: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 01 2535
หัวข้อข่าว : เปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ ม.อ. ปัตตานี
รายละเอียด :
                    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงในระบบ  เอฟ. เอ็ม.  

ความถี่  107.25 เม็กกะเฮิร์ตซ  ทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่  14  มกราคม  2535  กำหนดทำพิธีเปิดสถานี

ในวันสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วันที่  13  มีนาคม  2535

         ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. คณิตา  นิจจรัลกุล  หัวหน้าสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ชี้แจงว่าตามที่คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่ง

ประเทศไทย  (กบว.)  อนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดตั้งสถานีวิทยุกระจาย

เสียงในระบบ  เอฟ. เอ็ม.  ความถี่  107.25 เม็กกะเฮิร์ตซ  กำลังส่งของเครื่องไม่เกิน  1  กิโลวัตต์  กำลังส่ง

ออกอากาศไม่เกิน  4  กิโลวัตต์  ตั้งแต่ปลายปี  2530 นั้น  บัดนี้การดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้เสร็จสิ้นลงแล้วและได้ทดลองออกอากาศตั้งแต่วันอังคาร

ที่  14  มกราคม  2535  ระหว่างเวลา  09.00 - 24.00  น. และกำหนดจะเปิดสถานีอย่างเป็นทางการในวัน

สถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งตรงกับวันที่  13  มีนาคม  2535

         หัวหน้าสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ชี้แจงต่อไป

ว่าเมื่อเปิดสถานีแล้ว  ส่วนต่าง  ๆ  ของรายการจะประกอบด้วย  รายการประเภทบันเทิง  52 %  รายการข่าว  

20 %  รายการความรู้  15 %  และรายการโฆษณา  13 %  โดยกำหนดออกอากาศระหว่างเวลา  06.00 น.

ถึงเวลา  24.00  น.  ทุกวัน  การดำเนินรายการจะมีทั้งส่วนที่ขายเวลาให้เอกชนดำเนินรายการ  และส่วนที่

มหาวิทยาลัยดำเนินรายการเอง

         จากผลการทดลองออกอากาศที่ผู้ฟังรายงานเข้ามายังสถานี  ปรากฏว่าสามารถรับฟังได้ทุก

อำเภอของจังหวัดปัตตานี  บางพื้นที่ของจังหวัดสงขลา  ยะลา  และนราธิวาส  โดยที่เครื่องส่งมีประสิทธิภาพ

ในการกระจายคลื่นมีรัศมีโดยรอบทางอากาศประมาณ  60  กิโลเมตร  ซึ่งคาดว่าผลที่ได้รับในการเปิดสถานี

วิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จะสามารถให้บริการวิชาการแก่ชุมชนใน

การศึกษานอกระบบโรงเรียน  และเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยให้แก่ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่าง

ทั่วถึง  ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัย  ในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนและ

พัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าตลอดจนความเข้าใจอันดีต่อกัน  ทำให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ตอนล่างได้ทราบการดำเนินการของมหาวิทยาลัย  และนักศึกษาได้รับความรู้จากการฝึกปฏิบัติด้านวิทยุกระจาย

เสียงเพื่อการศึกษา



                                                             ********************















โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-31 12:56:19 ]