: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือน 10 2534
หัวข้อข่าว : แผนป้องกันน้ำท่วมวิทยาเขตปัตตานี
รายละเอียด :
                    จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมในแต่ละภูมิภาคบ่อยครั้งขึ้น  และภาคใต้ตอนล่างก็ประสบภาวะ

น้ำท่วมโดยเฉลี่ยปีเว้นปี  ข่าวศรีตรังจึงนำบทสัมภาษณ์  ผศ. ผดุงยศ   ดวงมาลา  รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี  เพื่อ

ทราบถึงวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม  มาเสนอแก่ท่านผู้อ่านดังนี้

         คิดว่าปีนี้น้ำจะท่วมมหาวิทยาลัยหรือไม่

         น้ำท่วมมันก็มีเป็นประจำ  เพียงแต่ว่าจะท่วมตรงไหน  เมื่อฝนตกลงมามาก  น้ำในที่สูงก็จะไหลลงสู่ที่ลุ่มและ

ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยก็อยู่ในเขตกันชนของน้ำเค็มและน้ำจืดจากแผ่นดิน  นอกจากนี้ก็มาจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุน  จะ

ท่วมหรือไม่ท่วมก็ต้องเตรียมการ  ตามสถิติฝนจะตกชุกในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ถ้าตกมากก็ท่วมแน่  จะมากหรือ

น้อยอีกเรื่องหนึ่ง

         การเตรียมการป้องกันน้ำท่วมมหาวิทยาลัย

         เรามีแผนป้องกันน้ำท่วมอยู่แล้ว  โดยงานอาคารสถานที่ฯ  จะเป็นฝ่ายปฏิบัติที่ชัดเจนที่สุด  ขณะนี้ได้เตรียม

ในเรื่องคูคลองระบายน้ำไม่ให้อุดตัน  รวมทั้งจะเปิดประตูระบายน้ำ  ซึ่งเรามีคลองระบายน้ำลงสู่ทะเลถึง  3  สายด้วยกัน

คือ  บริเวณใกล้สวนสมเด็จฯ  บริเวณอาคารเทคโนโลยียาง  และจุดที่  3  บริเวณโรงเรียนบ้านรูสะมิแล  โดยเฉพาะถ้าฝนตก

หนักเกิน  1  ชั่วโมงขึ้นไป  เราก็จะเปิดประตูน้ำและใช้เครื่องสูบน้ำช่วย  ถ้าระดับน้ำสูงกว่าปกติครึ่งเมตร  เครื่องระบายน้ำ

ของเราก็จะสามารถสูบน้ำออกได้หมดภายใน  3  ชั่วโมง  และภายในเดือนตุลาคมนี้มหาวิทยาลัยก็จะดำเนินการตรวจสอบ

และขุดลอกคูคลองในส่วนที่ตื้นเขินต่อไป

         นอกจากนี้ก็ต้องเตรียมกระสอบทรายเพื่อปิดกั้นน้ำ  เนื่องจากประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยต่ำกว่าถนนมาก  ซึ่ง

กระสอบทรายนี้เราก็มีสำรองไว้บ้างแล้ว  สำหรับในกรณีที่เราไม่ถูกน้ำท่วม  แต่ปริมาณน้ำภายนอกมีมาก  เราก็จะเปิดทาง

ให้น้ำภายนอกไหลลงสู่คลองของมหาวิทยาลัย  เพื่อระบายลงสู่ทะเลต่อไป

         การแก้ปัญหาเมื่อประสบภาวะน้ำท่วม

         เมื่อน้ำท่วมเราก็ต้องเตรียมสถานที่ที่จะจอดยานพาหนะทั้งของมหาวิทยาลัยและของบุคลากร  รวมทั้งเรา

จะจัดรถบัสไว้บริการรับส่งบุคลากร  เพื่อไปจับจ่ายซื้อของที่ตลาดและที่อื่น  ๆ  นอกจากนี้บุคลากรเองก็ควรระมัดระวัง

สัตว์มีพิษที่หนีน้ำเข้ามาในที่พักอาศัยและขนย้ายสิ่งของไว้ในที่สูง  รวมทั้งระมัดระวังเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในกรณีเกิด

น้ำท่วม  อาจจะต้องสะสมเครื่องอุปโภค - บริโภค  ให้พร้อมในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  โดยมหาวิทยาลัยจะได้

ตั้งคณะกรรมการเพื่อช่วยเหลือด้วยอีกส่วนหนึ่ง

         นอกจากนี้คงจะต้องมีงบประมาณสำหรับการซ่อมแซมฟื้นฟูหลังสภาพน้ำท่วมด้วย  และเราก็ต้องออกไป

ช่วยเหลือประชาชนด้วย  โดยร่วมมือกับจังหวัดและส่วนราชการต่าง  ๆ  อาจจะช่วยระดมความคิดหรือช่วยด้านยาน

พาหนะ  โดยในขั้นแรกเราต้องช่วยตัวเราไม่ให้เป็นภาระของจังหวัดของบ้านเมือง  แล้วจึงออกไปช่วยข้างนอก  นอกจาก

เรื่องน้ำท่วมแล้วก็อาจมีปัญหาเรื่องลมหรือวาตภัย  ขณะนี้เรามีตึกที่ได้รับการออกแบบไว้สำหรับต้านลมต้านภัยธรรมชาติ  

โดยเฉพาะคือตึกที่ทำการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และถ้าเกิดวาตภัยหรือสาธารณภัยที่รุนแรง  เราก็จะอพยพ

บุคลากรและประชาชนผู้ที่ประสบภัยไปอยู่ที่อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  อาคารสำนักวิทยบริการ  และอาคาร

เรียนรวม  ซึ่งเป็นตึกที่แข็งแรงมาก  ในอนาคตก็อาจจะมีการเตรียมซ้อมรับภัยธรรมชาติต่าง  ๆ  ด้วย



                                                                          *****************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-29 17:34:42 ]