: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 9 ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 01 2539
หัวข้อข่าว : นักวิจัย ม.อ. รายงานผลการวิจัยสังคมไทยมุสลิมกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคใต้
รายละเอียด :
                     เอกลักษณ์พิเศษที่เด่นชัดของสังคมมุสลิมคือ  ความใกล้ชิดของสังคมผ่านเครือข่ายศาสนาที่สามารถนำมาเป็นปัจจัย

ในการร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน  ทั้งนี้เพียงแต่ต้องการความเข้าใจและการสนับสนุนจากภาครัฐ

         ผศ. ดลมนรรจน์  บากา  อาจารย์วิทยาลัยอิสลามศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  หนึ่งในคณะ

ผู้ทำการวิจัยเรื่อง  ชาวไทยมุสลิมและการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  :  การศึกษาภาคใต้ตอนล่าง  ชี้แจง

ว่าเอกลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดของสังคมมุสลิมคือ  ความใกล้ชิดของสังคมมุสลิมผ่านเครือข่ายทางศาสนา  โยงใยจากระดับหมู่บ้านถึง

ระดับนานาชาติ  ความใฝ่รู้  ความเคร่งศาสนา  ความมีคุณธรรมจริยธรรมของชาวไทยมุสลิม  ตลอดจนโครงสร้างสังคมที่มีการ

กำหนดบทบาทหน้าที่ในสังคมอย่างชัดเจน  เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนา  ซึ่งในอดีตเอกลักษณ์

พิเศษของสังคมไทยมุสลิมมักถูกมองว่าเป็นอุปสรรค  ทำให้รัฐเข้าถึงได้ยากและการมองเช่นนี้ทำให้เป็นการยากที่จะเกิดความเข้าใจ

ซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐกับประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากภาครัฐไม่เข้าใจในวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนของสังคม

มุสลิม  และความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจของชาวมุสลิมต่อนโยบายการบังคับการปฏิบัติของภาครัฐ  ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความ

เข้าใจผิดและปิดกั้นการรับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นไปอีก  การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องเปลี่ยนทัศนคติ  โดยพยายามมองถึงโอกาส

จากเอกลักษณ์พิเศษของสังคมชาวไทยมุสลิม  ก็จะสามารถสร้างแนวร่วมในกระบวนการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน  และนำไปสู่

การพัฒนาอันเป็นประโยชน์ต่อประชากรส่วนใหญ่ต่อไป

         ผศ. ดลมนรรจน์  บากา  ผู้ทำการวิจัยได้สรุปแนวทางการพัฒนาจากการศึกษาเอกลักษณ์ของสังคมไทยมุสลิมไว้  4  

ด้านคือ  ประการแรก  ภาครัฐควรอบรมข้าราชการให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมให้เข้มขึ้น  ตลอดจนสนับสนุนให้ชาว

ไทยมุสลิมในพื้นที่มาเป็นข้าราชการ  โดยต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่าง  ๆ  เพื่อให้ชาวไทยมุสลิมสามารถปฏิบัติหน้าที่

ราชการได้  โดยไม่ขัดกับหลักการของศาสนา  ประการต่อมาควรให้การสนับสนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  โดยเฉพาะ

พิจารณาให้สามารถเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพได้เป็นกรณีพิเศษ  รวมถึงการใช้การศึกษาทางไกลเพื่อเสริมการศึกษาและใช้ประโยชน์

จากเครือข่ายมุสลิมในการสอนภาษาไทย  ทางด้านสาธารณสุข  ใช้หลักการของศาสนาอิสลามเป็นเครื่องชี้นำในการปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมสุขภาพและใช้ชุมชนในการดูแลปัญหาทางสังคมเช่น  ปัญหายาเสพติดและปัญหาโรคเอดส์  และประการสุดท้ายทาง

ด้านเศรษฐกิจ  ควรเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยมุสลิม  โดยศึกษาความเป็นไปได้ของการตั้งธนาคารอิสลาม  การจัดตั้ง

สหกรณ์ในรูปแบบที่สอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม  สนับสนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือน  เพื่อเป็นการกระจายงานให้

ชาวไทยมุสลิมโดยเฉพาะสตรี  ซึ่งชาวไทยมุสลิมจำนวนไม่น้อยยังคงต้องการให้สตรีอยู่ที่บ้าน



                                                                              ****************



โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-13 15:31:04 ]