในปัจจุบัน ทำให้พรุบึงจืดอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงและสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนา
ที่ไม่เข้าใจธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อวิถีชีวิตและสิทธิพื้นฐาน การเกิดปัญหามลพิษ น้ำท่วม และความแห้งแล้ง การพัง
ทลายของดิน และการตื้นเขินของแหล่งน้ำ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมกับการสูญหายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
การอพยพย้ายถิ่น การเกิดความขัดแย้งอันนำไปสู่ความแตกแยกและความไม่มั่นคงทางสังคม
สาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าวเป็นผลมาจากการพัฒนาที่ขาดความเข้าใจต่อธรรมชาติ ต่อชุมชนหรือวิถีชีวิตของ
ชุมชน และการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผน
ผู้วิจัยการศึกษาเพื่อจัดทำมาตรการเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี ได้กล่าวต่อว่าจาก
ความสำคัญดังกล่าวข้างต้น จึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางและแผนการจัดการในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ชีวภาพในพื้นที่วิกฤติ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจำนวนแปดแสนบาทจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวด
ล้อม ทั้งนี้จะใช้เวลาศึกษาวิจัยตลอดปี 2540 ซึ่งจะทำการศึกษาทางด้านทรัพยากรทางชีวภาพและวิถีชีวิตของชุมชนรอบพื้นที่ลุ่มน้ำ
สายบุรี โดยมีกลุ่มองค์กรชาวบ้านร่วมศึกษาวิจัยด้วย สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้รัฐได้จัดตั้งองค์การบริหาร
พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณลุ่มน้ำสายบุรี เพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่โดยตรง และยังทำให้รับรู้ถึงความต้องการของชุมชนเพื่อเป็น
แนวทางในการแก้ปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรีได้ถูกต้องต่อไป
********************
|