รายละเอียด :
|
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนไทยมุสลิม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเปิดค่ายวิชาการส่งเสริมการศึกษาวิชาสามัญในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันจะส่งผลถึงการพัฒนา
ขีดความสามารถเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
รายงานข่าวจากสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่าโรงเรียน
เอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดภาคใต้ มีจำนวนมากที่เปิดสอนทั้งวิชาสามัญและวิชาศาสนาอิสลาม ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 - 6 เมื่อนักเรียนจบการศึกษาชั้นสูงสุดแล้วส่วนหนึ่งออกจากโรงเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพ โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ส่วนใหญ่จะศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จากการสำรวจและติดตามผลพบว่าจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เข้าศึกษา
ต่อในมหาวิทยาลัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่สิทธิโควต้าพิเศษมีจำนวนลดลง ทำให้นักเรียนที่จบจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พลาดโอกาส สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ นักเรียนเหล่านั้นต้องเรียนวิชาศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญ
ซึ่งไม่มีเวลาหาประสบการณ์และเพิ่มพูนความรู้วิชาสามัญหลัก นอกจากนี้นักเรียนเหล่านั้นยังไม่รู้ถึงแนวทาและวิธีศึกษาเล่าเรียนเพื่อจับ
ประเด็นสำคัญในบางรายวิชาที่ยุ่งยากและซับซ้อนได้
ผศ. วิรัช บุญสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เปิดเผยถึงการส่งเสริมการศึกษาวิชาสามัญในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น
สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการค่ายวิชาสามัญสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 5 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิชาสามัญให้กับนักเรียนได้มีโอกาสผ่านการสอบคัดเลือกแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยได้โดย
มีจำนวนมากเพิ่มขึ้น ประกอบกับเพื่อเป็นตัวอย่างของการส่งเสริมและการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา
อิสลาม ทั้งนี้มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 15 โรง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 378 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
จำนวน 190 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 223 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 315 คน รวมทั้งสิ้น 1,106 คน
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงสภาพและ
ปัญหาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ระดับความรู้ความสามารถของนักเรียนโรงเรียนเอกชน
สอนศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่า "ปอเนาะ" ไม่ทัดเทียมกับโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากมีความจำกัดเรื่องเวลาคือ โรงเรียนจะแบ่งการ
เรียนการสอนเป็น 2 ลักษณะ โดยในช่วงเช้าเป็นการเรียนด้านวิชาศาสนาและช่วงบ่ายเป็นการเรียนด้านวิชาสามัญ จึงทำให้การเรียน
วิชาสามัญซึ่งเป็นหัวใจหลักในการศึกษาระดับสูงต่อไป มีคุณภาพไม่ทัดเทียมกับโรงเรียนของรัฐ และนอกจากนี้จำนวนครูมีไม่เพียงพอ
กับความต้องการของนักเรียนและหลักสูตรวิชาที่เปิดสอน โดยเฉพาะครูในสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็น
วิชาสามัญหลักที่สำคัญในการสอนระดับสูงต่อไป
******************
|