ทบวงมหาวิทยาลัย อนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยียางและ
พอลิเมอร์ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2536 ที่ผ่านมา เพื่อผลิตบัณฑิตรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรม
ยางและพอลิเมอร์ภายในประเทศ
ผศ. ผดุงยศ ดวงมาลา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงถึงการจัดตั้งภาค
วิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ซึ่งสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าเป็นโครงการที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดิมหลักสูตรเทคโนโลยีการยางอยู่ใน
แผนกวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ เปิดสอนและรับนักศึกษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ผลิตบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีการยาง
มาแล้ว 3 รุ่น จำนวน 42 คน แต่ก็ยังไม่เป็นที่เพียงพอแก่ความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมยางและพอลิเมอร์
ประกอบกับขอบข่ายและความรับผิดชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีการยางได้เพิ่มขึ้น จึงได้เสนอจัดตั้งเป็นภาควิชา โดยมีเป้า
หมายหลักในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการยาง ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิต
ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการยาง ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านนี้เป็นแห่งแรกในประเทศ
ไทย และรับผิดชอบให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนการสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาเทคโนโลยียางของวิทยาลัย
ชุมชนภูเก็ต รวมทั้งให้การสนับสนุน การศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของยางธรรมชาติ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาด้านเทคโนโลยีพอลิเมอร์ต่อไป และเป็นแหล่งผลิตผลงานทางวิชา
การด้านต่าง ๆ การจัดหลักสูตรฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์แก่โรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศ ตลอด
จนให้คำปรึกษา บริการข้อมูล และบริการการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แก่หน่วยงานรัฐและเอกชน
รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ได้กล่าวเสริมว่าทางศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้เห็นความสำคัญและศักยภาพ
ของโครงการจัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้จัดตั้งหน่วย
ปฏิบัติการเครือข่ายทางโลหะและวัสดุขึ้นที่ แผนกวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในเก้าสถาบันเครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถและความ
ชำนาญของสถาบันที่มีความพร้อมทางบุคลากรและพื้นฐานวิทยาการ และเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนางาน
รวมทั้งให้บริการเทคโนโลยีเฉพาะสาขาที่มีความชำนาญแก่บุคลากรของสถาบันเครือข่ายทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศต่อไป
*****************
|