รายละเอียด :
|
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนารุ่นแรก
9 บ่อ ได้กุ้งกว่าสี่หมื่นกิโลกรัม จำหน่ายได้กว่า 7 ล้านบาท
ตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ดำเนินโครงการทดลองสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชายฝั่ง โดยการเลี้ยงกุ้งแบบธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี 2530 - 2534 ได้เปลี่ยนวิธี
เลี้ยงเป็นแบบกึ่งพัฒนาและตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ได้ปรับโครงการเป็นโครงการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่คณาจารย์ นักศึกษา เป็นสถานที่ทดลอง สาธิต และเผย
แพร่ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่ผู้สนใจ ใช้เป็นที่ปฏิบัติตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด ตลอดจนเพื่อหารายได้โดยใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
วิทยาเขตปัตตานี ได้ดำเนินการปรับปรุงดัดแปลงโครงสร้างนากุ้งระบบไฟฟ้าและจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้ง
แต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2535 ในพื้นที่ 100 ไร่ โดยแบ่งเป็นบ่อเก็บน้ำ 3 บ่อ พื้นที่รวม 46 ไร่, บ่อเลี้ยง
9 บ่อ พื้นที่รวม 43 ไร่ และบ่อน้ำเสีย 2 บ่อ พื้นที่รวม 11 ไร่ และได้ปล่อยกุ้งลงเลี้ยงเมื่อวันที่ 25 และ 26 สิงหาคม
2535 รวม 2,358,000 ตัว โดยนักศึกษาวิชาเอกเทคโนโลยีการประมงเป็นผู้ปล่อยกุ้ง โดยใช้งบประมาณดำเนินการใน
การเลี้ยงกุ้งครั้งนี้เป็นค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าจ้างเจ้าหน้าที่และคนงาน ตลอดจนค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่าย
อื่น ๆ รวมเป็นเงิน 4,156,449.19 บาท ใช้เวลาเลี้ยงกุ้งประมาณ 140 วัน ได้ขนาดกุ้งประมาณ 31 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม
รวมน้ำหนัก 44,531 กิโลกรัม จำหน่ายได้เป็นเงิน 7,747,440.02 บาท กำไรสุทธิ 3,590,990.86 บาท
จากการดำเนินการเลี้ยงกุ้งแบบดังกล่าว มหาวิทยาลัยยังได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา
จึงได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขเรื่องการปล่อยน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงก่อนปล่อยลงทะเล ได้กักเก็บไว้ในบ่อเก็บน้ำเสียรวม 2 บ่อ
ในพื้นที่ 11 ไร่ คิดเป็น 25.22 % ของพื้นที่บ่อเลี้ยงทั้งหมด น้ำเสียที่กักเก็บไว้ก่อนปล่อยลงทะเล ก็ต่อเมื่อความขุ่นของ
น้ำอยู่ในระดับ 40 - 50 ซม. จึงจะปล่อยลงทะเลและจะปล่อยเฉพาะน้ำส่วนบนตลอดเวลา โดยให้ไหลผ่านร่องน้ำที่มีความ
ยาวประมาณ 1,000 เมตร เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนจะลงสู่ทะเล และถ้าน้ำมีปริมาณออกซิเจนต่ำกว่าระดับ
3 ppm ก็จะทำการเพิ่มออกซิเจนในน้ำก่อนปล่อยลงสู่ทะเล ในส่วนของโคลนเลนก้นบ่อหลังจากจับกุ้งเรียบร้อยแล้ว จะใช้
วิธีตากบ่อเมื่อแห้งแล้วจึงขุดลอกขี้เลนดังกล่าวไปถมพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย ผลพลอยได้จากโครงการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบ
พัฒนาคือ น้ำที่รั่วซึมจากบ่อเก็บไหลผ่านแปลงปลูกป่าชายเลนของมหาวิทยาลัย ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตดีกว่าปกติ เพราะ
มีน้ำหล่อเลี้ยงทุกฤดู
********************
|