รายละเอียด :
|
มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย ให้ทุนการศึกษา 10 ทุน แก่ผู้เข้าอบรมโครงการอบรม
เข้มครูภาษาอาหรับและวัฒนธรรมอาหรับ ซึ่งวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะภาษา
อาหรับซึ่งเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอนวิชาศาสนาอิสลามแก่ครูผู้สอนวิชาภาษาอาหรับและวิชาศาสนาอิสลามในโรงเรียน
เอกชนสอนศาสนาอิสลาม มัสยิด และสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม 2536
ดร. อิสมาแอ อาลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยถึงความสัมฤทธิ์ผล
ของการจัดโครงการอบรมเข้มครูสอนภาษาอาหรับและวัฒนธรรมอาหรับ ซึ่งวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย จัดขึ้นภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของกษัตริย์แห่งราชอาณาจักร
ซาอุดิอารเบีย ทั้งในด้านงบประมาณที่ใช้ในการจัดอบรมและวิทยากร ซึ่งเป็นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ
ประเทศซาอุดิอารเบีย ซึ่งจัดอบรมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม 2536 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี ว่าได้รับความสำเร็จเป็นอย่างมากและหลังจากการอบรมเข้มดังกล่าวเสร็จสิ้นลงแล้ว มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ
ได้คัดเลือกผู้เข้าอบรมที่สอบได้คะแนนดีเยี่ยม 10 ท่าน จากผู้เข้าอบรมทั้งหมด 72 คน ให้ได้รับทุนเข้าศึกษาต่อ ณ
มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย
การให้ทุนการศึกษาในครั้งนี้ ถือเป็นนโยบายหนึ่งของมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ ในการให้ทุนนักศึกษา
ต่างประเทศ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ในคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮคือ คณะ
อักษรศาสตร์อาหรับและวรรณกรรม, กุรอาน, ฮะดีษ (วจนะของท่านศาสดา), ซารีอะฮ (นิติศาสตร์อิสลาม) และดะวะฮ
(การออกเผยแพร่ศาสนา)
นอกจากนี้ ผศ. ผดุงยศ ดวงมาลา รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ได้เปิดเผยว่าโครงการอบรมเข้มครูสอน
ภาษาอาหรับและวัฒนธรรมอาหรับนี้ เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศที่สำคัญและนับเป็นโครงการนำร่อง
โครงการแรกระหว่างสถาบันทั้งสอง และเชื่อว่าจะมีโครงการต่อเนื่องจากโครงการนี้อีก เนื่องจากประเทศซาอุดิอารเบีย
เป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลาม เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมอิสลามและอารยธรรมอาหรับ มีความก้าวหน้าเป็นต้นแบบ
ที่ประเทศต่าง ๆ ที่สอนวิชาศาสนาและภาษาอาหรับ ต้องการศึกษาและรับการถ่ายทอดภาษาอาหรับ นอกจากนี้เป็นภาษา
หลักในการศึกษาศาสนาอิสลามของมุสลิมทั่วโลกแล้ว ยังเป็นภาษาหนึ่งของสหประชาชาติและประเทศที่นับถือศาสนา
อิสลาม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร การธุรกิจ
นับว่าเป็นภาษาหนึ่งของโลกที่สำคัญยิ่งและจากพื้นฐานความสัมพันธ์ครั้งนี้ จะเป็นฐานขยายความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
ประเทศไทยกับประเทศซาอุดิอารเบีย ให้ฟื้นคืนและมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นดังเช่นอดีตและจะพัฒนายิ่งขึ้นในอนาคตด้วย
*****************
|