ละครโทรทัศน์เรื่อง "มนต์รักทักษิณ" เป็นแผนงานหนึ่งของโครงการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ของ ศอ. บต. โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้รับผิดชอบ ได้รับรางวัลพิเศษ "ส่งเสริมการพัฒนาภาคใต้"
จากการประกวดโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2536
ผศ. ผดุงยศ ดวงมาลา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เปิดเผย
ถึงบทละครโทรทัศน์ที่ได้รับรางวัลพิเศษ "ส่งเสริมการพัฒนาภาคใต้" ว่า การจัดทำละครดังกล่าวเป็นแผนงาน
การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมความเข้าใจของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต.) เป็นแผน
งานหนึ่งในโครงการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 3 ในช่วงปี 2508 - 2530 ที่ผ่านมา โดยทาง
ศอ. บต. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง วิทยาเขตปัตตานี)
ร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 10 หาดใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์ และกองประชาสัมพันธ์ของ
ศอ. บต. เป็นผู้รับผิดชอบและได้เผยแพร่ออกอากาศเป็นครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 10 หาดใหญ่
สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ให้บริษัท
โอบเอื้อ จำกัด เป็นผู้ผลิตละครโทรทัศน์ "มนต์รักทักษิณ" ความยาว 50 ตอน ๆ ละ 25 นาที บทละครโทรทัศน์
เขียนโดย นางแสงอรุณ กาญจนรัตน์ และกำกับการแสดงโดย นายอดุลย์ ดุลยรัตน์ ผู้ร่วมแสดงนำคือ นายเสกสรร
ชัยเจริญ นางสาวอนุสรา จันทรังษี นายเป็นหนึ่ง ไชยชิต และนางสาวสุกัญญา นาคประดิษฐ์ ได้นำมาเผยแพร่ออก
อากาศเป็นครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 10 หาดใหญ่ ภายหลังได้นำไปเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์
ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และได้รับรางวัลพิเศษ "ส่งเสริมการพัฒนาภาคใต้" จากการจัดงานโทรทัศน์ทองคำ
ครั้งที่ 7 ประจำปี 2536
เนื้อเรื่องย่อของละคร "มนต์รักทักษิณ" เป็นเรื่องของหญิงสาวที่หนีชีวิตจากกรุงเทพฯ มาทำงานรับ
ใช้ชาติด้วยอุดมการณ์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาชนบท โดยอาสาเป็น "ครูอาสาพัฒนาชนบท" ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ
ของชาวมุสลิมแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี และพยายามสร้างความสัมพันธ์ ศึกษา ทำความเข้าใจถึงภาษา ประเพณี
วัฒนธรรม เอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น และความเป็นอยู่ของชาวบ้านตลอดมา จนสามารถเข้ากับชาวบ้านได้ดีและ
เรื่องราวของปลัดอำเภอหนุ่มที่ย้ายเข้ามารับตำแหน่งในหมู่บ้านดังกล่าว ที่ไม่เข้าใจลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นอย่าง
ถ่องแท้ ทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานและบ่อยครั้งที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดในการทำงานระหว่างครูสาวกับ
ปลัดอำเภอ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ขึ้นคือ มีพ่อค้าและนักลงทุนจากกรุงเทพฯ มาติดต่อกว้านซื้อที่ดินของชาวบ้าน
เพื่อทำรีสอร์ท ทำให้ครูสาวและปลัดอำเภอมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะรณรงค์ให้ชาวบ้านไม่หลงเชื่อพวกพ่อค้าและ
ร่วมมือกันต่อต้าน และให้ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอันสมบูรณ์ที่มีอยู่ ทำให้พ่อค้าไม่พอใจที่
ทั้งสองคนขัดผลประโยชน์ของตน จึงวิ่งเต้นเพื่อย้ายปลัดอำเภอออกจากพื้นที่ เพื่อที่ตนจะทำงานได้สะดวกและคล่อง
ตัวขึ้น แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะทั้งข้าราชการและชาวบ้านในหมู่บ้านออกมาประท้วงต่อต้าน ต่อมาพ่อค้าก็ใช้วิธี
รุนแรงส่งมือปืนไปสังหารปลัดอำเภอ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ภายหลังแผนการต่าง ๆ ก็ถูกเปิดเผยพ่อค้าก็ถูกจับกุม
ตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อเหตุการณ์ร้ายแรงผ่านพ้นไป ทำให้ปลัดอำเภอเข้าใจข้อเท็จจริงและสถานการณ์ต่าง ๆ
ของพื้นที่มากขึ้น ทำให้ทั้งครูสาวและปลัดอำเภอและชาวบ้าน ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้านกลับสู่สภาพสงบร่มเย็น
เช่นเดิม
******************
|