: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 03 ประจำเดือน 03 2536
หัวข้อข่าว : ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเลใช้เป็นอาหารสัตว์ปีกได้ดี
รายละเอียด :
                    นักวิจัย ม.อ. พบว่าผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเลพืชท้องถิ่นแถบชายฝั่งทะเล  สามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์ปีกได้ดี

และทำให้สีไข่แดงเข้มขึ้น

         อาจารย์สมศักดิ์  เหล่าเจริญสุข  จากภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ผู้ทำวิจัยเรื่อง  การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเล

ในอาหารนกกระทาไข่  เปิดเผยว่าปัจจุบันอาชีพการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพที่มีความสำคัญของเกษตรกรไทย  อาหารสัตว์เป็นปัจจัย

สำคัญมากต่อการเลี้ยงสัตว์  ดังนั้นการค้นคว้าหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดใหม่ที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น  จึงเป็นแนว

ทางในการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ได้

         จากการที่จังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล  พืชที่งอกได้ดีเป็นพืชทนดินเค็มที่พบได้

มากได้แก่  ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเล  เกษตรกรบางรายได้นำผักเบี้ยทะเลมาใช้เป็นอาหารโคกระบือในช่วงที่หญ้าขาดแคลน  

สำหรับผักบุ้งทะเลนั้นยังไม่ได้มีการนำมาใช้ในอาหารสัตว์  ซึ่งหากสามารถใช้ได้ดีและมีผลให้เกษตรกรมีวัตถุดิบอาหารสัตว์

ชนิดใหม่  สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ปีกและเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวและเตรียมได้เองในพื้นที่  ซึ่งจะเป็นการ

ลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์  ถ้าพืชท้องถิ่นนี้สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อย่างแพร่หลายและมีตลาดรับซื้อ  เกษตรกรในแถบชาย

ฝั่งทะเลก็สามารถจะนำไปจำหน่ายต่อไปได้  จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรทางหนึ่งด้วย

         การวิจัยการใช้ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเลเป็นอาหารสัตว์ปีกในครั้งนี้  วิธีที่  1  ได้เตรียมผักเบี้ยทะเลโดยเก็บ

รวบรวมจากบริเวณอ่าวปัตตานี  นำมาหั่นเป็นชิ้นขนาดเล็ก  ตากหรืออบแห้ง  จากนั้นนำมาบดละเอียด  วิธีที่  2  นำผักบุ้งทะเล

มาหั่น  ตากหรืออบและบดละเอียด  และวิธีที่  3  นำผักเบี้ยทะเลมานึ่งประมาณ  20  นาที  ก่อนนำไปตากหรืออบแห้ง  แล้วนำ

ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเลที่เตรียมไว้แต่ละวิธี  นำมาผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งได้แก่  ข้าวโพด  รำละเอียด  กากถั่วเหลือง  

ปลาป่น  และเปลือกหอยป่น  เป็นต้น

         จากผลการทดลองนำสูตรอาหารแต่ละวิธีมาเลี้ยงนกกระทาไข่  พันธ์ญี่ปุ่นอายุ  10  สัปดาห์  จำนวน  320  ตัว

ติดต่อกันนาน  98  วัน  เปรียบเทียบกับสูตรอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของผักบุ้งทะเลและผักเบี้ยทะเล  ปรากฏว่าสูตรอาหารที่ใช้

ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเลในอาหารนกกระทา  จะเปียกแฉะกว่าพวกที่ใช้สูตรอาหารอื่น  สรุปได้ว่าผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเล

สามารถนำมาตากหรืออบ  แล้วนำไปลดให้ละเอียดสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้  นอกจากนี้ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้ง

ทะเลมีปริมาณโปรตีนใกล้เคียงกับข้าวโพดและมีปริมาณไนตรเจนฟรีเอกแทรกต์สูง  โดยผักเบี้ยทะเลสามารถใช้แทนข้าวโพด

ในอาหารนกกระทาไข่ได้  5 %  และถ้านำไปนึ่งนาน  15 - 20  นาที  จะสามารถใช้ได้สูงขึ้นถึง  10 %  ส่วนผักบุ้งทะเล

สามารถใช้ในอาหารนกกระทาไข่ได้  10 %  โดยไม่มีผลกระทบต่อการผลิตไข่  คุณภาพไข่  การกินอาหารและอัตราการตาย  

แต่ผักเบี้ยทะเลและผักบุ้งทะเลเป็นพืชที่ทำแห้งได้ยาก  การตากแดดต้องใช้เวลานานประมาณ  1  สัปดาห์  ถ้าอบในตู้อบอุณหภูมิ

ประมาณ  70  องศาเซลเซียส  ใช้เวลานานประมาณ  4 -5  วัน  จึงจะแห้งและบดได้



                                                                                      *****************



โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-04-21 13:19:08 ]