มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีคำสั่งที่ 37/2535 แต่งตั้งให้ นายอนันต์ ทิพยรัตน์ อาจารย์ ระดับ 7
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2535 ข่าว
ศรีตรังจึงขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ดังนี้
ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 8 มีนาคม 2486 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สมรสกับคุณ
ประภา แซ่เฮ่า รับราชการครูที่โรงเรียนเมืองปัตตานี มีบุตรชาย 3 คน
ประวัติการศึกษาและประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2492 ได้เริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนบ้านราษฎรสงวนและระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นได้รับทุนการศึกษาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ไปศึกษาระดับ ปกศ. และ
ปกศ. สูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสวนสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี
พ.ศ. 2507 รับราชการครูที่โรงเรียนบ้านห้วยหาร อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2509 เป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดนนท์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2510 ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (สุขศึกษา) ที่มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2512 เป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดเขาน้อย อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2513 ศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาประถมศึกษา ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาแล้ว
กลับมาเป็นหัวหน้าหมวดวิชาการศึกษาของส่วนการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2520 โอนมาสังกัดแผนกวิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2524 ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี โคลัมเบีย
พ.ศ. 2528 เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์
พ.ศ. 2531 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์
นโยบายของคณะศึกษาศาสตร์
ด้านวิชาการ จะสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยจะส่งเสริมการ
เรียนการสอน จะพยายามปรับวิธีการให้เหมาะสมกับระบบการทำงานของมหาวิทยาลัยปิด เน้นเรื่องการใช้สื่อผสม
เทคโนโลยี เน้นให้วิเคราะห์ สังเคราะห์ เน้นเรื่องการพัฒนาบุคลากร การเขียนตำรา บทความ งานวิจัย และสื่อ
เพื่อการประชาสัมพันธ์
งานบริการวิชาการชุมชน จะให้ความสำคัญทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ โดยจะประสานงานกับกระทรวง
ศึกษาธิการ ในเรื่องการอบรมครูประจำการในจังหวัดภาคใต้ โดยให้กระทรวงสนับสนุนด้านงบประมาณ คณะศึกษา
ศาสตร์จะให้วิชาการและวิทยากร โดยจะไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงานบริการวิชาการของหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย
และรายได้ที่จะได้รับการสนับสนุนวิชาการต่าง ๆ จะนำไปสนับสนุนและพัฒนาภาควิชานั้น ๆ
การวิจัย มีนโยบายที่จะวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในวิชาศึกษาศาสตร์ ให้แต่ละโปรแกรมตั้งกรอบงาน
วิจัยตามลักษณะวิชาของแต่ละโปรแกรม งานวิจัยทุกลักษณะให้เป็นความรับผิดชอบของโปรแกรม มิใช่ความรับผิดชอบ
เฉพาะบุคคลเพียงอย่างเดียว
กิจการนักศึกษา เน้นในเรื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพและจริยธรรมให้มากขึ้น ให้มีเนื้อหากิจกรรมที่เป็น
รูปธรรมและกำหนดไว้เป็นแนวทางที่ชัดเจน โดยจะจัดให้มี ACTIVITY TRAN SCRIPT
งานชุมชนสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะกับหน่วยงานภายนอก เช่น กับกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำ
ศาสนา กลุ่มเศรษฐกิจ ตลอดจนหน่วยงานราชการและชุมชนทั่วไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
โรงเรียนสาธิตฯ มีประเด็นที่จะพิจารณาปรับปรุงด้านการให้สวัสดิการเข้าศึกษาแก่บุตรหลานของบุคลากร
พิจารณาบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการผลิตบัณฑิต สถานภาพของอาจารย์ การสนองนโยบาย
สังคม ชุมชน และบ้านเมือง เช่น การรับนักเรียนไทยมุสลิม ทบทวนให้มีคุณภาพและตรงเป้าหมายมากขึ้น
ต่างประเทศ ปัจจุบันคณะมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศค่อนข้างมาก ทั้งในด้านวิชาการและบุคลากรก็จะ
พยายามสร้างความต่อเนื่องต่อไป และจะสร้างแนวทางใหม่กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีกด้วย
การเตรียมเปิดปริญญาเอกในอนาคต โดยกำหนดว่าจะสามารถเปิดได้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
นอกจากนี้จะสนับสนุนและกำหนดภาระของอาจารย์ให้เป็นสัดส่วนชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การสอน การวิจัย
บริการวิชาการ ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ให้สอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัย
คติในการทำงาน "ยึดสถาบันเป็นหลัก ประสานความคิดจากทุกฝ่าย"
***********************
|