: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2535
หัวข้อข่าว : ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอ่าวปัตตานี
รายละเอียด :
                     นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  พบว่าอ่าวปัตตานีกำลังประสบปัญหา

สิ่งแวดล้อมเป็นพิษทั้งจากขยะ  ตะกอนโลหะหนัก  และน้ำเสีย  จากแหล่งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม

         ผศ. ดร. ครองชัย  หัตถา  จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  ได้ทำการวิจัยสำรวจปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอ่าวปัตตานี  เมื่อปี  2533 - 2534  เปิดเผยถึงผล

การวิจัยพบว่าอ่าวปัตตานีเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย  มีพันธุ์ปลาหลาย

ชนิด  มีกุ้ง  หอย  ป่าชายเลน  หาดเลน  และหาดทราย  นอกจากนี้นักวิจัยจากวิทยาเขตปัตตานียังพบว่า  อ่าวปัตตานี

เป็นแหล่งที่นกจากไซบีเรียอพยพมาในช่วงฤดูหนาวทุกปี  ซึ่งในแต่ละปีประมาณว่ามีไม่ต่ำกว่า  20,000  ตัว  แต่

สภาพการใช้พื้นที่ชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมของอ่าวปัตตานี  กำลังประสบปัญหาทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

ทำนากุ้งและกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง  เพราะเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กัน  น้ำเสียจากนากุ้งก็ไหลลงสู่แม่น้ำ  ทำให้เกิด

ปัญหาน้ำเสีย  ปลาในกระชังตายหรือได้รับความเสียหาย  ปัญหาขยะจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม  ในขณะ

ที่กำลังส่งเสริมให้จังหวัดปัตตานีเป็นเมืองท่องเที่ยว  แต่รอบอ่าวปัตตานีและพื้นที่ชายฝั่งหลายแห่งมีขยะเกลื่อน

กลาดอยู่โดยทั่วไป  เนื่องจากพื้นที่โดยรอบอ่าวปัตตานีมีชุมชนที่อยู่ติดกับชายฝั่งและใกล้ชายฝั่งจำนวน  7  ตำบล

และ  1  เทศบาล  มีประชากรโดยรอบอ่าวรวม  95,417  คน  ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีมีประชากรประมาณ  

41,815  คน  นอกนั้นกระจายอยู่ตามชุมชนรอบชายฝั่ง  มีชุมชนรอบอ่าวเพียง  2  ชุมชนที่มีการจัดเก็บขยะอย่าง

เป็นระบบได้แก่  เทศบาลเมืองปัตตานีและสุขาภิบาลตำบลยามู  นอกนั้นแล้วไม่มีระบบจัดเก็บขยะ  ชาวบ้านต่างนำ

ขยะไปทิ้งในที่ว่างของชุมชน

         จากการที่จังหวัดปัตตานีได้จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม  เป็นพื้นที่  

939  ไร่  เป็นพื้นที่ตั้งโรงงาน  565  ไร่  พื้นที่สาธารณูปการและสิ่งอำนวยความสะดวก  374  ไร่  ซึ่งองค์การ

บริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ดูแลให้เอกชนเช่าและทำสัญญาเช่าไปแล้ว  465  ไร่  หรือร้อยละ  82  ของพื้นที่ให้เช่าตั้ง

โรงงาน  ปัจจุบันเขตอุตสาหกรรม  939  ไร่  ยังไม่มีระบบคูระบายน้ำโรงงาน  ส่วนใหญ่ระบายน้ำทิ้งออกนอก

บริเวณโรงงานแล้วปล่อยให้ไหลไปเองตามธรรมชาติ  โรงงานที่อยู่ติดแม่น้ำและทะเลก็ปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ

โดยตรง  ปัจจุบันยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียรวม  บางโรงงานมีการบำบัดบางขั้นตอน  ยังไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมาย

กำหนด  ขณะนี้น้ำเสียจำนวนมากถูกปล่อยลงสู่อ่าวปัตตานี  จากการสำรวจวิจัยของนักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ที่เข้ามา

ศึกษาตะกอนบริเวณอ่าวปัตตานีพบว่า  มีโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์เช่น  ตะกั่ว  แคดเมี่ยม  

และสังกะสี  เมื่อเปรียบเทียบกับอ่าวบ้านดอน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  อ่าวปัตตานีและอ่าว  Jeram  ในประเทศมาเลเซีย

พบว่าในอ่าวปัตตานีมีตะกอนโลหะหนักดังกล่าวมากที่สุด  ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน  เนื่องจาก

โลหะหนักเหล่านี้จะสะสมอยู่ในสัตว์น้ำ  โดยเฉพาะหอยแครงและหอยแมลงภู่ซึ่งมีมากในอ่าวปัตตานี  เมื่อนำสัตว์เหล่านี้

ไปบริโภคโลหะหนักก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย  เมื่อมีปริมาณมากก็จะทำให้เกิดอันตรายได้

         ผศ. ดร. ครองชัย   หัตถา  ได้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาว่าจากการที่รอบอ่าวปัตตานีมีปัญหาสิ่งแวดล้อม

หลายด้าน  ได้แก่  น้ำเสียจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม  การเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง  ปัญหาขยะจากโรงงานอุตสาห

กรรมและจากการประมง  และปัญหาที่ยังไม่ได้มีการศึกษาอีกเช่น  กลิ่นและวัตถุมีพิษ  ปัญหาที่เกิดจากการขาดการ

บริหารและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ  จึงควรมีการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกด้าน  การจัดทำนโยบายแผนงาน  

การจัดองค์กรรับผิดชอบดูแล  มีการติดตามผลตรวจสอบ  การลงโทษตามกฎหมาย  ตลอดจนรณรงค์ขอความร่วมมือ

ให้ชาวบ้านและเอกชนทั่วไป  รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการดูแลสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น



                                                                        ***********************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-31 12:47:46 ]