: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 9 ฉบับที่ 08 ประจำเดือน 08 2539
หัวข้อข่าว : บุคลากรเกษียณอายุราชการ
รายละเอียด :
                     เมื่อถึงสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี  ส่วนราชการต่าง  ๆ  ก็จะมีบุคลากรเกษียณอายุราชการ  ซึ่งท่านเหล่านี้ต่างก็ได้ใช้เวลาครึ่ง

ค่อนชีวิตทุ่มเทกำลังกายกำลังสติปัญญาให้กับงานในหน้าที่  จวบจนถึงเวลาที่ท่านจะได้ใช้ชีวิตใช้เวลาสำหรับตัวของท่านเองบ้าง  และเวลา

นี้ก็เป็นเวลาที่เราจะรำลึกถึงคุณูปการของท่าน

         ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  มีบุคลากรที่เกษียณอายุราชการในปีนี้รวม  6  ท่าน  ประกอบด้วย

         -  รองศาสตราจารย์วัน  เดชพิชัย  รองศาสตราจารย์  ระดับ  9  คณะศึกษาศาสตร์  

         วัน  เดือน  ปี  เกิด  7  ตุลาคม  2478

                    ภูมิลำเนาเดิม  ต. ท่าพญา  อ. ปะเหลียน  จ. ตรัง

                    การศึกษาสูงสุด  การศึกษาดุษฎีบัณฑิต  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร

                    ประวัติการทำงาน

                    2498          ครูโรงเรียนวัดน้อยใน  อ.ตลิ่งชัน  จ. ธนบุรี

                    2503          อาจารย์วิทยาลัยครูสงขลา  กรมการฝึกหัดครู

                    2510          ศึกษานิเทศก์  กองเผยแพร่การศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

                    2511 - ปัจจุบัน  อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                    หน้าที่อื่น  ๆ

                    2511 - 2516  หัวหน้าภาควิชาการศึกษา

         2517 - 2518  รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์

         2519 - 2520  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         2521 - 2522  ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสำนักเทคโนโลยีการศึกษา

         2527 - 2531  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

                           -  รองประธานสภาอาจารย์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                           -  กรรมการประจำคณะศึกษาศาสตร์

                           -  กรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย

                           -  กรรมการพัฒนามหาวิทยาลัย

                           -  กรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะศึกษาศาสตร์

                           -  กรรมการการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เขตการศึกษา  2

                           -  กรรมการการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  จ. ปัตตานี

                           -  กรรมการประจำวิทยาลัยครูยะลา

                           -  กรรมการสหวิทยาลัยทักษิณ

                           -  กรรมการที่ปรึกษาด้านการศึกษา  ศอ. บต.

                           -  กรรมการประจำสภาสถาบันราชภัฏยะลา

                                       ฯลฯ

         ข่าวศรีตรัง          :  มองพัฒนาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  อย่างไร

         รศ. วัน          :  ถ้าจะแบ่งเป็นยุคก็สามารถแบ่งได้เป็น  3  ยุคคือ  ระยะก่อตั้ง  ตั้งแต่ปี  2510  และเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ปี  

2511  ในระยะ  10  ปีแรกนี้เรียกว่าระยะก่อตั้ง  อาจารย์ในรุ่นแรกแต่ละคนทำหน้าที่หลายอย่างนอกจากงานสอนแล้ว  ต้องทำงานบริการ

ต้องพัฒนาอาคารสถานที่และที่สำคัญต้องสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวบ้านตำบลรูสะมิแลและชุมชนโดยรอบ

มหาวิทยาลัย  เพื่อให้เกิดการยอมรับและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  ระยะนี้เป็นระยะจัดระเบียบและข้อบังคับต่าง  ๆ  ในระยะแรกนี้วิทยาเขต

ปัตตานีมีคณะศึกษาศาสตร์เพียงคณะเดียว  จนกระทั่งในปี  2517  ก็ก่อตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และก่อตั้งสำนักงานอธิการบดี

         ยุคที่  2  ระหว่างปี  2520 - 2530  เป็นระยะที่เริ่มเข้าสู่ระบบแล้ว  เริ่มที่จะพัฒนาสามารถทำงานได้ตามแผนที่ชัดเจน  

ต่อมาปี  2528  ก็ได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นอีกคณะหนึ่ง  โดยแยกสาขาวิชาต่าง  ๆ  จากคณะศึกษาศาสตร์ไปจัดตั้งคณะ

ใหม่ขึ้น

         ยุคที่  3  ตั้งแต่ปี  2530  เป็นต้นมาเป็นการพัฒนาเชิงรุกทั่วประเทศตามนโยบายรัฐบาลและสอดคล้องกับการพัฒนาของมหา-

วิทยาลัย  เป็นระยะมองไปข้างหน้าเป็นการนำการพัฒนาไปสู่ประชาชน  ในระยะนี้วิทยาเขตปัตตานีก็ก่อตั้งวิทยาลัยอิสลามศึกษา  กระทั่ง

ปัจจุบันเราสามารถขยายวิทยาเขตไปได้ถึง  5  วิทยาเขต  เรามีวิทยาเขตปัตตานี  วิทยาเขตหาดใหญ่  วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  วิทยาเขตภูเก็ต  

และวิทยาเขตตรัง  ขณะนี้จังหวัดระนองก็กำลังเรียกร้องให้เปิดวิทยาเขตที่นั่นเช่นกัน  ภายใน  30  ปี  เราขยายการศึกษาไปครอบคลุมทั่ว

ภาคใต้

         ตามทัศนะของผมมองว่าพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นไปได้ด้วยดี  ภายใน  30  ปี  เรามีพัฒนาการที่ดีถ้า

มองในแง่ขององค์กรของรัฐ  ซึ่งหลายโครงการหลายสาขาเราสามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่น  ๆ  ได้และบางสาขาเราก็ล้ำหน้าหลาย  ๆ  

สถาบัน

         ข่าวศรีตรัง          :  ความประทับใจหรือความภาคภูมิใจที่มีต่อวิทยาเขตปัตตานี

         รศ. วัน          :  มีมากมายหลายเรื่องตั้งแต่เรื่องการบุกเบิกและพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยจากสภาพของหนองน้ำจากป่าพรุ  

การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน  ที่ประทับใจมากโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคณะศึกษาศาสตร์ก็คือเราสามารถพัฒนาการศึกษาในภาคใต้ได้อย่าง

รวดเร็วเช่น  การเปิดภาคสมทบหรือภาคค่ำ  เปิดโอกาสให้ข้าราชการที่กำลังทำงานอยู่ได้มาเรียนในตอนเย็น  ๆ  หรือเสาร์ - อาทิตย์  เป็นวิธี

เร่งให้ครูอาจารย์และข้าราชการได้รู้วิธีการบริหารงานวิธีสอนที่ถูกต้อง  ยกฐานะครูประจำการจากวุฒิ  ปกศ.  ให้เป็นบัณฑิตระดับปริญญาตรี

         นอกจากนี้ความภูมิใจที่ได้ร่วมผลักดันให้เปิดวิชาเอก  วิชาโทสาขาวิชาชีพทางการศึกษา  เดิมไม่มีมหาวิทยาลัยใดเปิดในระดับ

ปริญญาตรีหรือเปิดเป็นวิชาโทเลย  แต่เราเปิดเป็นแห่งแรกเช่น  การบริหารการศึกษา  จิตวิทยาการแนะแนว  บรรณารักษ์  หรือพลศึกษา  ความ

ประทับใจอีกประการหนึ่งก็คือ  การทำงานในมหาวิทยาลัยเขาเปิดโอกาสให้เราสร้างงานได้  ให้เรามีความคิดอิสระในการทำโครงการต่าง  ๆ  

แม้จะเหน็ดเหนื่อยแต่ก็อิ่มใจ

         ข่าวศรีตรัง          :  ชีวิตและงานหลังเกษียณอายุราชการ

         รศ. วัน          :  ผมยินดีที่จะช่วยงานสอนในคณะทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทต่อไป  หากมหาวิทยาลัยต้องการให้ช่วย  

ความคิดของผมก็ยังอยากทำงานด้านการบริการการศึกษาหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นงานสอนหนังสือหรือการไปช่วยอบรม

ให้แก่องค์กรหรือสถาบันต่าง  ๆ

         นอกจากนี้ในขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งให้ผมเป็นที่ปรึกษาในระดับภาคของโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งเป็น

โครงการของสหประชาชาติ  ซึ่งจะต้องไปช่วยงานในเขตการศึกษา  2, 3  และเขตการศึกษา  4  หลังจากนั้นถ้ามีโครงการในลักษณะนี้อีกก็ยินดี

ที่จะไปช่วย  นอกจากนี้ผมก็มีความคิดที่จะรับเป็นที่ปรึกษางานวิจัยรับประเมินโครงการรับฝึกอบรมในด้านการเรียนการสอน  โดยตั้งใจจะทำอยู่

ที่จังหวัดปัตตานีซึ่งแผนงานนี้อาจจะทำเป็นลักษณะของการกุศล

         ข่าวศรีตรัง          :  คติในการทำงาน

         รศ. วัน          :  จะทำอะไรต้องทำจริง  รับผิดชอบและทำให้ดีที่สุด

         -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยินดี  ศักดิ์เลิศวัชระ

         วัน  เดือน  ปี  เกิด  7  ตุลาคม  2478  อายุ  61  ปี

         ภูมิลำเนาเดิม  ต.ทับเที่ยง  (ต. บางรักเดิม)  อ.เมือง  จ.ตรัง

         ประวัติการศึกษา

         2494  ประกาศนียบัตรมัธยมปีที่  6  (ม. 6  เดิม)  โรงเรียนสตรีตรัง  "สภาราชินี"  (โรงเรียนสภาราชินีในปัจจุบัน)

         2500  ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม  โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์  (สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์

ในปัจจุบัน)  กรุงเทพฯ

         2507  ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม  (สมัครสอบ)

         2509  วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกียรตินิยมอันดับสอง)  สาขาคณิตศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         2512  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาคณิตศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         2519  Certificate  in  Modern  Methods  of  Teaching  Primary  Mathematics  จากการฝึกอบรมที่  

RECSAM  ประเทศมาเลเซีย

         ประวัติการรับราชการ

         2507  ครูโรงเรียนช่างกลปทุมวัน  (วิทยาลัยช่างกลปทุมวันในปัจจุบัน)  กรุงเทพฯ

         2517  อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         2526  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         2528  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลา-

นครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         2536  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         ตำแหน่งบริหาร / ประสบการณ์ในการทำงาน

         -  หัวหน้าแผนกวิชาคณิตศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์  (27  กันยายน  2520 - 31  ธันวาคม  2523)

         -  รองหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะศึกษาศาสตร์  (22  มิถุนายน  2522 - 31  กรกฎาคม  2523)

         -  หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะศึกษาศาสตร์  (1  พฤศจิกายน  2525 - 31  มีนาคม  2528)

         -  สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีให้กับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         -  สอนวิชาสถิติและเป็นกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  พิจารณาเค้าโครงวิทยานิพนธ์  และสอบวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษา

ระดับปริญญาโท  สาขาจิตวิทยาการศึกษา

         -  สอนวิชากลศาสตร์ให้กับนักเรียนโรงเรียนช่างกลปทุมวันและนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

         ความดีความชอบ

         -  ได้รับรางวัลความประพฤติเรียบร้อยจากอาจารย์ประจำตึก  โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์  พ.ศ. 2498

         -  ได้รับรางวัลช่วยเหลืองานโรงเรียนดีจากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์  พ.ศ. 2500

         -  ได้รับประกาศเกียรติคุณและโล่เกียรติยศจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ในการได้รับคัดเลือกเป็น

อาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ประจำปี  2534

         -  ได้รับประกาศเกียรติคุณ  "ผู้ชำนาญสาขาวิชาคณิตศาสตร์อุตสาหกรรม"  จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี  กรุงเทพฯ  ปี  2521

         ข่าวศรีตรัง          :  มองพัฒนาการของ  ม.อ. ปัตตานี  อย่างไร

         ผศ. ยินดี          :  ในอดีตนั้นทุกคนจะร่วมมือกันทำงานเพื่อส่วนรวมจนดึก  โดยไม่สนใจว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่  ทุกคน

ทำงานกันด้วยความเพลิดเพลิน  แต่ปัจจุบันการทำงานต่าง  ๆ  จะต้องมีค่าตอบแทน  ทุกคนทำงานกันด้วยน้ำใจลดน้อยลงไปมาก  ซึ่งเป็น

ที่น่าเสียดาย  สำหรับนักศึกษานั้นมีความเห็นว่าในอดีตนักศึกษาส่วนใหญ่มีความขยัน  และนักศึกษาส่วนน้อยไม่ค่อยมีความตั้งใจ  แต่ใน

ปัจจุบันนักศึกษาส่วนน้อยที่มีความขยันและสนใจการเรียน  ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจการเรียนเท่าที่ควร

         ข่าวศรีตรัง          :  ความประทับใจต่อวิทยาเขตปัตตานี

         ผศ. ยินดี          :  เนื่องจากพวกเราทำงานในวิทยาเขตปัตตานีและมีบ้านพักอยู่ในบริเวณเดียวกันกับมหาวิทยาลัย  ความผูกพัน

และความมีน้ำใจที่มีต่อกันจะเป็นสิ่งที่อาจารย์รู้สึกประทับใจมาก  เมื่อเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีธุระที่ต้องมีผู้ช่วย  เพื่อน  ๆ  ก็จะยื่นมือเข้ามา

ช่วยเหลือโดยไม่ต้องขอร้อง

         ข่าวศรีตรัง          :  ความผูกพันกับ  ม.อ.

         ผศ. ยินดี          :  มีโอกาสได้ทำประโยชน์ให้กับ  ม.อ.  ด้วยความภาคภูมิใจ  จึงมีความผูกพันกับ  ม.อ.  เป็นอย่างยิ่ง  มีความ

ผูกพันกับเพื่อนร่วมงานที่ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่ง  ทั้งในด้านการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว

         ข่าวศรีตรัง          :  ชีวิตและงานหลังเกษียณอายุราชการ

         ผศ. ยินดี          :  สอนวิชาคณิตศาสตร์ให้กับภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

วิทยาเขตปัตตานี

         ข่าวศรีตรัง          :  ข้อคิดในการทำงาน

         ผศ. ยินดี          :  "ทำงานด้วยความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา  และเสียสละ"

         -  นางจำรัส  จันทรสมุทร

         วัน  เดือน  ปี  เกิด  15  พฤษภาคม  2479  อายุ  60  ปี

         ภูมิลำเนาเดิม  อ.ทุ่งสง  จ. นครศรีธรรมราช

         การศึกษาสูงสุด  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนปากแพรก  อ. ทุ่งสง  จ. นครศรีธรรมราช

         ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  นักการฯ  สังกัดสำนักงานอธิการบดี  รับผิดชอบโรงเรียนสาธิต  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         ประวัติการทำงานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         2512  เป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักการฯ  มีหน้าที่แม่ครัว

         2513  ได้บรรจุเป็นลูกจ้างประจำ  ตำแหน่งนักการฯ  มีหน้าที่ทำความสะอาดอาคารและเดินหนังสือจนถึงปัจจุบัน

         ข่าวศรีตรัง          :  มองพัฒนาการของ  ม.อ. ปัตตานี  อย่างไรบ้าง

         นางจำรัส          :  สมัยก่อนกับปัจจุบันต่างกันมากคือ  สมัยก่อนนั้นบริเวณของมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยป่า  มีต้นสนมาก  แต่

ปัจจุบันนี้บริเวณมหาวิทยาลัยนั้นมีสวนหย่อมไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งมหาวิทยาลัย  ทำให้เป็นสถานที่พักผ่อนแก่คนภายนอกและภายใน  

บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่  อีกทั้งอาคารสถานที่ต่าง  ๆ  มีมากขึ้น  แต่ก็เป็นระเบียบได้สัดส่วน  ระบบการทำงานเช่นกัน  สมัยก่อนนั้นคนทำ

งานยังน้อยจึงทำงานกันแบบพี่แบบน้องพึ่งพากัน  ปัจจุบันคนทำงานมีมากขึ้น  ระบบการทำงานจึงทำในลักษณะตามหน้าที่

         ข่าวศรีตรัง          :  ชีวิตและงานหลังเกษียณอายุราชการ

                    นางจำรัส          :  หลังเกษียณอายุราชการคงทำอาหารขายหน้าบ้าน  ณ  บ้านเลขที่  148 / 150  ถ.โรงเหล้าสาย  ข  

ต.สะบารัง  อ.เมือง  จ.ปัตตานี

                    ข่าวศรีตรัง          :  จะฝากอะไรถึงบุคลากรมหาวิทยาลัยบ้าง

                    นางจำรัส          :  "ขอให้ทุกท่านตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาอย่างเต็มความสามารถ  ผลงานที่ออกมา

ก็จะได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน"

                    -  รองศาสตราจารย์วิสิทธิ์  จินตวงศ์  รองศาสตราจารย์  ระดับ  9  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                    วัน  เดือน  ปี  เกิด  19  กุมภาพันธ์  2478

                    ภูมิลำเนาเดิม  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช

                    การศึกษาสูงสุด  Master  of  Library  Science  จาก  University  of  the  Philippines

                    ประวัติการทำงาน

                    มกราคม  2500  ครูโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย  กรุงเทพฯ

                    พฤษภาคม  2507  อาจารย์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ  นครศรีธรรมราช

                    มิถุนายน  2510  บรรณารักษ์หอสมุดกลาง  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                    2518  อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                    กันยายน  2522 - ปัจจุบัน  อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์

                    ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  รองศาสตราจารย์  ระดับ  9  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                    ตำแหน่งหน้าที่ / ประสบการณ์ในการทำงาน

                    2516 - 2518  ผู้ช่วยหัวหน้ากองห้องสมุด  หอสมุดกลาง  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                    2523 - 2526  หัวหน้าหอสมุดกลาง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                    2524 - 2529  กรรมการบริหาร  สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

                    2525 - 2529  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                    2527 - 2529  ประธานชมรมสังคมศาสตร์ภาคใต้

                    2528 - 2531  กรรมการวิชาการสาขาสังคมวิทยา  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

                    2530 - 2532  ที่ปรึกษาสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

                    2534 - 2539  ผู้จัดการหลักสูตรปริญญาโท  สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์  บัณฑิตวิทยาลัย  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         ข่าวศรีตรัง          :  มองพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  อย่างไร

         รศ. วิสิทธิ์          :  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความได้เปรียบมหาวิทยาลัยของรัฐอีกหลายแห่งคือ  มีนามอันเป็นมงคลยิ่ง  

เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ  (Comprehensive  University)  จึงไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบเหมือน

มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง  ประกอบกับที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่เป็นเมืองหลักของภาค  กล่าวโดยรวมว่ามีพื้นฐานทางโครงสร้างและรูปแบบดี  

จึงเจริญก้าวหน้าไปได้  "เรื่อย  ๆ"  อย่างดียากที่จะหาความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยขนาดเล็กและขนาดกลางมาเทียบได้  แต่ก็ยากที่จะ

กล่าวว่ามีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่น  ตัวสร้างและตัวฉุดที่สำคัญเป็นปัจจัยเดียวกันคือ  บุคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยเอง  

มหาวิทยาลัยจึงควรพัฒนาปัจจัยนี้ในอัตราเร่งและอย่างต่อเนื่อง  เป็นงานท้าทายอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัยในก้าวถัดไป  ซึ่งมหาวิทยาลัยมี

ศักยภาพพอ  ปัจจัยชี้ขาดนี้คือการจัดการนั่นเอง

         ข่าวศรีตรัง          :  ความประทับใจที่มีต่อ  ม.อ.

         รศ. วิสิทธิ์          :  มีมากอย่างทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  ตัวบุคคล  และวัฒนธรรมองค์การ  เรื่องความประทับใจต่อสิ่งใด

สิ่งหนึ่งของมนุษย์มีปัจจัยมาจากอารมณ์เป็นส่วนใหญ่  ข้อเท็จจริงหรือสภาพความเป็นจริงขององค์การเป็นอีกส่วนหนึ่งและประสบการณ์

เกี่ยวกับองค์การนั้นเป็นปัจจัย  สรุปผมจึงมีความประทับใจ  ม.อ. มากอย่างทั้งเกียรติภูมิของ  ม.อ.  การยอมรับของชุมชนและสังคมบริการ

ทางวิชาการแก่สังคม  วิสัยทัศน์ที่เด่น  ๆ  ของผู้บริหารหลายคน  ความเสียสละของผู้ร่วมงานจำนวนมาก  ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยบวก

ผลักดันให้  ม.อ. เจริญก้าวหน้าต่อไป

         ข่าวศรีตรัง          :  ชีวิตและงานหลังเกษียณอายุราชการ

         รศ. วิสิทธิ์          :  ผมคิดว่าจะทำธุรกิจที่มุ่งหวังมานานแล้วแต่ยังไม่มีเวลาทำ  นั่นคือธุรกิจที่ปรึกษาการศึกษาต่อต่างประเทศ

หรือ  Counselling  Service  คือโดยทั่วไปผู้ที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ  ก็ต้องหาข้อมูลกันเอง  แต่ธุรกิจนี้จะเป็นการเตรียมข้อมูล

ด้านสถาบันที่นักศึกษาต้องการไปศึกษาต่อทั้งในข้อมูลของสถาบัน  เมือง  ประเทศ  การขอวีซาให้  ซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูก  (ราคานักเรียน)  

อาจรวมถึงการจัดหาที่อยู่ในต่างประเทศให้ด้วย  โดยผมไม่ต้องรับเงินจากผู้มาขอใช้บริการ  เนื่องจากสถาบันต่าง  ๆ  ในต่างประเทศจะ

จ่ายให้  10 - 20 %  ปัจจุบันธุรกิจนี้อยู่ในกรุงเทพฯ  ประมาณ  40  แห่ง  การที่จะดำเนินธุรกิจนี้ในภาคใต้ก็จะทำให้เด็กและผู้ปกครองไม่

จำเป็นต้องเดินทางไปหาข้อมูลหรือติดต่อกับบริษัทดังกล่าวถึงกรุงเทพฯ  แต่ในระยะ  2  ปีหลังเกษียณอายุแล้ว  ผมจะไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

เนื่องจากทั้งภรรยาและลูกจะไปศึกษาต่อที่นั่น  ผมก็มีแผนที่จะเดินทางไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยในอังกฤษและยุโรปด้วย  เพื่อเป็นการเตรียมรอง

รับธุรกิจอันนี้

         ข่าวศรีตรัง          :  คติในการทำงาน

         รศ. วิสิทธิ์          :  "จะทำงานใดก็ตาม  ให้ทำด้วยความมุ่งมั่นและอย่างต่อเนื่อง  ก็จะประสบผลสำเร็จ"

         -  อาจารย์ปัญญ์  ยวนแหล  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา  วิทยาเขตปัตตานี  อาจารย์  ระดับ  7

         วัน  เดือน  ปี  เกิด  22  เมษายน  2479

         ภูมิลำเนาเดิม  อ.เชียรใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช

         การศึกษาเบื้องต้น  จากโรงเรียนประชาบาลเชียรเขา  6  อ.เชียรใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช

         การศึกษาสูงสุด  ปริญญาโทการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ  จาก  Northern  Lowa  เมือง  Cedar  Falls  

U.S.A.

         ประวัติการทำงาน

         ธันวาคม  2505  ครูโรงเรียนศรียานุสรณ์  จ. จันทบุรี

         กรกฎาคม  2515  โอนมารับราชการ  ณ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         2518 - 2519  ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

         2519 - 2533  รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี  รวม  7  สมัย

         2533 - 2537  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง

         2537 - ปัจจุบัน  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา  (รับผิดชอบในการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและวิทยาเขตภูเก็ต  และดำรง

ตำแหน่งอาจารย์  ระดับ  7  สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

         หน้าที่อื่น  ๆ

         -  กรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

         -  ประธานองค์กรกลางเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคใต้ตอนล่าง  (รวม  2  ครั้ง)

         -  อุปนายกสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย  (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน)

         -  ประธานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยภาคใต้

         -  กรรมการสภาสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช

         ข่าวศรีตรัง          :  มองพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  อย่างไร

         อาจารย์ปัญญ์          :  ผมเข้ามาตั้งแต่มีคณะศึกษาศาสตร์เพียงคณะเดียว  แล้วต่อมาก็มีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  

ผมมองว่าในอนาคตเราควรจะมีคณะทางวิทยาศาสตร์อยู่ในวิทยาเขตปัตตานีด้วยคือ  ต้องการให้ทุกวิทยาเขตเป็น  Mini  University  

จึงผลักดันให้มีการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ถ้ามีเฉพาะด้านศึกษาศาสตร์และมนุษยศาสตร์  วิทยาเขตปัตตานีก็เป็นเหมือน

วิทยาลัยครู  การที่ผมอยู่ในตำแหน่งรองอธิการบดีวิทยาเขตถึง  13  ปี  ก็เพราะผมพยายามผลักดันให้มีสาขาวิทยาศาตร์  มีอาคารสถานที่  

พยายามกำกับดูแลให้เป็นไปตามแผนแต่ก็เป็นไปอย่างล่าช้า  อยากเห็นการบริหารมหาวิทยาลัยที่มีหลายวิทยาเขตอย่างมหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์  มีอธิการบดีที่ไม่ผูกติดอยู่กับวิทยาเขตใดวิทยาเขตหนึ่ง

         ผมมองพัฒนาการของวิทยาเขตปัตตานีว่า  เป็นไปในระดับปานกลางโดยเฉพาะในแผนฯ  7  เราแทบไม่ได้อะไรเพิ่มมาเลย

         ข่าวศรีตรัง          :  ความคาดหวังต่อวิทยาเขตปัตตานี

         อาจารย์ปัญญ์          :  ผมมองว่าวิทยาเขตปัตตานีทำให้เด่นได้ในหลายด้านเช่น  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านการยาง  

ประมง  ป่าชายเลน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทางด้านภาษาและภูมิภาคศึกษาเราต้องเด่น  นอกจากนี้เราควรจะมีศักยภาพทาง

ด้านข้อมูลจังหวัดชายแดนภาคใต้  เราต้องสามารถเสนอต่อรัฐบาลได้  คณะศึกษาศาสตร์ควรจะผลิตครูทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด่นให้ดัง  

ทั้งนี้ในทุกสาขาต้องสามารถเปิดให้ชาวต่างประเทศมาเรียนที่ปัตตานีได้  วิทยาลัยอิสลามศึกษาต้องทำให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาศาสนา

อิสลามอย่างแท้จริง  นอกจากนี้ต้องทำให้ชาวต่างประเทศมาเรียนศาสนาอิสลามที่ปัตตานีด้วย  เพราะปัตตานีเคยเป็นศูนย์กลางทางศาสนา

อิสลามมาแต่โบราณกาล

         เมื่อเราเน้นทางนี้ทางด้านกายภาพทางอาคารสถานที่ห้องแล็ปก็จะต้องมาเอง  ส่วนทางด้านอาจารย์อยากให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ

ผู้รอบรู้เกี่ยวกับภาคใต้  ทั้งมุสลิม  การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภาคใต้ด้วยการทำวิจัย เขียนตำรา  ส่วนนักเรียนนักศึกษาของวิทยาเขตปัตตานี  

อยากให้มีเอกลักษณ์ว่าเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง  มีวินัย  ซื่อสัตย์  สุจริต  และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

         ข่าวศรีตรัง          :  จะฝากอะไรถึงบุคลากรที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่บ้าง

         อาจารย์ปัญญ์          :  ต้องคิดอยู่เสมอว่า  ม.อ. ปัตตานี  จะเจริญก้าวหน้าได้ก็อยู่ที่เราทุกคนที่จะต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำช่วยกัน

ผลักดัน  เราจะหวังพึ่งมหาวิทยาลัยมาช่วยคิดให้ทำให้คงยาก

         ข่าวศรีตรัง          :  ชีวิตและงานหลังเกษียณอายุราชการ

         อาจารย์ปัญญ์          :  ยังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไร  ถ้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หรือหน่วยงานใดต้องการให้ช่วยทำงานด้านการ

ศึกษา  ก็ยินดีในขณะที่ยังมีกำลังอยู่

         -  อาจารย์ณรงค์  สถาวโรดม  อาจารย์  ระดับ  7

         วัน  เดือน  ปี  เกิด  15  มีนาคม  2478  อายุ  61  ปี

         ภูมิลำเนาเดิม  จ.พังงา

         การศึกษาสูงสุด  อักษรศาสตรบัณฑิต  (ประวัติศาสตร์)  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  อาจารย์  ระดับ  7  ภาควิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

         ประวัติการศึกษา  (จากสูงไปหาต่ำ)

         อักษรศาสตรบัณฑิต  (ประวัติศาสตร์)  ปี  2500 - 2504  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         ประโยคครูประถม  ปี  2497 - 2499  จากโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

         มัธยมศึกษา  ปี  2491 - 2496  จากโรงเรียนประจำจังหวัดพังงา

         ประวัติการรับราชการ

         1  ตุลาคม  2514  อาจารย์โท  คณะศึกษาศาสตร์  (สามัญ)  ระดับ  1

         1  ตุลาคม  2519  อาจารย์โท  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ระดับ  2

         1  ตุลาคม  2522  อาจารย์  ภาควิชาสังคมศาสตร์  ระดับ  5

         2  ตุลาคม  2525  อาจารย์  ภาควิชาสังคมศาสตร์  ระดับ  6

         1  ตุลาคม  2529  อาจารย์  ภาควิชาสังคมศาสตร์  ระดับ  7

         1  พฤษภาคม  2534  อาจารย์  ภาควิชาสังคมศาสตร์  (รักษาการตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ)  

ระดับ  7

         24  มิถุนายน  2538  อาจารย์  ภาควิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ  ระดับ  7

         ข่าวศรีตรัง          :  มองพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  อย่างไร

         อาจารย์ณรงค์          :  สังคมที่นี่เป็นสังคมที่มีการพัมนาไปอย่างรวดเร็วจากจุดเล็ก  ๆ  หรือสิ่งเล็ก  ๆ  เช่น  จำนวนคนน้อย  

ความมีน้ำใจ  ความห่วงหาอาทรกันในอดีตแต่ปัจจุบันเมื่อมีคนมากขึ้น  ความเจริญทางเทคโนโลยีเข้ามามากขึ้น  สิ่งที่เป็นไปในอดีตกลับ

น้อยลงแต่ก็มีอยู่  จึงมองว่าสังคมที่นี่เป็นสังคมที่มีความผสมผสานระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท

         ส่วนการพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านวิชาการหรือระบบการบริหารนั้น  ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาเขตถึงปัจจุบัน  "ผมมองว่าเป็น

การพัฒนาที่เป็นไปตามระบบราชการมากกว่า"

         ข่าวศรีตรัง          :  งานที่ภาคภูมิใจและประทับใจ  ณ  วิทยาเขตปัตตานี

         อาจารย์ณรงค์          :  ประทับใจและภูมิใจทุกอย่างที่ได้ทำ  แต่ที่มีความรู้สึกผูกพันคือเป็นงานที่เกี่ยวกับศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับ

ภาคใต้  หรือโครงการจัดตั้งสถาบันศิลปะและวัฒนธรรมในปัจจุบัน  เพราะถือว่าผมเป็นส่วนหนึ่งในรุ่นบุกเบิกให้มีศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับ

ภาคใต้ขึ้นมา  และเป็นงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเรียนการสอนในสาขาประวัติศาสตร์

         ข่าวศรีตรัง          :  ชีวิตและงานหลังเกษียณอายุราชการ

         อาจารย์ณรงค์          :  ผมคิดว่าจะทำธุรกิจอิสระที่ทำอยู่ได้ขณะนี้ให้เต็มที่นั่นคือ  ธุรกิจที่ปรึกษาการศึกษาต่อต่างประเทศ  ซึ่ง

เป็นงานที่เตรียมข้อมูลด้านสถาบันที่นักศึกษาต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศ  โดยผมจะได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทไม่ใช่จากนักศึกษา  

แต่ถ้ามหาวิทยาลัยต้องการให้ช่วยงานมหาวิทยาลัย  ก็ยินดีที่จะไปทำประโยชน์ให้ส่วนนั้น

         ข่าวศรีตรัง          :  จะฝากอะไรถึงบุคลากรวิทยาเขตปัตตานีบ้าง

         อาจารย์ณรงค์          :  ไม่อยากให้แต่ละคนทำหรือคิดแต่เรื่องการทำงานของตนเองอย่างเดียว  อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในสังคม  

ทำให้สังคมที่เราอยู่น่าอยู่เพราะถือว่าเป็นสังคมเมือง  ๆ  หนึ่ง  น่าจะสร้างความอบอุ่นใจ  ความเอื้ออาทร  ความมีน้ำใจต่อไป  "เราอย่าคิดว่า

โน้นเขานี้เรา"

         ข่าวศรีตรัง          :  คติในการทำงาน

         อาจารย์ณรงค์          :  ทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด  โดยไม่ยึดแต่อัตตาตน"



                                                                                         ******************

































โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-15 14:09:59 ]