: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 09 ประจำเดือน 09 2535
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี สำรวจวิจัยสวนลองกองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
รายละเอียด :
                    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ทำโครงการวิจัย

เรื่อง  "การศึกษาระบบการปลูกลองกองในภาวะปัจจุบัน"  ในพื้นที่  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่  ปัตตานี  ยะลา  

และนราธิวาส  พบสวนลองกองที่ปลูกได้มาตรฐานเพียง  5 %  ยะลามีสวนลองกองมากที่สุด  และนราธิวาสผลผลิต

ลองกองได้คุณภาพที่สุด

         ผศ. สมพร  จันทเดช  หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการวิจัยเรื่อง  "การศึกษาระบบการปลูกลองกอง

ในภาวะปัจจุบัน"  ได้ชี้แจงถึงผลการวิจัยว่าได้เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม  2534  และสิ้นสุดการวิจัยเดือน

กันยายน  2535  รวมระยะเวลา  1  ปี  โดยได้เข้าไปวิจัยภาคสนามในพื้นที่  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ  ปัตตานี

ยะลา  และนราธิวาส  พบพื้นที่ทำสวนลองกองส่วนใหญ่มีขนาด  1 - 3  ไร่  คิดเป็น  54 %  ที่เป็นสวนขนาดใหญ่มี

จำนวนน้อย  จังหวัดที่มีพื้นที่และปริมาณการปลูกลองกองมากที่สุดคือ  อ.บันนังสตา  จ.ยะลา  และที่จังหวัดนราธิวาส  

ปัตตานี  ตามลำดับ  ปัจจุบันพบว่าจำนวนต้นลองกองของเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับผลผลิตมีมากกว่าจำนวนต้นที่ได้รับ

ผลผลิตแล้วประมาณ  2  เท่า  ทั้งนี้เนื่องจากต้นลองกองกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต  จะสามารถให้ผลได้ประมาณ  

8 - 10  ปี  และเกษตรกรเจ้าของสวนทั้ง  3  จังหวัด  นิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ดลักษณะสวน  โดยมากเป็นสวนหลัง

บ้านถึง  64 %  โดยนิยมปลูกแซมร่วมกับไม้ผลชนิดอื่น  เช่น  เงาะ  ทุเรียน  มะพร้าว  ฯลฯ

         ปัญหาและอุปสรรคที่พบมาก  3  ประการคือ  เรื่องของแหล่งน้ำที่จะนำไปบำรุงเลี้ยงต้นลองกองไม่

เพียงพอ  รองลงมาคือเรื่องโรคที่รบกวนต้นลองกองคือ  โรคราสีชมพูและราดำ  ส่วนศัตรูพืชที่สำคัญคือ  หนอน

ซอนเปลือกและค้างคาว  แต่เกษตรกรเจ้าของส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช  เพราะ

ยังไม่มีหน่วยงานใดทำการวิจัยเกี่ยวกับสารเคมีที่ตกค้างในผลลองกองว่า  อันตรายมากน้อยเพียงใด  และปัญหา

ประการสุดท้ายคือ  เรื่องของราคา  ซึ่งราคาจะอยู่ในระดับใดนั้น  ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลผลิตและเกษตรกรนิยม

ขายให้พ่อค้าขายปลีกถึง  60 %  โดยวิธีชั่งน้ำหนัก  ซึ่งขายได้กิโลกรัมละ  40 - 60  บาท  หรือขายแบบเหมาสวน

โดยไม่มีการชั่งน้ำหนัก  ในราคาต้นละ  6,000 - 7,000  บาท

         ในด้านการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต  จากการวิจัยได้สำรวจพบว่าเกษตรกรเจ้าของสวนมักจะ

ศึกษาระบบการปลูกหรือการดูแลรักษาต้นลองกองจากประสบการณ์ของตนเองถึง  86 %  จากการสอบถามเพื่อน

เจ้าของสวน  10 %  และได้รับความรู้หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐเพียง  2 %  แต่คุณภาพของผล

ผลิตที่ดีพบมากที่  อ.ระแงะ  จ.นราธิวาส  ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าของสวนลองกองเป็นเกษตรกรก้าวหน้า  รู้จักนำวิทยา

การใหม่  ๆ  มาพัฒนาและปรับใช้กับสวนของตนเองมากขึ้น

         ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ได้นำไปมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง  3  จังหวัด  เพื่อเป็นข้อมูลในการ

ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพในการผลิตลองกองต่อไป



                                                                           *********************





โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-04-12 15:38:08 ]