อาจารย์ ม.อ. ปัตตานี พบเทคนิคใหม่ในการทดลองปลูกป่าชายเลนบนหาดเลนงอกใหม่และ
บริเวณหน้าฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชายฝั่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพรัตน์ บำรุงรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หัวหน้าโครงการปลูกป่าชายเลนบนหาดเลนใหม่ของอ่าวปัตตานี เปิดเผย
ว่าจากการทดลองปลูกป่าชายเลนบนหาดเลนงอกใหม่และเป็นบริเวณหน้าฟาร์มเลี้ยงกุ้งในระยะเวลา 2 ปี ได้
รับผลเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะโดยทั่วไปแล้วการปลูกป่าชายเลนบนพื้นที่ใหม่ซึ่งไม่เคยมีพันธุ์ไม้ชายเลนเจริญ
เติบโตมาก่อนเลยนั้น เป็นเรื่องที่กระทำได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่กำลังทดลอง ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเลนงอก
ใหม่อันเกิดจากการตกตะกอนทับถมของแม่น้ำปัตตานีบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีการทำ
ฟาร์มกุ้งอยู่ทั่วไป ไม่มีต้นไม้ชายเลนขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เพราะในฤดูมรสุม คลื่นลมแรงมาก จนกล้าไม้
ไม่อาจขึ้นได้ เนื่องจากเป็นบริเวณปากอ่าวปัตตานี คณะวิจัยจึงได้ค้นหาเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อที่จะเอาชนะ
ธรรมชาติในการสร้างป่าชายเลนขึ้นมา เพราะถ้าหากประสบผลสำเร็จก็จะได้ใช้เป็นแปลงสาธิตในการปลูกป่า
ชายเลนบนพื้นที่ใหม่หรือพื้นที่ทำนากุ้งต่อไป
จากพื้นที่ทดลองประมาณ 100 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ส่วนแรกเป็นพื้นที่สำหรับวิจัยประมาณ
24 ไร่ เพื่อเก็บข้อมูลชนิดของพืชที่เหมาะสม วิธีปลูก ฤดูปลูก อัตราการเจริญเติบโต ตลอดจนอัตราการ
รอดตาย ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ทดลองปลูกขยายประมาณ 70 ไร่ โดยใช้อายุกล้าไม้ที่เหมาะสม พันธุ์พืชที่
ปลูกได้ ตลอดจนการพัฒนาวิธีปลูก จากการทดลองในระยะเวลา 2 ปี พบว่าในพื้นที่วิจัย 24 ไร่นั้น กล้า
แสมทะเลและโกงกางเจริญได้ดีที่สุดคือมีความสูง 60.5 และ 53 เซนติเมตร ตามลำดับ อัตราส่วนที่รอด
ตายคือ 67.3 และ 48.4 ส่วนพื้นที่ทดลองปลูกขยาย 70 ไร่ ปลูกโกงกางจากฝักและขุดกล้าแสมที่มีอายุ
ประมาณ 1 ปี ให้มีดินติดที่รากและมีน้ำหล่อเลี้ยงเสมอ ขณะนี้โกงกางมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 73
เซนติเมตร และแสมทะเลมีความสูงประมาณ 158 เซนติเมตร การตายของกล้าไม้นั้น ส่วนใหญ่มักมี
สาเหตุมาจากบางจุดเป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง จึงได้อาศัยน้ำที่ถ่ายออกมาจากนากุ้งมาเลี้ยงกล้าไม้ในช่วงปลูก
ซ่อม นอกจากนั้นสาเหตุการตายยังเกิดจากปูก้ามดาบกัดกินลำต้น และที่สำคัญคือคลื่นลมในบางเดือนแรงมาก
จะพัดเอาขยะ เศษไม้ ถุงพลาสติก มาพันต้นกล้าทำให้กล้าไม้ตาย พวกหนอนกินใบเป็นศัตรูสำคัญในระยะ
ต้นกล้า ซึ่งถ้าหากไม่มีการดูแลเอาใจใส่อย่างน้อย 2 - 3 ปีแรกแล้ว การปลูกป่าชายเลนจะประสบปัญหามาก
มาย อย่างไรก็ตามในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ดำเนินการวิจัยได้พยายามแก้ปัญหาทุกรูปแบบ การปฏิบัติการทั้ง
หลายเพื่อให้พื้นที่กลายเป็นป่าเลนที่เขียวชะอุ่มเช่น การผูกกล้าไม้กับหลักการเก็บเศษวัสดุที่มาทับถมหรือพัน
กล้าไม้ การยกกล้าไม้ให้ตั้งตรงเมื่อถูกคลื่นซัด รวมทั้งการรีบหากล้าไม้ที่เหมาะสมปลูกซ่อมต้นที่ตาย ต้อง
กระทำตลอดเวลาและที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ เมื่อต้นโกงกางและแสมทะเลมีรากค้ำจุนออกมาแล้วหลังอายุ
มากกว่า 1 ปี โอกาสรอดตายของพืชดังกล่าวจะสูงมากและเมื่อพื้นที่ทดลองปลูกเริ่มแห้งในฤดูแล้ง ก็อาศัย
น้ำจากนากุ้งช่วยด้วย ขณะนี้พื้นที่ปลูกมีต้นไม้ มีสัตว์ทะเลเช่น ปูแสมและปูทะเลมาอาศัยเกือบเต็มพื้นที่
*********************
|