: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 7 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2537
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี และรัฐบาลฝรั่งเศส ศึกษาแหล่งเตาเผาโบราณในจังหวัดปัตตานี
รายละเอียด :
                   นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เร่งงานวิจัยศึกษาแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยโบราณ

บริเวณพื้นที่ชุมชนอ่าวปัตตานี  พบว่าเคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเตาเผาและเมืองท่าที่สำคัญ  ชี้ให้เห็นถึงสภาพชุมชน

ในอดีตของจังหวัดปัตตานี  ทั้งนี้ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลฝรั่งเศสในการศึกษาวิจัย

         อาจารย์จุรีรัตน์  บัวแก้ว  อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี  หนึ่งในคณะวิจัยศึกษาแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยโบราณในจังหวัดปัตตานี  เปิดเผยว่าโครงการวิจัยศึกษา

แหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยโบราณในจังหวัดปัตตานี  เป็นการวิจัยขั้นพื้นฐานเพื่อศึกษาสภาพทั่วไป  ที่ตั้ง  เทคนิคการก่อสร้าง  

และอายุของเตาเผาเครื่องถ้วยโบราณ  ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จะช่วยให้การศึกษาประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานี  

มีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น  ทั้งนี้โครงการวิจัยดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  และรัฐบาลฝรั่งเศส  ซึ่งได้สนับสนุนทุนวิจัยส่วนหนึ่ง  โดยมีระยะการทำวิจัย  5  ปี  ตั้งแต่เดือนธันวาคม  2536  

เป็นต้นไป

         การศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยซึ่งประกอบด้วย  นักโบราณคดี  นักประวัติศาสตร์  และนักภูมิศาสตร์  ได้เก็บข้อมูล

บริเวณพื้นที่เป้าหมายชุมชนอ่าวปัตตานีในเขตหมู่บ้านตันหยงลูโล๊ะ  บ้านบาราโหม  บ้านปาเระ  และบ้านดี  อำเภอเมือง  

จังหวัดปัตตานี  เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีหลักฐานทางโบราณคดีปรากฏอยู่กล่าวคือ  ค้นพบภาชนะดินเผา  ร่องรอยคูน้ำคัน

ดิน  และแหล่งเตาเผา  สำหรับขอบเขตการวิจัยจะครอบคลุมในเรื่องการแพร่กระจายของเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งโบราณ

คดี  การกำหนดอายุโบราณวัตถุ  รูปแบบและโครงสร้างของเตาเผา  ตลอดจนบทบาทเชิงเศรษฐกิจของเครื่องปั้นดินเผา

         ผู้ทำวิจัยเปิดเผยต่อไปถึงผลสรุปการศึกษาแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยโบราณในระยะที่  1  ว่ามีการค้นพบเตาเผา

จำนวน  3  เตา  บริเวณชุมชนบ้านดี  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  โดยเตาเผาที่  1  กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าเป็นเตาเผาสมัย

อยุธยาตอนต้น  เตาเผาที่  2  เป็นเตาเผาสมัยสุโขทัยตอนปลาย  และเตาเผาที่  3  เป็นเตาเผาสมัยอยุธยาตอนกลาง

         "จากการค้นพบบริเวณเตาเผา  จำนวน  3  เตา  จึงสันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวเคยเป็นชุมชนชาวจีน  ซึ่งมี

อาชีพทำภาชนะดินเผา  จนกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเตาเผาที่สำคัญในแหลมมาลายู  เนื่องจากมีหลักฐานหลายอย่างที่บ่ง

บอกถึงการผลิตเพื่อใช้ภายในท้องถิ่นและส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศ  กล่าวคือพบเศษภาชนะเครื่องถ้วยในบริเวณแหล่ง

เตาเผาทั้ง  3  แหล่งเป็นจำนวนมาก  นอกจากนี้ยังสำรวจพบว่ามีเส้นทางคมนาคมทางน้ำจากบริเวณอ่าวไทย  ตัดผ่านเข้ามา

ในบริเวณที่พบเตาเผาและผ่านเข้าไปยังบริเวณท่าใหญ่  (กาแลบือซา)  ซึ่งเป็นชื่อคลองในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  

และเป็นท่าสำหรับจอดเรือขนถ่ายสินค้าที่สำคัญในอดีต  ทั้งนี้มีการค้นพบเศษภาชนะ  เครื่องถ้วยตลอดแนวคลอง  รวมทั้ง

เหรียญของชาติต่าง  ๆ  เช่น  จีนและเปอร์เซีย  หลักฐานเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเตาเผาและ

ศูนย์กลางการค้าของจังหวัดปัตตานีที่สำคัญในอดีต"  อาจารย์จุรีรัตน์  บัวแก้ว  หนึ่งในคณะวิจัย  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวสรุป



                                                                                *******************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-04-29 16:59:02 ]