คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ระบบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีความอิสระและคล่องตัว ทบวง
มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ร่างบัญญัติ 7 ประการ เป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยออกจาก
ระบบราชการ ซึ่งมี 10 สถาบันอุดมศึกษายืนยันจะปรับเปลี่ยนระบบการบริหาร
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการพัฒนา
ระบบบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ให้มีความอิสระและคล่องตัวตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ นายเกษม
สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน
2534 เสนอบัญญัติ 7 ประการที่ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ กำหนด
หลักการเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไปสู่ความเป็นอิสระ เพื่อเสนอคณะ
รัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษารวม 10 สถาบันที่ยืนยันจะปรับเปลี่ยนระบบบริหาร
เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี
สำหรับบัญญัติ 7 ประการที่เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไปสู่
ความเป็นอิสระ ได้แก่
1. ฐานะของมหาวิทยาลัย
เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแล
ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
2. ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย
การดำเนินงานทุกอย่างสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัย เว้นแต่เรื่องที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอ
3. องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย
ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบสภามหาวิทยาลัย ให้เหมาะสมกับรูปแบบและการ
บริหารมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนไป
4. การเงินและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
4.1 รัฐบาลจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยและถือเป็นเงินรายได้
4.2 มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินได้
4.3 มหาวิทยาลัยมีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สิน
ของมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุและทรัพย์สินอื่น
4.4 รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4.5 มหาวิทยาลัยมีระบบการเงินและบัญชีของตนเอง โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็น
ผู้สอบบัญชีของมหาวิทยาลัยในลักษณะตรวจสอบภายหลัง
4.6 กรณีรายได้ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
ไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้ รัฐพึงจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินให้แก่มหาวิทยาลัย
เท่าจำนวนที่จำเป็น
5. การบริหารงานบุคคล
5.1 บุคลากรของมหาวิทยาลัยไม่เป็นข้าราชการ โดยมีฐานะเป็นพนักงานของรัฐแต่ไม่อยู่ภาย
ใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
5.2 สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย
5.3 บุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถใช้ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นคำนำหน้านามได้
6. การบริหารงานวิชาการและการจัดส่วนงาน
6.1 สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจอนุมัติการเปิดสอนและอนุมัติหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด
6.2 สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจอนุมัติการจัดตั้งหรือยุบเลิกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
7. บทเฉพาะกาล
7.1 ให้คงสภาพข้าราชการและลูกจ้างต่อไปตามระบบราชการ เมื่อตำแหน่งว่างลงให้ยุบเลิก
7.2 ข้าราชการผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยตามระบบใหม่
จะต้องผ่านการคัดเลือกหรือการประเมินตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่สภามหาวิทยาลัย
กำหนด
7.3 ที่ราชพัสดุซึ่งมหาวิทยาลัยปกครองดูแล ใช้ หรือจัดหาประโยชน์ ให้คงเป็นที่ราช
พัสดุต่อไป เว้นแต่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาโดยมีผู้ยกให้ หรือได้มาโดย
การซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ให้โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของ
มหาวิทยาลัย ไม่ว่าการได้มานั้นจะได้มาก่อนหรือหลังพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ
พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ
*********************
|