: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือน 12 2538
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีอย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด :
                    นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน  เพื่อกำหนด

แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีพบว่า  ประชาชนส่วนใหญ่มีความต้องการให้ทางราชการปรับปรุงคุณภาพแหล่งน้ำ  กำหนด

เขตการทำประมงของเรืออวนรุนและอวนลาก  และควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนรอบอ่าวปัตตานี

         รศ. ครองชัย  หัตถา  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ผู้ทำวิจัยเรื่อง  "ความต้องการ

ของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี"  ชี้แจงว่าความต้องการใช้ที่ดินชายทะเลใน

ปัจจุบันมีสูงขึ้น  กิจกรรมต่าง  ๆ  เกิดขึ้นมากมายจนบางพื้นที่ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์โดยเฉพาะพื้นที่

รอบอ่าวปัตตานี  กิจกรรมแต่ละอย่างมีความต้องการและวิธีการใช้พื้นที่ต่างกัน  ในขณะเดียวกันมีของเสียที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมแตกต่าง

กันตามชนิดของกิจกรรม  ในการพัฒนาพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี  ควรจะต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่และจะต้องให้ความ

สำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  ทั้งนี้เพื่อให้การใช้ทรัพยากรของอ่าวและพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีเป็น

ไปอย่างเหมาะสมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

         รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่า  การศึกษาความต้องการของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณ

พื้นที่รอบอ่าวปัตตานี  ได้เน้นศึกษาประเด็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการด้านอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากอ่าว

ปัตตานี  เช่น  ที่ดินพื้นที่อ่าว  ป่าชายเลน  แหล่งน้ำ  รวมถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้องและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม  โดยได้ทำการศึกษา

กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งรอบอ่าวในเขตอำเภอเมืองและอำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ

ประมงเป็นหลัก

         จากการสำรวจความต้องการของชุมชนพบว่า  ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง  

มีความต้องการที่จะให้มีการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเรื่องคุณภาพน้ำอุปโภค - บริโภค  โดยเฉพาะน้ำบ่อและน้ำประปาหมู่บ้านมี

สนิมเหล็กและโลหะเจือปน  การปล่อยน้ำเสียและการทิ้งขยะของชุมชน  โรงงานอุตสาหกรรม  และสถานประกอบการรอบอ่าวปัตตานี  

ขาดการจัดการที่ดีทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งรอบอ่าวมีสภาพเสื่อมโทรม  นอกจากนั้นยังมีความต้องการให้เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ

ในอ่าว  ควบคุมการใช้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ  และกำหนดเขตในการทำประมงของเรืออวนรุนและอวนลาก  เพื่อมิให้ทรัพยากร

สัตว์น้ำลดลงมากกว่าปัจจุบัน

         นักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการสิ่ง

แวดล้อมที่ดีทั้งในระดับครัวเรือนและระดับหมู่บ้าน  เนื่องจากความเคยชินกับสภาพที่เป็นอยู่  ขาดความร่วมมือระหว่างชาวบ้าน  และ

ขาดผู้นำในการรณรงค์สิ่งแวดล้อม  สำหรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนมากเป็นความช่วยเหลือจากอนามัยตำบลใน

เรื่องสุขภาพและการรักษาความสะอาด  ส่วนปัญหาการให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น  ๆ  นั้นมีเป็นครั้งคราว  ขาดความต่อเนื่อง  จะ

ช่วยเหลือเฉพาะเมื่อประสบปัญหาเท่านั้น  สำหรับในด้านป่าชายเลน  ประชาชนเห็นว่ารัฐควรรักษาพื้นที่ป่าชายเลนไว้ให้ได้  ไม่ควร

เพิ่มหรือขยายการสัมปทานป่าชายเลน  ประกอบกับมีความต้องการที่จะปลูกป่าเพิ่มเติม  แต่ติดขัดที่ไม่มีที่ดินในการปลูกเป็นพื้นที่มาก

         รศ. ครองชัย  หัตถา  ผู้วิจัยเรื่องความต้องการของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่

รอบอ่าวปัตตานี  กล่าวเพิ่มเติมว่าการดำเนินการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการกำหนดแนวทางการใช้ทรัพยากร

ร่วมกันนั้น  จำเป็นต้องได้รับการยอมรับและตอบสนองจากชุมชน  ดังนั้นการศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน  จะ

ทำให้สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น  นอก

จากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นอีกด้วย



                                                                                         *****************











โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-13 15:23:40 ]