: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 01 2536
หัวข้อข่าว : ผลการทดลองใช้น้ำมันปาล์มเตรียมสารเร่งน้ำยางพาราตามโครงการพระราชดำริ
รายละเอียด :
                     อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ประสบความสำเร็จในการวิจัยทดลองใช้น้ำมันปาล์มดิบ  น้ำมันปาล์มเปรี้ยว  

และไขสบู่  เตรียมสารเร่งน้ำยางพาราตามโครงการพระราชดำริ

         รองศาสตราจารย์  ดร. นพรัตน์  บำรุงรักษ์  หัวหน้าโครงการทดลองการใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์มดิบเพื่อเตรียม

สารเร่งน้ำยาง  ได้เปิดเผยว่าตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก

ตามแนวพระราชดำรินั้น  ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ประสบคือ  การจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบเพราะปริมาณที่ผลิตได้มีน้อย  และ

ต้องเก็บรักษาไว้หลายวันก่อนนำส่งโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์  ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จึงทรงมีพระราชดำริให้

ทดลองใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าวในด้านอื่น  รวมทั้งการนำไปทดลองเตรียมสารเร่งน้ำยางพาราด้วย  สำหรับการใช้

สารเร่งน้ำยางพารานั้น  ศูนย์วิจัยการยางสงขลา  เคยทำการทดลองแต่มีปัญหาหลายประการในขณะนั้น  จึงไม่เป็นที่นิยมและที่ใช้

กันอยู่ในปัจจุบันก็ใช้เร่งน้ำยางในต้นยางแก่พร้อมที่จะโค่นทิ้งเพื่อปลูกยางใหม่เท่านั้น  ในขณะที่บางประเทศใช้กับยางใหม่ที่เริ่ม

เผิดกรีดกันเลยทีเดียว  ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมีความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารที่เหมาะสม  ความถี่ในการทา  พันธุ์ยาง  เวลาที่ควรใช้  

ตลอดจนตำแหน่งที่จะทาด้วย  นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมได้แก่  ความชื้นในอากาศ  ความชื้นในดิน  อุณหภูมิ  ชนิดดิน  และปริมาณ

ปุ๋ยที่เพียงพอจะมีผลต่อการใช้สารเร่งน้ำยางด้วย

         จากการศึกษาเป็นเวลานาน  9  ปี  ของสถาบันวิจัยยางประเทศมาเลเซีย  โดยใช้ระบบกรีดครึ่งต้น  วันเว้นวันและ

ใช้สารเร่ง  พบว่ายางบางพันธุ์จะให้น้ำยางน้อยลงในปีหลัง  ๆ  แต่เมื่อเว้นระยะวันกรีดให้ห่างออกไป  โดยกรีดทุกสามวันผลผลิต

จะดีขึ้น  ในขณะที่ยางบางพันธุ์การแบ่งหน้ากรีดออกเป็นสี่ส่วนแล้วใช้สารเร่ง  จะให้ผลผลิตน้ำยางใกล้เคียงกับการแบ่งลำต้นออก

เป็นสองส่วนแต่ไม่ใช้สารเร่ง  โดยวิธีนี้จะประหยัดเปลือกกรีดได้มาก  ทำให้อายุของต้นยางยืนยาวขึ้นอีก  ส่วนในประเทศไววอรี่-

โคสต์  ทวีปอัฟริกาพบว่าการกรีดยางแบบรอบลำต้นจะได้ผลผลิตใกล้เคียงกับการกรีดเพียงครึ่งต้น  ในระบบกรีดทุกสามวันหาก

ใช้สารเร่งเข้มข้นร้อยละ  5  ทาปีละ  4  ครั้ง  ในอดีตที่ผ่านมาการเตรียมสารเร่งน้ำยางได้กระทำโดยผสมตัวยาเอทธีฟอน  

(ethephon)  หรืออีเทรล  ในน้ำและน้ำมันพืชชนิดต่าง  ๆ  เพื่อค้นหาสารที่มีลักษณะเหนียวกว่ายึดติดลำต้นยางได้ดี  ซึ่งพบว่า

ขณะนี้น้ำมันปาล์มดิบเป็นที่นิยมของชาวสวนในบางประเทศ

         ในการวิจัยโดยร่วมมือของสำนักวิจัยและพัฒนากับคณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ที่

สถานีทดลองเทพา  จังหวัดสงขลา  เพื่อศึกษาผลของการใช้สารเร่งน้ำยางในน้ำมันปาล์มดิบกับสวนที่เปิดกรีกใหม่ที่ปลูกยาง

พันธุ์  RRIM  600  ในปีแรกใช้สารเอทธีฟอนผสมกับน้ำมันปาล์มดิบทาเหนือรอยกรีด  พบว่าต้นยางที่กรีดโดยใช้สารเร่งให้

ผลผลิตเนื้อยางเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้สารเร่งเลยประมาณร้อยละ  64  ในระบบกรีดครึ่งต้นทุกสามวันและในกลุ่มที่ใช้สาร

เร่งด้วยกันนั้น  ต้นยางที่ใช้สารเร่งที่ความเข้มข้นร้อยละ  5  ทา  6  ครั้งต่อปี  มีแนวโน้มว่าให้ผลผลิตเนื้อยางสูงกว่าต้นที่ใช้

สารเร่งร้อยละ  2.5  ทา  8  ครั้งต่อไป  โดยไม่พบอาการผิดปกติของต้นยางแต่ประการใด  สำหรับการทดลองในปีที่สองกับ

สวนเดียวกัน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ทดลองเพิ่มเติมโดยใช้น้ำมันปาล์มดิบที่มีกรดไขมัน

อิสระสูง  (น้ำมันปาล์มเปรี้ยว)  และไขสบู่  (soap  stock)  ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการลดกรดในอุตสาหกรรม

น้ำมันปาล์มและเป็นส่วนผสมสารเร่งน้ำยาง  โดยอุ่นให้ลดความหนืดก่อนผสมพบว่า  เมื่อใช้สารเอทธีฟอนผสมร้อยละ  5  

ทาเหนือรอยกรีดทุกเดือน  ผลผลิตเนื้อยางแห้งรวมตลอดเวลา  6  เดือน  ของสารทั้งสองชนิดอยู่ในระดับใกล้เคียงกันและ

ไม่แตกต่างจากการใช้น้ำมันปาล์มดิบปกติ  จึงแสดงว่าทั้งน้ำมันปาล์มเปรี้ยวและไขสบู่  สามารถใช้แทนน้ำมันปาล์มดิบได้  

ซึ่งจะเป็นผลดีเพราะจะได้ใช้ประโยชน์จากของเสีย  และบางฤดูกาลน้ำมันปาล์มดิบหายากหรือมีราคาแพง  อย่างไรก็ตาม

เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตเนื้อยางแห้งตลอดช่วงกรีด  โดยใช้น้ำมันปาล์มเปรี้ยว  ความเข้มข้นสารเร่งร้อยละ  5  (กรีดครึ่งต้น

วันเว้นสองวัน)  กับการกรีดโดยวิธีของรัฐ  (กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน)  แล้วปรากฏว่าผลผลิตอยู่ในระดับใกล้เคียงเช่นกัน  

(55  ก.ก. ต่อ  10  ต้น)  ส่วนการใช้สารเร่งน้ำยางที่มีความเข้มข้นร้อยละ  2.5  และ  1.5  ในระบบกรึดครึ่งต้นวันเว้นสอง

วันนั้น  จะได้ผลผลิตน้อยกว่า  อนึ่งปริมาณของสารเร่งที่ใช้ทาแต่ละครั้งนั้นมีน้ำหนักประมาณ  1  กรัม  หรือ  1  ลบ. ซม.

         ในปีที่สามได้ขยายผลการทดลองดังกล่าวไปยังภาคอีสาน  โดยการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการอีสาน

เขียว  กับส่วนยางใหม่พันธุ์เดิม  โดยได้แบ่งหน้ากรีดออกเป็นสามส่วน  ที่อำเภอละหานทราย  จังหวัดบุรีรัมย์  ปรากฏว่า

ผลการทดสอบในเวลา  2  เดือนแรกนั้น  น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มเปรี้ยว  (สารเร่งร้อยละ  5  กรีดทุกสามวันหรือ

ร้อยละ  2.5  กรีดทุกสองวัน  ทาเหนือรอยกรีดทุกเดือน)  ให้เนื้อยางสูงกว่าวิธีของชาวสวน  (แบ่งสามส่วนกรีดทุกสองวัน)  

ประมาณร้อยละ  45  และเมื่อกรีดครบ  6  เดือน  ชาวสวนมีความพอใจในวิธีใหม่นี้  จากผลการทดลองทั้งหมดอาจสรุปได้

ว่า  ระบบกรีดยางพาราโดยใช้สารเร่งน้ำยางผสมกับน้ำมันปาล์ม  (ปาล์มดิบ  ปาล์มเปรี้ยว  หรือไขสบู่)  เป็นวิธีที่ควรให้

ความสนใจอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยในขณะนี้  เพราะจะช่วยประหยัดเปลือกยางทำให้กรีดยางได้นานขึ้น  ยังช่วยลด

วันกรีดลง  ตลอดจนช่วยลดจำนวนคนกรีดที่กำลังหายากได้อีกด้วย



                                                                          *******************

โดย : 203.154.179.22 * [ วันที่ 2001-04-18 09:49:33 ]