วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระดมพลังสมองผู้เชี่ยวชาญ
ทางกฎหมาย ร่างหลักสูตรเพื่อเปิดสาขาวิชาชะรีอะฮหรือกฎหมายอิสลาม เป็นแห่งแรกในประเทศไทยในปีการ
ศึกษา 2537 นี้
ดร. อิสมาแอ อาลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี และที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างหลักสูตรชะรีอะฮ (กฎหมายอิสลาม) หรือนิติศาสตร์อิสลาม หรือที่รู้จัก
ในชื่อสากลว่า "Islamic Law" ได้ชี้แจงถึงการเปิดสอนสาขาวิชากฎหมายอิสลามว่า ทางคณะกรรมการจัดทำ
หลักสูตรได้เชิญนักวิชาการทางกฎหมาย ผู้นำศาสนาอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมประจำจังหวัด และคณะกรรมการ
อิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล มาร่วมประชุม หารือ แลกเปลี่ยนและ
เสนอแนะข้อคิดเห็นในการร่างหลักสูตรชะรีอะฮ (กฎหมายอิสลาม) ในภาควิชาอิสลามศึกษาให้เป็นไปอย่าง
สมบูรณ์แบบและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
การจัดทำหลักสูตรกฎหมายอิสลาม เป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยตรง ขณะเดียว
กันก็เป็นนโยบายของรัฐบาลในการขยายและพัฒนาการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7
(พ.ศ. 2535 - 2539) ซึ่งได้อนุมัติให้เปิดสาขาวิชาดังกล่าวแล้ว โดยมีวัตถุปรสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญา
ตรีในสาขาวิชากฎหมายอิสลาม เพราะยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาใดเปิดสอนมาก่อน และเป็นการส่งเสริมการศึกษา
ค้นคว้า วิจัยทางด้านกฎหมายอิสลามให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเผยแพร่และเป็นแหล่งบริการด้านวิชาการ
กฎหมายอิสลามแก่ผู้สนใจทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรี และโดย
เฉพาะในปัจจุบันมีการใช้หลักสูตรชะรีอะฮ (กฎหมายอิสลาม) ในกระบวนการยุติธรรมของประเทศมุสลิมเกือบ
ทุกประเทศในโลก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัวและมรดก และมีการใช้ในศาลสี่จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน
สาขาวิชากฎหมายอิสลาม เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยในปีการศึกษาแรก (พ.ศ. 2537) นี้จะเปิดรับ
นักศึกษาประมาณ 20 - 25 คน คุณสมบัติของผู้ที่จะมาศึกษาในหลักสูตรชะรีอะฮ ต้องจบการศึกษาจากมัธยม
ปีที่ 6 ควรมีพื้นฐานภาษาอาหรับหรือกำหนดให้จบจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในระดับชั้นซานาวียะฮ
(เทียบเท่าระดับชั้นมัธยมปลายของสายสามัญ) เมื่อจบการศึกษาสาขาดังกล่าว วุฒิที่ได้รับคือ ศศ.บ. (กฎหมาย
อิสลาม) ทั้งนี้เนื่องจากสาขาวิชาชะรีอะฮ (กฎหมายอิสลาม) เป็นศาสตร์ที่ก้ำกึ่งระหว่างสาขาวิชานิติศาสตร์
รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ นักศึกษาที่เลือกเรียนหลักสูตรดังกล่าว นอกจากจะเรียนรายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
กฎหมายอิสลามแล้ว ยังต้องเรียนรายวิชาทางนิติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต อีกด้วย
นอกจากนี้ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้กล่าวถึงความสำคัญของวิชาชะรีอะฮว่า เป็นสาขา
วิชาที่มีความสำคัญมาก กล่าวได้ว่าเป็นหัวใจของการศึกษาอิสลาม สถาบันที่เปิดสอนวิชาอิสลามศึกษาส่วนใหญ่
ไม่เฉพาะแต่โลกอาหรับเท่านั้น แม้แต่ในเอเซียเช่น มาเลเซียและอินโดนีเซีย ก็เปิดสอนวิชาชะรีอะฮ (กฎหมาย
อิสลาม) นักศึกษาจากประเทศไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อในกลุ่มประเทศมุสลิม ส่วนใหญ่แล้วจะเลือกศึกษาใน
สาขาวิชาชะรีอะฮ (กฎหมายอิสลาม) ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มุสลิมหรือผู้สนใจอิสลามจะต้องเรียนรู้ เพื่อการนำไป
ปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้สามารถดำรงตนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม และจริยธรรม อำนวยประโยชน์
แก่สังคม
สำหรับในด้านของบุคลากรที่จะมาสอนสาขาวิชากฎหมายอิสลามนั้น วิทยาลัยอิสลามศึกษาได้
เตรียมพร้อมอยู่แล้ว เนื่องจากอาจารย์ของวิทยาลัยอิสลามศึกษาสามท่านได้จบการศึกษาด้านกฎหมายอิสลามโดย
ตรงทั้งในระดับปริญญาเอกและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ และมหาวิทยาลัยอิสลาม
แห่งมะดีนะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย
นอกจากนี้วิทยาลัยอิสลามศึกษา จะได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอิสลามที่มีอยู่ในจังหวัดชาย
แดนภาคใต้และจากองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย มาเป็นอาจารย์พิเศษอีกด้วย
**********************
|