รายละเอียด :
|
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เสนอร่างแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานีให้ภาครัฐและเอกชนพิจารณาในการสัมมนา
ก่อนปรับเป็นแผนฉบับสมบูรณ์ ชี้จังหวัดปัตตานีมีศักยภาพการลงทุนพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าสัตว์น้ำ การเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมง การผลิตอาหารที่มีเครื่องหมายฮาลาล และการท่องเที่ยว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผดุงยศ ดวงมาลา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงต่อ
สื่อมวลชนในโอกาสจัดสัมมนาการศึกษาและจัดทำแผนลงทุนจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมมายการ์เดนส์ จังหวัดปัตตานี
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2537 ว่าจากการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพ ข้อจำกัด โอกาส และทางเลือกในการลงทุนจังหวัดปัตตานี
แล้วสรุปได้ดังนี้
ศักยภาพ
วัตถุดิบ
- สัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำในปี 2536 ถึงกว่า 191,000 ตัน มูลค่าประมาณ 2,283 ล้านบาท
- ยางพารา เป็นอันดับที่ 9 ของภาคใต้ในปี 2534 ปริมาณผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 3 ของภาคใต้ ส่วนวัตถุดิบทาง
การเกษตรอื่น ปริมาณยังไม่มากพอ
ที่ตั้ง
- ตั้งอยู่ฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดอ่าวไทย
- ใกล้แหล่งประมงประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด
- เป็นจังหวัดแรกของ 3 จังหวัดชายแดน จึงสามารถเป็นตัวเชื่อมกับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนล่าง
และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
โครงสร้างพื้นฐาน
- เขตอุตสาหกรรม 1,436 ไร่ ที่หมู่ที่ 8 ตำบลบานา อำเภอเมือง
- ไฟฟ้าและประปา ค่อนข้างพร้อมและมีโครงการที่เป็นรูปธรรมแล้ว
ทรัพยากรท่องเที่ยว
- เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ ศาสนสถาน และวัฒนธรรม
- มีหาดทรายตามแนวชายฝั่งทะเลที่มีความสวยงามหลายแหล่ง
ข้อจำกัด
แรงงาน
- ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ (Skilled Labour) ระดับเทคนิค ระดับชำนาญการ และระดับผู้บริหารการจัดการ
- ปัญหาการปรับเปลี่ยนแรงงานจากภาคการเกษตรเป็นอุตสาหกรรม
โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
- ถนน ท่าเทียบเรือ ตลาดซื้อขายสัตว์น้ำ ยังไม่สามารถเสริมหรือสนับสนุนการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ได้อย่าง
สมบูรณ์
- การขนส่งทางบก โดยเฉพาะทางรถไฟ ยังไม่เพียงพอและยังไม่สะดวก
ด้านสังคม
- ความมั่นคง ปลอดภัย ภาพพจน์ยังเป็นลบ
สิ่งแวดล้อม
- การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ ส่งผลกระทบต่อระบบชีวิตสัตว์น้ำในอ่าวปัตตานีในทางลบ ส่งผลเสียต่อ
สังคมทั้งในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษยื
สิทธิประโยชน์และนโยบายของภาครัฐ
- ความล่าช้าในการติดต่อกับหน่วยของรัฐ รวมทั้งกฎระเบียบและขั้นตอนดำเนินการต่าง ๆ ยังไม่เอื้ออำนวยต่อ
นักลงทุนเท่าที่ควร
- นโยบายและโครงการของรัฐได้แก่ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ นักลงทุนยัง
ไม่ได้เห็นประโยชน์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก
โอกาส
- การพัฒนาเป็นศูนย์กลางสัตว์น้ำฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง
- การพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แบบอาชีพ
- การพัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมง
- การพัฒนาการผลิตอาหารที่มีเครื่องหมาย Halal กำกับ
- การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์
ทางเลือกในการพัฒนาการลงทุน
ประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องการประมง
- ระบบการซื้อขายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือปัตตานีมีประสิทธิภาพ ราคาสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยสูงกว่าที่อื่น
- มีเขตอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมง
- ตลาดสินค้าเกี่ยวกับประมงในต่างประเทศค่อนข้างกว้าง
- รณรงค์เกี่ยวกับการรักษาระบบนิเวศน์วิทยา เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำสำหรับธุรกิจประมงขนาดเล็ก
การเกษตรและปศุสัตว์
- การทำเกษตรแบบผสมผสาน
- ไม้ผล โดยเฉพาะลองกอง สามารถปลูกได้ดีที่ อ. ยะรัง
- การทำแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์
อุตสาหกรรมต่อเนื่องการเกษตร
- มีศักยภาพและโอกาสในการเป็นแหล่งผลิตอาหารมุสลิมเพื่อการส่งออก
- ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราและน้ำยางพาราได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ ที่นอนฟองน้ำ ยางอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
- โรงแรมชั้นหนึ่งที่ได้มาตรฐานสากลในเมืองปัตตานี โดยเน้นทิวทัศน์แม่น้ำปัตตานีและอ่าวไทย
- จัดทำการท่องเที่ยวแบบ Pachage Tour
- จัดทำการท่องเที่ยวแบบเน้นการชมศาสนสถาน วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณีของจังหวัด
อุตสาหกรรมก่อสร้างและผลิตวัสดุก่อสร้าง
- เป็นผลต่อเนื่อง การพัฒนาด้านประมง อุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยวและบริการ ถ้าอุตสาหกรรม
เพิ่มขึ้น การก่อสร้างที่พัก สำนักงาน และโรงแรม เป็นผลที่ตามมา
*****************
|