: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 7 ฉบับที่ 03 ประจำเดือน 03 2537
หัวข้อข่าว : นักวิจัย ม.อ. ปัตตานี นำประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นผลิตยากันยุงสมุนไพร
รายละเอียด :
                    นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  นำพืชในท้องถิ่นมาวิจัยผลิตยากันยุงสมุนไพร  

สรุปว่าผิวส้มเขียวหวานเป็นส่วนผสมของยากันยุงสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพมากกว่าพืชชนิดอื่น

         รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เปิดเผยว่าปัจจุบันความเจริญทางด้าน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง  ๆ  ก้าวหน้ามาก  ส่งผลให้มีการคิดค้นหาวิธีในการกำจัดยุงหลายวิธีเช่น  การใช้ยาฉีด  

ยาทากันยุง  และการใช้ยาจุดกันยุง  ซึ่งเป็นวิธีการเพื่อให้ได้ยากันยุงที่มีประสิทธิภาพ  ป้องกันยุงกันได้ดี  แต่บางชนิด

ประกอบด้วยสารเคมีที่ช่วยเพิ่มฤทธิ์หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุงและแมลง  แต่ค่อนข้างจะเป็นอันตรายต่อผู้

ใช้  เช่น  สารไพเรทธินท์  ไทรลีน  เคโรซีน  โดยมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วและหายใจไม่ออก  จากเหตุผลดังกล่าวคณะผู้

จัดทำวิจัย  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จึงศึกษาวิจัยผลิตยากันยุงสมุนไพร  โดยใช้ความก้าวหน้า

ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ผนวกกับสิ่งที่มีในธรรมชาติ  โดยนำพืชสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นที่สามารถหาได้ง่าย

และมีราคาถูก  แต่มีสรรพคุณในการไล่ยุงเช่น  ขิง  กระเทียม  ใบมะกรูด  ตะไคร้  ผิวส้มเขียวหวาน  ผิวมะนาว  และ

ใบกะเพรา  มาทำการศึกษาวิจัยเพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตยากันยุงสมุนไพร  ซึ่งพืชเหล่านี้มีน้ำมันหอมระเหยเป็น

ส่วนประกอบและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

         อาจารย์สุมาลิกา  เปี่ยมมงคล  อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี  หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยผลิตยากันยุงสมุนไพร  เปิดเผยว่าพืชทั้ง  7  ชนิดได้แก่  ขิง  กระเทียม  ใบมะกรูด

ตะไคร้  ผิวส้มเขียวหวาน  ผิวมะนาว  และใบกะเพรา  มีคุณสมบัติในการไล่ยุงและป้องกันยุงได้ทั้งหมด  แต่จากการ

ศึกษาวิจัยและทดลองพบว่า  ผิวส้มเขียวหวานเมื่อนำไปผสมกับขี้เลื่อยไม้เชียดบดละเอียด  (ซึ่งมีคุณสมบัติให้ส่วนผสม

เหนียวเกาะติด)  ร่อนรวมกันใส่แป้งเปียกและน้ำ  นวดให้เข้ากันจนเหนียว  นำมาคลึงเป็นเส้นกลม  ขนาด  1  ส่วน  4

นิ้ว  แล้วขดเป็นวงกลม  ต่อจากนั้นนำไปตากแดดจนแห้งสนิท  จะได้ยากันยุงสมุนไพรที่ดีที่สุดในแง่ของการเผาไหม้

การเกิดควัน  การเกิดกลิ่น  การไล่ยุง  และไม่เกิดอันตรายต่อผู้ใช้

         "ยากันยุงสมุนไพร  มีความยาว  4  นิ้ว  จะใช้เวลาในการเผาไหม้  60  นาที  ส่วนยากันยุงในท้องตลาด

ใช้เวลาการเผาไหม้เท่ากับ  57  นาที  ซึ่งสรุปได้ว่ายากันยุงสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการติดไฟพอ  ๆ  กับยากันยุงใน

ท้องตลาด  แต่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต"  อาจารย์สุมาลิกา  เปี่ยมมงคล  หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยผลิตยากันยุงสมุนไพร

กล่าวสรุป



                                                                            ****************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-01 14:33:28 ]