: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2536
หัวข้อข่าว : โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับ Washington State University
รายละเอียด :
                   ความเป็นมหาวิทยาลัยสากล  (Internationalization)  เป็นนโยบายหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

เพื่อเปิดโลกทัศน์ของอาจารย์และนักศึกษาและก้าวเข้าสู่ชุมชนโลก  กิจกรรมหนึ่งที่เกี่ยวกับนโยบายนี้คือ  โครงการความ

ร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับ  Washington  State  University  (WSU)  โดย  

WSU  ได้ส่งนักศึกษา  9  คน  มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และวิทยาเขตหาดใหญ่  รวม

ระยะเวลา  3  เดือน  ตั้งแต่วันที่  9  มกราคม - 8  เมษายน  2536

         ดร. นฤมล  กาญจนทัต  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ  ได้ให้สัมภาษณ์รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือ

ดังกล่าวดังนี้

         -  ความเป็นมาของโครงการ

         โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับ  WSU  เริ่มขึ้นโดยอาจารย์ชาว

ไทยที่สอนประจำอยู่ที่  WSU  ซึ่งได้มาค้นคว้าระหว่างลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่คณะวิทยาการจัดการ  วิทยาเขตหาดใหญ่

และได้หารือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านธุรกิจนานาชาติหรือ  International  Business  และทราบว่าทาง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้จัดการเรียนการสอนด้านภาษาและวัฒนธรรมแก่นักศึกษาญี่ปุ่น

และเกาหลีอยู่แล้ว  จึงได้แนวความคิดในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเสนอแก่  WSU  หลังจากนั้นทาง  WSU  จึงติดต่อมา

ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และท่านอธิการบดี  รศ. ดร. ศิริพงษ์  ศรีพิพัฒน์  ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือในโครง

การดังกล่าว  นักศึกษารุ่นแรกจาก  WSU  จำนวน  9  คน  เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี  กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่  3

และชั้นปีที่  4  มาศึกษาที่วิทยาเขตปัตตานี  ตั้งแต่วันที่  13  มกราคม - 23  กุมภาพันธ์  2536  รวมระยะเวลา  45  วัน

หลังจากนั้นก็จะไปศึกษาต่อที่วิทยาเขตหาดใหญ่  เป็นเวลา  45  วัน  เช่นเดียวกัน

         -  รายวิชาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสอน

         นักศึกษาจาก  WSU  ทั้ง  9  คน  ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในหลายสาขาวิชา  อาทิ  ธุรกิจประวัติศาสตร์  

หรือเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เป็นต้น  นักศึกษาเหล่านี้สมัครใจที่จะมาศึกษาเรียนรู้หาประสบการณ์จากโลกภายนอกโดย

เฉพาะต่างประเทศ  พวกเขาต้องการมาเมืองไทย  เพราะนอกเหนือจากวิชาการแล้ว  เมืองไทยยังมีศิลปวัฒนธรรมขนบ

ธรรมเนียมประเพณีที่น่าศึกษาอีกด้วย  ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย  แบ่งเป็น  2  ช่วงคือ  ช่วงที่มา

ศึกษาที่คณะมนุษยศาสตร์ฯ  วิทยาเขตปัตตานี  วิชาที่จัดให้เรียนคือ  ภาษาไทย  ประวัติศาสตร์  สังคม  การเมืองการ

ปกครอง  ตลอดจนด้านศิลปวัฒนธรรมและศาสนา  สำหรับช่วงที่ศึกษาอยู่ที่คณะวิทยาการจัดการ  วิทยาเขตหาด

ใหญ่  ก็สอนด้านธุรกิจ  การจัดการและภาษาไทย

         -  งบประมาณหรือค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการนี้

         ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนว่า  โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง  ม.อ. กับ  WSU  ในการ

ส่งนักศึกษามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยนั้น  เป็นความสมัครใจของนักศึกษาเองที่จะมา  โดยผ่านการติดต่อและทำความตกลง

กันระหว่างมหาวิทยาลัย  โดยค่าใช้จ่ายต่าง  ๆ  ในการเดินทางมาศึกษา  ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร  ค่าหน่วยกิต  ค่าอุปกรณ์

การเรียนต่าง  ๆ  หรือค่าเดินทางเพื่อทัศนศึกษา  นักศึกษาเป็นผู้จ่ายเอง  สำหรับด้านที่พัก  ทางมหาวิทยาลัยได้ติดต่อ

ชาวปัตตานีและบุคลากรของมหาวิทยาลัย  ขอให้ช่วยรับให้อยู่ด้วยหรือเป็น  Host  Family  ค่าใช้จ่ายที่ทาง  WSU  

ส่งมาให้เราทั้งวิทยาเขตหาดใหญ่และวิทยาเขตปัตตานี  เป็นเงิน  17,000  ดอลล่าร์  หรือประมาณ  4  แสนกว่าบาท  

คิดเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับนักศึกษาคนละประมาณ  4  หมื่นกว่าบาท

         -  ความคาดหวังของมหาวิทยาลัยต่อโครงการ

         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง  ก็ต้องการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสากลหรือ  Inter-

nationalization  ซึ่งนโยบายหนึ่งของมหาวิทยาลัย  เพื่อเปิดโลกทัศน์ของอาจารย์และนักศึกษาให้มีมุมมองและทัศนะ

ที่กว้างและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโลก  ได้สัมผัสกับบุคคลต่างวัฒนธรรม  เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีกับชาว

ต่างประเทศ  รวมทั้งพัฒนาวิชาการให้ได้ระดับสากล

         ในส่วนของทาง  WSU  เอง  ก็ต้องการให้นักศึกษาของเขาศึกษาหาความรู้จากต่างประเทศ  เนื่องจาก  

WSU  เองเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค  ตั้งอยู่ที่เมืองเล็ก  ๆ  ของอเมริกา  ถึงแม้อเมริกาจะเป็นประเทศที่เปิด  แต่นักศึกษา

เหล่านั้นก็ยังมีความรู้เกี่ยวกับประเทศอื่น  ๆ  โดยเฉพาะซีกโลกตะวันออกน้อย  ไม่ค่อยได้สัมผัสโลกภายนอกหรือวัฒนธรรม

โลกอื่น  ๆ  เลย  ดังนั้นจุดนี้ทาง  WSU  ก็ต้องการให้นักศึกษาของเขาได้รู้จักเข้าใจและสามารถปรับตัวเข้าได้กับคนต่าง

ชาติ  ต่างภาษา  ต่างวัฒนธรรม  และเป็นเพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ที่ส่งมาเป็นนักศึกษาในสาขาวิชาธุรกิจ  และมาจาก

สังคมที่ค่อนข้างให้ความสำคัญด้านวัตถุธรรม  เมื่ออยู่ต่างบ้านต่างถิ่นอาจจะต้องปรับให้มีความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม

บ้าง  อย่างไรก็ตามนักศึกษาจะสามารถปรับตัวได้มากน้อย  ขึ้นอยู่กับลักษณะแต่ละบุคคล

         -  โครงการอื่น  ๆ  ที่เป็นความร่วมมือทางวิชาการ

         สำหรับวิทยาเขตปัตตานีของเรา  โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานีหรือจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่างที่มีจุดเด่นใน

ด้านสังคม  วัฒนธรรม  ภาษา  ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะต่างจากภาคอื่น  ๆ  ของไทย  ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจจุดหนึ่งและใน

ช่วงเดือนมีนาคมนี้  ก็จะมีโครงการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการระหว่าง  ม.อ.  กับ  Simon  Fraser  University  (SFU)  

ประเทศแคนาดา  โดย  SFU  จะส่งอาจารย์และนักศึกษามาศึกษา  ฟังบรรยาย  และทัศนศึกษาตามมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  

มหิดล  และ  ม.อ.  สำหรับที่วิทยาเขตปัตตานี  อาจารย์และนักศึกษา  จำนวน  21  คน  จาก  SFU  จะเดินทางมาศึกษา

ระหว่างวันที่  22 - 26  มีนาคม  2536  นี้  และเราคิดว่าโครงการต่าง  ๆ  ในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเรื่อย  ๆ  ทั้งนี้เพื่อ

ประโยชน์ในการพัฒนาวิชาการและความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยต่อไป



                                                                               ********************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-04-21 12:53:38 ]