: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 8 ฉบับที่ 09 ประจำเดือน 11 2538
หัวข้อข่าว : นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี วิจัยใช้ยางธรรมชาติห่อหุ้มปุ๋ยยูเรีย เพื่อควบคุมการปลดปล่อยยูเรียในรูปไนโตรเจน
รายละเอียด :
              นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาวิจัยการผลิตยางธรรมชาติห่อหุ้มปุ๋ยยูเรียเพื่อใช้ในระบบควบคุม

การปลดปล่อย  ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารและปริมาณของปุ๋ยก่อนจะถึงระบบรากของพืช  เพื่อประโยชน์ในการเกษตรกรรมของประเทศ

              ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม  มีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตธัญญพืช  แต่การใช้ปุ๋ยโดยวิธีธรรมดานั้นมีประสิทธิ

ภาพต่ำ  ทั้งนี้พืชสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้เพียง  30 - 40  เปอร์เซนต์เท่านั้น  ส่วนที่เหลือจะเสียไปในรูปแอมโมเนียที่ระเหยได้  ถูกชะล้างโดยน้ำ  

โดยเฉพาะในฤดูฝนการถูกชะล้างจะรุนแรงมากขึ้นและปุ๋ยที่ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองหรือทะเล  อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย  เพราะ

ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูง  นอกจากทำได้โดยการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่ถูกต้อง  ใส่ตามโคนต้นเป็นจุด  ๆ  แล้ว  วิธีการที่มีประสิทธิภาพ

ที่ดีกว่าคือ  การควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างช้า  ๆ  ซึ่งสารที่ใช้เป็นตัวควบคุมการปลดปล่อยได้แก่  ขี้ผึ้ง  พาราฟินส์  กำมะถัน  

และพอลิเมอร์ต่าง  ๆ  เช่น  ยางสังเคราะห์  ยางธรรมชาติ  โดยเฉพาะยางธรรมชาติสามารถเป็นตัวควบคุมการปลดปล่อยที่ใช้ได้ดี

              รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  แจ้งว่านักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  

ได้ทำการศึกษาวิจัยการผลิตยางธรรมชาติห่อหุ้มปุ๋ยยูเรียเพื่อควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้ทรัพยากรของ

ประเทศที่มีอยู่  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการนำยางธรรมชาติไปห่อหุ้มปุ๋ยยูเรีย  โดยใช้เทคนิคทางด้านเทคโนโลยียาง  เพื่อควบคุมอัตราการ

ปลดปล่อยของปุ๋ยอย่างช้า  ๆ  แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีใช้ปุ๋ยโดยตรงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

              ผศ. ดร. ไพโรจน์  กลิ่นพิทักษ์  อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และ

หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง  การผลิตยางธรรมชาติห่อหุ้มปุ๋ยยูเรียเพื่อใช้ในระบบควบคุมการปลดปล่อย  เปิดเผยถึงการศึกษาวิจัยดังกล่าวว่าจาก

ผลการศึกษาในการควบคุมการปลดปล่อยหรือการเสื่อมสลายของปุ๋ยพบว่า  ยางธรรมชาติไม่สามารถนำมาห่อหุ้มปุ๋ยยูเรียได้โดยตรง  จำเป็นต้อง

ทำการผสมยูเรียในอัตรา  100 - 300  ส่วน  ในยางธรรมชาติ  100  ส่วน  และสารเคมีอื่น  ๆ  จากนั้นนำยางที่ผสมสารเคมีหรือยางคอมเปานด์

ไปอัดเบ้าด้วยเครื่องป้อนยางร้อน  ให้ออกมาเป็นเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  5.5  มิลลิเมตร  แล้วตัดตามยาว  10  เซนติเมตร  นำไปเคลือบ

ด้วยสารละลายยาง  3  เปอร์เซ็นต์  1 - 3  ชั้น  แล้วนำไปอบให้ยางแห้ง  จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแท่งกลมคล้ายดินสอ  ทั้งนี้การปลดปล่อยยูเรียจะ

มากหรือน้อย  ขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นในการเคลือบสารละลายยาง  3  เปอร์เซ็นต์  ด้วยจำนวนชั้นที่หนาเพิ่มขึ้นหรือเปอร์เซนต์เนื้อยางที่เคลือบผิว

เพิ่มขึ้น  อัตราการปล่อยยูเรียในรูปไนโตรเจนลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับยูเรียในรูปปกติ

              หัวหน้าโครงการวิจัยการผลิตยางธรรมชาติห่อหุ้มปุ๋ยยูเรียเพื่อใช้ในระบบควบคุมการปลดปล่อย  ได้กล่าวถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ

และสังคมว่า  การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาการใช้ยางธรรมชาติเป็นตัวห่อหุ้มปุ๋ยเพื่อควบคุมอัตราการปลดปล่อยปุ๋ย  ก่อนที่จะถึงระบบรากของพืชแทน

ที่จะให้ปุ๋ยยูเรียกับพืชโดยวิธีดั้งเดิมคือ  การใส่ปุ๋ยโดยตรงจะสูญเสียไปมากกว่าครึ่งก่อนที่จะถึงระบบรากของพืช  ซึ่งจะทำให้เกษตรกรลดค่าใช้

จ่ายเกี่ยวกับปุ๋ยและเป็นการลดการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ  จากการนำยางธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ดังกล่าวจะมีผลต่อเกษตรกรชาวสวนยาง  

ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตยางธรรมชาติห่อหุ้มปุ๋ยยูเรียในรูปแบบใหม่  เพื่อใช้แทนการใส่ปุ๋ยแบบปัจจุบัน.



                                                                                            *******************
โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-09 18:39:35 ]