: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 8 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2538
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี จัดประชุมเรื่อง อิทธิพลของอ่าวปัตตานีต่ออ่าวไทยตอนล่าง
รายละเอียด :
                    นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ  ฝึกทักษะการทำวิจัย

ทางสมุทรศาสตร์และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอ่าวปัตตานี  จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  อิทธิพลของอ่าวปัตตานีต่ออ่าว

ไทยตอนล่างทางด้านกายภาพ  เคมี  และชีวภาพ  ระหว่างวันที่  15 - 31  มีนาคม  2538

         รายงานข่าวจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  แจ้งว่าคณะ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับหน่วยงานต่าง  ๆ  อาทิ  คณะวิทยาศาสตร์  และสำนักวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์  กองกำกับการตำรวจน้ำปัตตานี  ศูนย์ศึกษาและการพัฒนา

พิกุลทอง  จังหวัดนราธิวาส  และกรมวิชาการเกษตร  กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  อิทธิพลของอ่าวปัตตานีต่ออ่าวไทย

ตอนล่างทางด้านกายภาพ  เคมี  และชีวภาพ  ในวันที่  15 - 31  มีนาคม  2538  เน้นการปฏิบัติการภาคสนามในอ่าวไทยตอน

ล่าง  ซึ่งรับผิดชอบโดยโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอ่าวปัตตานี  ซึ่งมีนายนุกุล  รัตนดากุล  อาจารย์คณะวิทยา-

ศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นหัวหน้าโครงการ

         นายนุกูล  รัตนดากุล  หัวหน้าโครงการฯ  ชี้แจงว่าอ่าวปัตตานีเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ  1  ใน  4  ของพื้นที่ชุ่มน้ำ

ที่สำคัญของทวีปเอเซียที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศวิทยา  และจากการที่อ่าวปัตตานี

ไม่ได้มีความหมายเฉพาะพื้นที่ในส่วนที่เป็นส่วนของตัวอ่าวเท่านั้น  แต่จะรวมไปถึงพื้นที่ข้างเคียงที่สัมพันธ์กันด้วย  เพราะการ

เปลี่ยนแปลงและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอ่าว  จะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงและปรากฏการณ์ที่เกิดจากพื้นที่ข้างเคียง  ดังนั้น

การอธิบายหรือทำความเข้าใจระบบนิเวศของอ่าวปัตตานี  จึงจำเป็นต้องเข้าใจระบบนิเวศของพื้นที่ข้างเคียงด้วย  ไม่ว่าจะเป็น

เรื่องของระบบกระแสน้ำ  การเปลี่ยนแปลงความเค็ม  การแพร่กระจายของตะกอน  อัตราการผลิตทางชีวภาพ  การวิเคราะห์หา

ชนิดและปริมาณของโลหะหนัก  เป็นต้น

         การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  อิทธิพลของอ่าวปัตตานีต่ออ่าวไทยตอนล่างทางด้านกายภาพ  เคมี  และชีวภาพนี้

จะเน้นขบวนการวิจัยทางสมุทรศาสตร์  โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น  2  ส่วนคือ  การปฏิบัติการภาคสนาม  ทำการเก็บตัวอย่างน้ำ  

ตะกอน  สิ่งมีชีวิตและวัดข้อมูลในพื้นที่  และการปฏิบัติการในห้องทดลอง  ทั้งนี้การปฏิบัติการภาคสนามได้รับความร่วมมือจาก

กองกำกับการตำรวจน้ำปัตตานี  ในการให้ความอนุเคราะห์เรือในการออกสำรวจเก็บตัวอย่างตามแนวสำรวจแรกระหว่างอ่าว

ปัตตานีถึงบริเวณส่วนลึกสุดกลางอ่าวไทยตอนล่าง  และแนวที่สองขนานกับแนวแรกระหว่างทะเลสาบสงขลาถึงบริเวณลึกสุด

กลางอ่าวไทยตอนล่างเช่นเดียวกัน



                                                                               *******************













โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-06 17:56:56 ]