: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 11 2535
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ทำวิจัยผลิตแบริ่งเพลาเรือจากยางธรรมชาติเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
รายละเอียด :
                     คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ประสบความสำเร็จ

ในการพัฒนาสูตรยางและเทคโนโลยีการผลิตแบริ่งเพลาเรือจากยางธรรมชาติ  เป็นรายแรกของประเทศไทย  เพื่อใช้

แทนแบริ่งไม้ที่ใช้อยู่ในเรือประมงในปัจจุบัน

         ผศ. ปรีชา  ป้องภัย  อาจารย์สังกัดโครงการจัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  ชี้แจงว่าโครงการ

นี้ได้รับทุนอุดหนุนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมประจำปี  

2535  จำนวน  383,800  บาท  เพื่อทำวิจัยและพัฒนาการผลิต  "cutless  bearing"  (ซึ่งเป็นแบริ่งเพลาเรือชนิดที่

ไม่ทำให้เพลาเรือสึกหรอ)  ของเรือประมงจากยางธรรมชาติ  เพื่อใช้แทนแบริ่งที่ทำจากไม้มะขามว่า  สามารถคิดค้นและ

ได้สูตรยางที่เหมาะสมสำหรับใช้ทำเปลือกนอกและยางบุภายในของแบริ่งเรือประมง  อีกทั้งสามารถผลิตแบริ่งต้นแบบ

เพื่อการทดสอบคุณสมบัติและประสิทธิภาพการใช้งานในห้องปฏิบัติการแล้ว  ผลการทดสอบชั้นต้นปรากฏว่า  แบริ่งยาง

มีความแข็งแรง  ความยืดหยุ่นดี  และมีความต้นทานการสึกหรอ  รวมทั้งมีอายุการใช้งานดีกว่าแบริ่งไม้มาก  โดยไม่ทำ

ให้เจ้าของเรือประมงต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเปลี่ยนแบริ่งบ่อย  ๆ

         แบริ่งต้นแบบที่ผลิตขึ้นเป็นแบริ่งที่ทำจากยางธรรมชาติล้วน  โดยเปลือกนอกที่ต้องการความแข็งแรงทำ

จากยางแข็งที่เรียกว่า  ยางอิโบไนต์  ผิวในที่รองรับเพลาเรือ  ทำจากยางที่ยืดหยุ่นและทนทานต่อการสึกหรอได้ดี  เนื่อง

จากถูกออกแบบให้มีระบบการหล่อลื่นด้วยน้ำ  ผลการทดสอบชั้นต้นชี้ให้เห็นว่าแบริ่งชนิดนี้นอกจากจะมีอายุการใช้งาน

ยาวนานกว่าแบริ่งไม้แล้ว  ยังจะช่วยลดการสั่นสะเทือนและเสียงดังภายในเรือลงได้ด้วย

         ผศ. ปรีชา  ชี้แจงเพิ่มเติมว่า  โครงการนี้เป็นโครงการ  2  ปี  (ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2535 -2536)  ปีแรกเป็น

ระยะการพัฒนาสูตรยางและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต  ปีที่สองเป็นระยะการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานจริงใน

เรือประมง   เพื่อประเมินความเหมาะสมและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และสนับสนุนให้เกิดการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป  

นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยส่งเสริมการนำยางธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หรือวัสดุอื่น  ๆ  มาก

ขึ้น  และประการสำคัญที่สุดคือ  จะเป็นตัวกระตุ้นให้ราคายางพาราสูงขึ้นอีกด้วย



                                                                       ************************







โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-04-12 16:54:13 ]