คณะหนังตะลุง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พร้อมให้บริการเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลป
วัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้
นายจรัส ชูชื่น เลขานุการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
หัวหน้าคณะหนังตะลุง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แจ้งว่าหน้าที่ความรับผิดชอบประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยคือการทำนุ
บำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีหลาย
วัฒนธรรมผสมผสานกันมาแต่โบราณ ดังนั้นสถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ให้การสนับสนุน
บุคลากรมหาวิทยาลัยในการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
หัวหน้าคณะหนังตะลุง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงต่อไปว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยที่
สนใจในการเล่นหนังตะลุงได้ร่วมกันตั้งกลุ่มหนังตะลุง เมื่อปี พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2530 ก็ได้ออกไปเล่นหนังตะลุง
ในงานวันผลไม้อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นครั้งแรกโดยยืมรูปและเครื่องดนตรีของหนังเฉลิม แก้วพิมพ์ ซึ่งเป็นบุคลากร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนกระทั่งในปี 2534 สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ให้
การสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อรูปหนังและเครื่องดนตรี และในปีเดียวกันคณะหนังตะลุง มหาวิทยาลัยฯ จึงได้ร่วมกับสถานี
ตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จัดสัมมนาการเล่นหนังตะลุงขึ้น โดยได้เชิญคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้
อาทิ หนังนครินทร์ หนังพร้อมน้อย ตะลุงสากล มาเป็นวิทยากร
จนกระทั่งในปี 2536 จึงได้ทำพิธีครอบมือซึ่งเป็นพิธีไหว้ครูของหนังตะลุง โดยหนังพร้อมน้อยตะลุงสากล
รับเป็นครู หลังจากนั้นคณะหนังตะลุงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้ชี่อว่า หนังจรัส ชูชื่น
ศ. พร้อมน้อยตะลุงสากล และได้ออกแสดงให้บริการแก่ส่วนราชการและประชาชนมาร่วม 50 ครั้ง โดยผู้สนใจที่ประสงค์
จะให้คณะหนังตะลุงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปแสดง สามารถติดต่อได้ที่สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นายจรัส ชูชื่น หัวหน้าคณะหนังตะลุง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าปัจจุบันเฉพาะจังหวัดปัตตานี
จังหวัดเดียวก็มีคณะหนังตะลุงถึงกว่า 10 คณะ แต่จำนวนลูกคู่มีจำกัดและจะหมุนเวียนกันเล่นให้กับหนังตะลุงคณะต่าง ๆ
ถ้าจะเล่นพร้อมกันก็สามารถเล่นได้เพียง 3 คณะเท่านั้น จึงอยากให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญกับลูกคู่หนังตะลุงบ้าง
อาจจะมีการจัดสัมมนาลูกคู่หนังตะลุงเหมือนกับที่เคยจัดสัมมนาศิลปิน นอกจากนี้หนังตะลุงคณะหนึ่ง ๆ ก็จะใช้ลูกคู่ประมาณ
15 คน ผู้ที่รับหนังตะลุงไปเล่นก็ควรจะช่วยดูแลรับผิดชอบในส่วนนี้บ้าง ก็จะเป็นการช่วยกันสืบสานงานศิลป์ให้คงอยู่สืบไป
******************
|